นางสาว ชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายบริหารการสื่อสารองค์กร ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. แสดงความห่วงใยในการใช้ สินทรัพย์ดิจิทัล หรือ คริปโต ในปัจจุบัน โดยล่าสุด ธปท.ร่วมกับคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำลัง หารือในการพิจารณารูปแบบการกำกับดูแลการให้บริการรับชำระค่าสินค้า และบริการด้วยสินทรัพย์ดิจิทัล หรือ คริปโต (crypto)เพื่อเข้าไปดูแลความเสี่ยง ทั้งต่อภาคธุรกิจ และประชาชนผู้ที่ใช้เงินดิจิทัลในการชำระเงินในระยะข้างหน้า คาดว่าจะมีความชัดเจนเกี่ยวกับการเข้าไปกำกับเร็วๆนี้
.
ทั้งนี้ การออกมาเตือน ให้ระวังการใช้ สินทรัพย์ดิจิทัล หรือ คริปโต จากทาง ธปท. นั่นเป็นเพราะว่า อยากให้ประชาชนรู้ถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในการใช้ สินทรัพย์ดิจิทัล หรือ คริปโต เพราะมีความผันผวนสูง และอาจเกิดต้นทุนที่สูงมากในระบบเศรษฐกิจ หากประชาชนไม่มีความเข้าใจอย่างแท้จริงในระบบของมัน
.
ธปท. มีแนวความคิดว่า หากปล่อยให้เกิดการใช้สินทรัพย์ดิจิทัล หรือ คริปโต (crypto) โดยไม่มีการกำกับดูแล ก็เชื่อว่าจะนำมาสู่ความเสี่ยงได้ เช่นเดียวกันกับการปล่อยให้คริปโทฯ (crypto) ถูกใช้แพร่พลายมากขึ้น จากหลากหลายรูปแบบ เหล่านี้อาจทำให้เกิดความสับสนใจการแง่การทำบัญชีการทำธุรกิจ และเกิดต้นทุนต่อผู้ประกอบการได้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
แบงก์ชาติ ประกาศย้ำ ไม่สนับสนุนนำ “คริปโต” มาใช้ชำระค่าสินค้าและบริการ
ร้านกาแฟ "อินทนิล" รับชำระด้วย "คริปโตเคอร์เรนซี" ประเดิม 21 สาขา ดีเดย์ 1 ธ.ค.
ห้ามธนาคารซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลโดยตรง
.
ส่วนกรณีที่เห็นธนาคารบางแห่ง มีการประกาศเข้าไปลงทุน หรือทำธุรกิจเกี่ยวกับดิจิทัลแอสเซท สินทรัพย์ดิจิทัล หรือ คริปโต (crypto) มากขึ้นนั้น ในประเด็นนี้ ธปท. ยังมีจุดยืนเหมือนเดิม นั่นคือ ไม่ต้องการให้ธนาคารเข้าไปยุ่งเกี่ยว เป็นตัวกลางในการซื้อ-ขาย สินทรัพย์ดิจิทัล หรือ คริปโต เพราะ ธนาคารมีเรื่องของเงินฝากของลูกค้า และการดูแลประชาชน ที่อาจมีความเสี่ยงตามมาได้ หากไปยุ่งเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลโดยตรง ซึ่งยังคงเป็นเป้าหมายในการเข้าไปดูแลกำกับสถาบันการเงินของธปท.อยู่
.
สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน คือการเข้าไปถือหุ้นของบริษัทลูกของธนาคาร ซึ่งการเข้าไปในวันนี้ลักษณะจะเหมือนกัน ที่ธนาคารเข้าไปลงทุนปกติที่ในพอร์ตอาจมีตัวหนึ่งที่มีความเสี่ยงสูง ดังนั้นหากเกิดความเสี่ยง ก็ต้องมีการดำรงเงินกองทุนฯ เพื่อไม่ให้กระทบต่อความมั่นคงของแบงก์หรือผู้ฝากเงินในระยะข้างหน้าต่อไป
สินทรัพย์ดิจิทัลช่วยลดต้นทุน - ชำระเงินได้ต้องมูลค่าไม่ลด ปลอดภัยสูง
.
ในขณะเดียวกัน นายกษิดิศ ตันสงวน รองผู้อำนวยการ กลุ่มงานยุทธ์ศาสตร์องค์กร ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ชี้ให้เห็นว่า ประโยชน์ของสินทรัพย์ดิจิทัล จะช่วยทำให้การทำธุรกรรมทางการเงินคล่องตัวมากยิ่งขึ้น ต้นทุนต่ำลง ทำให้คนเข้าถึงการลงทุนได้มากขึ้น
.
หน้าตาสินทรัพย์ดิจิทัล ที่จะใช้ชำระเงินได้ และเป็นสื่อของการใช้ชำระเงินได้ สิ่งนั้นต้องเข้าถึงได้ง่าย เช่นเงินสด ที่ไม่ต้องมีอุปกรณ์ไฮเทคต่างๆก็สามารถเข้าได้ง่าย ที่มีสภาพคล่อง จ่ายง่าย สามารถคงมูลค่าได้ มูลค่าไม่ลดลง และสุดท้าย ต้องปลอดภัย และเป็นที่ยอมรับจากผู้ใช้และผู้รับ
อย่างไรก็ตาม สินทรัพย์ดิจิทัลมี หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับผู้ออก แต่ตัวที่ธปท.สนใจคือ Stablecoin คือสินทรัพย์ดิจิทัล ที่มีสินทรัพย์หนุนหลัง
ธนาคารแห่งประเทศไทยรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน
.
ขณะเดียวกัน นายสักกะภพ พันธ์ยานุกุล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหาภาค ธปท. มีเป้าหมายคือต้องการดูแลความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืนของประชาชน ใน 3 มิติ
.
1.เราทำเงินให้เป็นเงิน ทำรักษาค่าของเงินตรา ให้มูลค่ายังคงเดิม เช่นเดียวกันที่ธปท.ดูแลเงินเฟ้อ ดูแลอัตราแลกเปลี่ยน เพราะเหล่านี้สะท้อนค่าของเงิน
2. คือดูแลไม่ให้ระบบเศรษฐกิจกระแทกจนเกินไป โดยการทำให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างยั่งยืน ดูแลให้ภาวะการเงินสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจในแต่ละช่วงเวลา
3. คือ การเป็นผู้ให้กู้ยืมแหล่งสุดท้าย
.
ดังนั้น หมายความว่า หากมีการนำ สินทรัพย์ดิจิทัล หรือ คริปโต มาใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น มาทดแทนเงินบาท 3 บทบาทเหล่านี้จะอาจเปลี่ยนไป ธปท.อาจไม่สามารถเข้าไปดูแลเหรียญเหล่านั้นได้ ทำให้ความสามารถดูแลภาวะการเงิน ให้สอดคล้องภาวะเศรษฐกิจในแต่ละช่วงเวลาก็จะน้อยลง
.
อย่างไรก็ตาม การเข้าไปกำกับดูแลในอนาคต จะอยู่ภายใต้ การดูแลเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และมีความเสี่ยงน้อยที่สุด โดยที่ผ่านมามีผู้ประกอบการได้เข้ามาคุยบ้าง เพื่อให้เกิดความเข้าใจในโมเดล เพื่อเกณฑ์การดูแลออกมาดีที่สุดในระยะข้างหน้า
เพิ่ม Spring News
ลงในหน้าจอหลักของคุณ