svasdssvasds

เที่ยวอุทยานฯแล้ว อย่าลืมนำขยะติดมือกลับมาด้วยเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม

เที่ยวอุทยานฯแล้ว อย่าลืมนำขยะติดมือกลับมาด้วยเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม

กรมอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผางขอความร่วมมือนักท่องเที่ยวแบะไกด์นำเที่ยวท้องถิ่น ไม่ทิ้งขยะและนำขยะกลับไปด้วย เพราะยิ่งขอเหมือนยิ่งทิ้ง

ช่วงเทศกาลแห่งความสุขที่มาพร้อมกับอากาศเย็นสบายแบบนี้ ทำให้แหล่งท่องเที่ยวในหลายพื้นที่ทั่วไทยเริ่มมีนักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้าไปจับจองพื้นที่กางเต็นท์ สัมผัสอากาศหนาวและชมวิวทิวทัศน์กันคับคั่ง โดยเฉพาะพื้นที่อุทยานและแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ

ทั้งนี้ กรมอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง จึงขอความร่วมมือจากนักท่องเที่ยวและไกด์นำเที่ยวท้องถิ่น ไม่ทิ้งขยะและนำขยะที่ท่านนำเข้ามากลับออกไปด้วย เพราะตอนนี้ดูเหมือนว่ายิ่งขอ ยิ่งทิ้ง อีกทั้งการทิ้งขยะไว้ หากเจ้าหน้าที่เก็บไม่หมดหรือปลิวไปอาจทำให้สัตว์ที่อยู่ในป่าหลงกินเข้าไปและเป็นอันตรายต่อพวกมันอีกต่อหนึ่ง และไม่ใช่แค่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผางเท่านั้น ทุกอุทยานฯและแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ นักท่องเที่ยวไม่ควรทิ้งขยะ ไม่ว่าที่ใดทั้งสิ้นและกรุณาปฏิบัติตามกฎของอุทยานอย่างเคร่งครัด

กองขยะในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง

เกร็ดความรู้เรื่องการจัดการขยะของอุทยานแห่งชาติ อ้างอิงปี 2551 อุทยานแห่งชาติรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการ 56 แห่งจากจำนวนอุทยานทั้งหมด 148 แห่ง ส่วนใหญ่ขยะที่พบในพื้นที่อุทยานเกิดจากนักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการ เจ้าหน้าที่ ชุมชน เป็นต้น ส่วนวิธีการกำจัดขยะจะเป็นแบบฝังกลบในพื้นที่อุทยาน หรือ ชุมชนนำออกไปกำจัดในพื้นที่ของเทศบาลและอบต.

ผลกระทบของขยะมูลฝอยต่อสิ่งแวดล้อม

  1. ปัญหามลภาวะน้ำ ขยะอินทรีย์สารที่เน่าเปื่อยปะปนอยู่ เมื่อทิ้งลงแม่น้ำ ลำคลอง ผลที่ตามมาคือคือทำให้แหล่งน้ำตื้นเขิน เป็นอุปสรรคต่อการสัญจรทางน้ำ และน้ำเน่าเสียอันตรายต่อคนและสัตว์
  2. ปัญหามลภาวะอากาศ สร้างกลิ่นไม่พึงประสงค์ สร้างความรำคาญแก่ผู้คนที่อาศัยอยู่ใกล้เคียง
  3. เป็นบ่อเกิดของเชื้อโรค การเก็บขยะไปทำลายไม่หมด หรือกำจัดขยะไม่ถูกวิธี เป็นบ่อเกิดของเชื้อโรค เป็นอาหารของหนู แมลงวัน และสัตว์เลื้อยคลาน ที่สามารถเป็นพาหะนำโรคสู่คนได้
  4. ทำให้สถานที่นั้นๆไม่สะอาดตา และไม่น่าท่องเที่ยว ส่งผลต่อความสวยงามของธรรมชาติและชื่อเสียงในด้านของความสะอาดของสถานที่และส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวด้วย
  5. สัตว์น้อยใหญ่อาจกินเข้าไปและเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

ถ้าเป็นไปกรุณางดนำขยะพลาสติก หรือวัสดุที่กำจัดยากเข้าไปในเขตอุทยานฯและพื้นที่ทางธรรมชาติ เช่น โฟมบรรจุอาหารและถุงพลาสติก รวมไปถึงน้ำยาหรือสารเคมี ก็ไม่ควรนำไปเทลงลำธารหรือแม่น้ำ เสี่ยงต่อสัตว์มาดื่มกินและตายได้

ที่มาข้อมูล 

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง

การบริหารจัดการขยะในอุทยานแห่งชาติ

related