svasdssvasds

บสย. ทุบสถิติใหม่ทำนิวไฮค้ำประกันสินเชื่อปี’64 ทะลุ 2.4 แสนล้าน หนุน SMEs ไทย

บสย. ทุบสถิติใหม่ทำนิวไฮค้ำประกันสินเชื่อปี’64 ทะลุ 2.4 แสนล้าน หนุน SMEs ไทย

บสย. เป็นปลื้ม โชว์ผลงานชิ้นโบว์แดงค้ำประกันสินเชื่อปี 2564 พุ่ง สูงสุดเป็นประวัติการณ์สร้างสถิติใหม่ 240,000 ล้านบาท ช่วย SMEs มากกว่า 207,000 ราย หนุนให้ภาคธุรกิจเติบโตก้าวกระโดดทุกมิติ

โดย ‘นางวสุกานต์ วิศาลสวัสดิ์’ รักษาการผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกัน สินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยว่า ปี 2564 นับว่าเป็นปี ที่ บสย. ประสบผลสำเร็จอย่างมากในการดำเนินงานด้านการค้ำประกัน สินเชื่อ ช่วยผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงแหล่งทุน ในฐานะหน่วยงาน ของรัฐที่มีบทบาทการ “ค้ำประกันสินเชื่อ” โดยคาดว่าผลดำเนินงาน บสย. ณ สิ้นสุดปี 2564 จะมีการเติบโตในทุกมิติ คาดว่าจะปิดยอดค้ำประกันสินเชื่อมากกว่า 240,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลการดำเนินงานที่ สร้างสถิติใหม่สูงสุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่ก่อตั้ง บสย. มา

ทั้งนี้หากย้อนดูผลการดำเนินงานของ บสย. ข้อมูล ณ 13 ธ.ค. 2564 มี ยอดอนุมัติค้ำประกันสินเชื่อ 234,992 ล้านบาท ช่วยผู้ประกอบการ SMEs 207,537 ราย และอนุมัติหนังสือค้ำประกันสินเชื่อ (LG) 224,104 ฉบับ โดยมีโครงการที่โดดเด่น 3 โครงการ ได้แก่

1. โครงการค้ำประกันสินเชื่อตาม พ.ร.ก. สินเชื่อฟื้นฟู วงเงินค้ำประกัน สินเชื่อ 124,912 ล้านบาท 2. โครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS9 วงเงิน ค้ำประกันสินเชื่อ 78,799 ล้านบาท และ 3. โครงการค้ำประกันสินเชื่อ Micro 4 วงเงิน 19,257 ล้านบาท

โดยสามารถแบ่งเป็นวงเงินค้ำประกันสินเชื่อในโครงการค้ำประกันสิน เชื่อ พ.ร.ก. สินเชื่อฟื้นฟู และโครงการค้ำประกันสินเชื่อของ บสย. ดังนี้

1. โครงการค้ำประกันสินเชื่อ ตาม พ.ร.ก. สินเชื่อฟื้นฟู เฟส 1-2 คิดเป็น สัดส่วน 53.2%

- ยอดอนุมัติค้ำประกันสินเชื่อ 124,912 ล้านบาท อนุมัติ LG 39,380 ฉบับ

- จำนวนลูกค้า 36,776 ราย

- เกิดสินเชื่อจากการค้ำประกัน 127,310 ล้านบาท

- วงเงินค้ำประกันสินเชื่อเฉลี่ยต่อราย 3.17 ล้านบาทต่อฉบับ - เกิดการจ้างงานรวม 1,206,367 ราย

- เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ รวม 515,885 ล้านบาท

- ธุรกิจที่มีการค้ำประกันสินเชื่อสูงสุดภายใต้โครงการ 3 ลำดับ ได้แก่ 1. ธุรกิจบริการ 28% 2. ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม 10% 3. ธุรกิจยานยนต์ 9%

2. โครงการค้ำประกันสินเชื่อของ บสย. คิดเป็นสัดส่วน 46.8% ประกอบด้วยโครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS9, โครงการค้ำประกันสิน เชื่อ Micro 4 และโครงการอื่นๆ

- ยอดอนุมัติวงเงินค้ำประกันสินเชื่อกว่า 110,080 ล้านบาท อนุมัติ LG 184,724 ฉบับ จำนวนลูกค้า 176,525 ราย

- วงเงินค้ำประกันสินเชื่อเฉลี่ยต่อราย 0.60 ล้านบาทต่อฉบับ - เกิดสินเชื่อจากการค้ำประกัน 122,038 ล้านบาท

- เกิดการจ้างงานรวม 1,320,732 ราย

- เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ 454,634 ล้านบาท

- ธุรกิจที่มีการค้ำประกันสินเชื่อสูงสุด ได้แก่ 1. ธุรกิจบริการ 29%

2.ธุรกิจการผลิตสินค้าและการค้าอื่นๆ16% 3.เกษตรกรรม 10%

นางวสุกานต์ กล่าวว่า ตั้งแต่ปี 2563 - 2564 ธุรกิจไทยต้องเผชิญกับโค วิด-19 ทำให้ขาดขาดสภาพคล่อง ไม่สามารถชำระหนี้ได้ ต้องปิด กิจการเป็นจำนวนมาก บสย. ได้เดินหน้าช่วยผู้ประกอบการ SMEs ให้ เข้าถึงสินเชื่อผ่านกลไกการค้ำประกันสินเชื่อ ให้คำปรึกษาในรูปแบบ ต่าง ๆ แบบครบวงจร โดยก่อนหน้านี้เปิด “สินเชื่อฟื้นฟู เฟส 2 เปิด รับคำขอค้ำประกันสินเชื่อกับสถาบันการเงิน ที่เข้าร่วมโครงการเมื่อ 6 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา เดินหน้าค้ำประกันอีก 1 แสนล้านครอบคลุม ธุรกิจในวงกว้าง ปรับลดค่าธรรมเนียม จ่ายเบา เริ่มต้นเพียง 1% อนุมัติ รวดเร็ว ฉับไว สามารถลดปัญหาการปิดกิจการชะลอการเลิกจ้างได้

โดยมีการกำหนดผู้ประกอบการออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ

1. ผู้ประกอบการกลุ่มไมโคร (Micro) หรือผู้ประกอบการ SMEs ราย ย่อย โดยกลุ่มนี้ถ้าเป็นลูกค้าสถาบันการเงินที่มีวงเงินสินเชื่อเดิมไม่เกิน 5 ล้านบาท จะได้วงเงินไม่เกิน 30% ของสินเชื่อเดิมหรือสูงถึง 1.5 ล้าน บาท ในขณะที่ถ้าไม่มีวงเงินสินเชื่อกับสถาบันการเงินเลยจะได้วงเงินสูง ถึง 1.5 ล้านบาท

บสย. ทุบสถิติใหม่ทำนิวไฮค้ำประกันสินเชื่อปี’64 ทะลุ 2.4 แสนล้าน หนุน SMEs ไทย

2. ผู้ประกอบการ SMEs หากเป็นลูกค้าสถาบันการเงินที่มีวงเงินสินเชื่อ เดิมระหว่าง 5 - 50 ล้านบาท จะได้วงเงินไม่เกิน 30% ของสินเชื่อเดิม หรืออยู่ระหว่าง 1.5 – 15 ล้านบาท ในขณะที่ถ้าไม่มีวงเงินสินเชื่อกับ สถาบันการเงินเลยจะได้วงเงินอยู่ที่ 1.5 – 15 ล้านบาท

3. กลุ่มคอร์ปอเรท (Corporate) ลูกค้าสถาบันการเงินที่มีวงเงินสินเชื่อ เดิมระหว่าง 50 - 500 ล้านบาท จะได้วงเงินไม่เกิน 30% ของสินเชื่อเดิม หรืออยู่ระหว่าง 15 - 150 ล้านบาท ในขณะที่ถ้าไม่มีวงเงินสินเชื่อกับ สถาบันการเงินเลยจะได้วงเงินอยู่ที่ 15 - 50 ล้านบาท

โดยจุดเด่นของ พ.ร.ก. สินเชื่อฟื้นฟู ระยะที่ 2 นั้น ได้มีการปรับเกณฑ์ การค้ำประกันสินเชื่อให้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะการให้ความช่วยเหลือผู้ ประกอบการกลุ่มไมโคร และกลุ่ม SMEs เปราะบาง เพื่อช่วยลดภาระ ต้นทุนค่าธรรมเนียม และเพิ่มโอกาสได้วงเงินสินเชื่อเพิ่ม โดยมีราย ละเอียด ดังนี้

1. ปรับลดค่าธรรมเนียมค้ำประกันทันทีตั้งแต่ปีแรก สำหรับผู้ประกอบ การกลุ่มไมโคร และ กลุ่ม SMEs เปราะบาง จ่ายเบาๆ เริ่มต้นเพียง 1% ต่อปีต่อเนื่อง 4 ปีแรก รวม 13% ตลอดระยะเวลา 10 ปี

2. เพิ่มโอกาสผู้ประกอบการกลุ่มไมโคร และกลุ่ม SMEs เปราะบาง ได้ รับวงเงินสินเชื่อ เพิ่มขึ้นสูงสุด 50 ล้านบาทต่อราย จากเดิม 15 ล้าน บาทต่อราย

3. เพิ่มความมั่นใจให้ธนาคารปล่อยสินเชื่อโดย บสย. จ่ายค่าประกัน ชดเชยเต็ม 100% ใน กลุ่มไมโคร จากเดิม 90% และ กลุ่ม SMEs เปราะบาง จากเดิม 80%

สำหรับผู้ประกอบการกลุ่มคอร์ปอเรท (Corporate) ได้เพิ่มการช่วย เหลือ โดยลดภาระต้นทุนในส่วนของการจ่ายค่าธรรมเนียม 1% ต่อปี ต่อเนื่อง 2 ปีแรก รวม 14% ตลอดระยะเวลา 10 ปี โดย บสย. ค้ำ ประกันสูงสุดไม่เกิน 150 ล้านบาท ต่อราย ต่อสถาบันการเงิน และมี ระยะเวลาค้ำประกัน สูงสุดถึง 10 ปี

นอกจากนี้ ขั้นตอนการขอ บสย. ค้ำประกันสินเชื่อฟื้นฟู เฟส 2 นั้น ไม่มี อะไรซับซ้อน ง่ายๆ ใน 8 ขั้นตอน เพียงผู้ประกอบการเตรียมเอกสารให้ พร้อม และดำเนินการตามขั้นตอนให้ถูกต้อง ดังนี้

1. ผู้ขอสินเชื่อติดต่อธนาคารพร้อมยื่นเอกสาร

2. ธนาคารพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ

3. ธนาคารนำส่งเอกสารให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อพิจารณา อนุมัติสินเชื่อ

4. ธนาคารส่งคำขอค้ำประกันสินเชื่อมาที่ บสย.

5. บสย. ตรวจสอบเอกสาร ถูกต้อง ครบถ้วน

6. อนุมัติค้ำประกัน

7. บสย. แจ้งอนุมัติพร้อมส่งเอกสารเพื่อให้ธนาคารนัดหมายผู้ขอ

สินเชื่อ

8. ผู้ประกอบการได้รับสินเชื่อ หากเอกสารและการดำเนินการครบ

ถ้วน จะทราบผลอนุมัติค้ำประกันภายใน 3 วัน

เปิดรับคำขอตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน 2564 และสิ้นสุดรับคำขอวันที่ 9 ตุลาคม 2566

สำหรับผู้ประกอบการที่มีความประสงค์เข้าร่วมโครงการ สามารถ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือขอรับคำปรึกษาฟรี ได้ที่ บสย. Call Center และศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน SMEs (บสย. F.A. Center) โทร. 02-890-9999 หรือติดต่อที่ สำนักเขต บสย. ทั้ง 11 แห่งทั่ว ประเทศ