svasdssvasds

ถอดบทเรียน "หนึ่ง จักรวาล" หมอเด็กชี้แสดงความรักได้ แต่ต้องเคารพสิทธิ์ลูก

กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น ให้แง่คิด การแสดงความรักต่อลูกจากพ่อแม่ ที่จริงแล้วไม่มีเงื่อนไข ถ้าทำเพียงโอบ กอด หรือ หอมแก้ม แต่ต้องระวังไม่ให้กลายเป็น Sexualized และ เคารพศักดิ์ศรีของลูกด้วย โดยเฉพาะการเผยแพร่ภาพต่างๆ ลงในสื่อสังคมออนไลน์

รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม(องค์การมหาชน) กุมารแพทย์ผู้เชียวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น เปิดเผยกับ สปริงนิวส์ออนไลน์ ถึงกรณีของ หนึ่ง จักรวาล ที่ได้มีการแสดงความรักกับลูกสาววัย 9 ปี ด้วยการจับก้น และ ล้วงเข้าไปในเสื้อ ส่งผลให้เกินกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักถึงความเหมาะสม จนติดเทรนด์ทวิตเตอร์อันดับ 1 

ซึ่งรศ.นพ.สุริยเดว แสดงความคิดเห็นได้อย่างน่าสนใจ ถึงการแสดงออกถึงความรักของคนในครอบครัว หรือภาษากาย โดยเฉพาะคุณพ่อกับลูกสาว หรือ คุณแม่กับลูกชาย ซึ่งยืนยันว่า การแสดงออกถึงความรักของคุณพ่อหรือคุณแม่ เป็นเรื่องดี ช่วยสร้างความพลังใจให้กับลูกๆ สามารถปล่อยให้เป็นธรรมชาติได้เลย ไม่ต้องเกร็ง ไม่ต้องกังวลเรื่องสถานะทางเพศ แต่มีบางประเด็นที่ต้องทำความเข้าใจ และควรให้ความสำคัญอย่างมาก คือ

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

A post shared by 1Jakkawal (@jakkawal_1)

 

1. การละเมิดสิทธิเด็ก ด้วยการนำรูปลงสื่อสาธารณะ จำเป็นต้องได้รับการอนุญาตจากลูกเช่นกัน จะคิดว่าลูกของเรา เราจะโพสต์อะไรก็ได้ แต่ต้องตระหนักให้ดีว่าลูกไม่ใช่ทรัพย์สินของพ่อแม่ที่จะทำอะไรก็ได้ แต่เด็กก็มีเพื่อน มีสังคม และที่สำคัญมีอนาคต

2. เป็นหน้าที่ของพ่อแม่ที่ต้องสอนให้ลูกรู้จักการปกป้องคุ้มครองตนเอง จากภยันตรายลักษณะคล้ายกันที่อาจเกิดขึ้นได้ และต้องเป็นตัวอย่างที่ดี ไม่ใช่การสอนว่าสิ่งใดไม่เหมาะสม เจอคนแบบไหนไม่น่าคบ แต่ปรากฏว่าคนเป็นพ่อเป็นแม่ กลับทำเสียเอง และที่สำคัญการแสดงซึ่งความรักมากเกินไป ไม่ว่าจะเป็นการโอบกอด จูบ การล้วงหรือสัมผัสร่างกาย บางครั้งสุ่มเสี่ยงต่อการเป็น Sexualized หรือการแสดงออกทางเพศมากเกินไป  

3. การเคารพศักดิ์ศรีของลูก ถ้าการกระทำบางอย่างที่พ่อแม่กังวลว่าจะมากเกินไป ก็ควรมีการพูดคุยกับลูกอย่างจริงใจ และตรงไปตรงมา ใช้วิจารณญานในการกระทำ และ สอนให้ลูกสาว ที่มีสภาวะเข้าวัยรุ่น เข้าใจจุดสงวนและสรีระร่างการตามวัยที่กำลังเปลี่ยนไป เพื่อปกป้องตัวเองมากกว่า การใช้เหตุผลเพียงเพราะแสดงความรัก

4. และสิ่งที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ คือ การนำรูปลูก หรือคลิปลูก เข้าสู่โซเชียลมีเดีย นั่นแปลว่ารูปส่วนตัวจะกลายเป็นรูปสาธารณะ กระแสในโซเชียลมีเดียไม่ควรดราม่ามากเกินไป แต่เราควรจะเรียนรู้และคอมเมนต์ด้วยวาจาที่สุภาพเหมาะสม แต่บางครั้งเป็นการก้าวล่วงตำหนิติเตียนมากเกินไป เช่นเดียวกับสื่อมวลชนเมื่อมีการนำเสนอข่าวลักษณะดังกล่าว เมื่อผ่านพ้นเหตุการณ์ไปแล้ว ควรลบรูปออก เพื่อเป็นการคุ้มครองเด็ก ไม่ให้กลายเป็นบาดแผลใจซ้ำ2

รศ.นพ. สุริยเดว ย้ำการแสดงออกถึงความรักของคุณพ่อหรือคุณแม่เป็นเรื่องดี แต่การปกป้องคุ้มครองและเคารพศักดิ์ศรีลูกก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะเมื่อเราปลูกฝังสิ่งนี้ในใจเด็ก เมื่อเขาโตขึ้นก็จะเข้าใจและปฏิบัติต่อคนอื่นในสังคมได้อย่างถูกต้อง