svasdssvasds

ป่าแอมะซอนเดินทางถึงจุดเปลี่ยน จากป่าฝนผืนใหญ่สู่ทุ่งสะวันนาแห้งแล้ง

ป่าแอมะซอนเดินทางถึงจุดเปลี่ยน จากป่าฝนผืนใหญ่สู่ทุ่งสะวันนาแห้งแล้ง

สถานการณ์ป่าแอมะซอน การศึกษาใหม่เตือน หากการตัดไม้ทำลายป่ายังดำเนินต่อไป ป่าฝนแอมะซอนอาจถึงจุดเปลี่ยนที่สำคัญ เปลี่ยนจากป่าฝนชุ่มชื้นกลายเป็นทุ่งหญ้าสะวันนาแห้งแล้ง

ป่าแอมะซอน สำหรับในปีนี้ปี 2022 ถูกพูดถึงมากพอสมควรในด้านของความเสียหายที่มาจากทุกด้าน รวมไปถึงการสูญพื้นที่ป่าไม้หลายส่วนโดยส่วนมากมาจากการตัดไม้ทำลายป่าและอัคคีภัยหรือไฟป่านั่นเอง

และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งงานเขียนใหม่จากนักวิทยาศาสตร์ที่ได้คาดการณ์การเปลี่ยนแปลงของป่าแอมะซอนอันยิ่งใหญ่ที่มีโอกาสผันตัวกลายมาเป็นทุ่งหญ้าแห้งแล้งแบบสะวันหน้าในอีกไม่กี่ทศวรรษข้างหน้านี้แล้ว

รายงาน Inside Climate News กล่าวว่า ผลการศึกษาที่ตีพิมพ์เมื่อวันจันทร์ (7 มีนาคม) ในวารสาร Nature Climate Change ชี้ให้เห็นว่ามากกว่า 75% ของป่าฝนได้สูญเสีย ‘ความยืดหยุ่น’ อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ล่วงปี 2000 มา ซึ่งหมายความว่าบางส่วนของป่าฝนไม่สามารถฟื้นตัวได้ง่ายจากการรบกวน เช่น ภัยแล้งและไฟป่า ภูมิภาคต่างๆของป่าฝนที่แสดงให้เห็นถึงการสูญเสียความยืดหยุ่นอย่างลึกซึ้งที่สุดนั้น ตั้งอยู่ใกล้ฟาร์ม พื้นที่เมือง และพื้นที่ที่ใช้ในการตัดไม้

หรือกล่าวง่ายๆก็คือ พื้นที่ป่าที่มีโอกาสน้อยในการฟื้นฟูตัวเองนั้น ส่วนใหญ่อยู่ใกล้เขตทำการเกษตร เขตชุมชนและเมือง แขตพื้นที่ที่มีการตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งเห็นได้ชัดเจนเลยว่าป่ากำลังเสียหายอย่างหนักจากน้ำมือมนุษย์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จากการตรวจสอบภาพถ่ายดาวเทียมที่ถ่ายระหว่างปี 1991-2016 นักวิจัยกำหนดระยะเวลาที่ป่าฝนจะสะท้อนกลับหลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว นักวิจัยระบุว่า นับตั้งแต่ช่วงเปลี่ยนศตวรรษที่ 21 ป่าฝนใช้เวลานานขึ้นในการฟื้นฟูชีวมวล ซึ่งหมายถึงมวลของต้นไม้ที่มีชีวิตและพืชพรรณอื่นๆหลังภัยแล้งและไฟไหม้

เปาโล แบรนโด (Paulo Brando) นักนิเวศวิทยาเขตร้อนจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียเออร์ไวน์ (Irvine) ผู้ซึ่งไม่ได้มีส่วนร่วมในการศึกษากล่าวว่า “การขาดแคลนความยืดหยุ่นดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า แท้จริงแล้ว ป่าแห่งนี้ยังมีแรงเหลือเฟืออีกมาก”

การศึกษาใหม่นี้เพิ่มหลักฐานที่มีอยู่ว่าป่าฝนที่ใหญ่ที่สุดในโลกกำลังพุ่งเข้าหาจุดเปลี่ยน ซึ่งเกินกว่าที่ผืนป่าขนาดใหญ่แห่งนี้จะฟื้นฟูได้ทันและอาจตายได้ในทันที การศึกษานี้ไม่สามารถระบุได้ว่าเมื่อใดจะถึงจุดเปลี่ยน แต่ป่าอาจจะกลายเป็นแบบนั้นในอีกไม่กี่ทศวรรษ

หากผ่านจุดเปลี่ยนนี้ไปได้ระบบนิเวศสามารถเปลี่ยนเป็นทุ่งหญ้าสะวันนาอันกว้างใหญ่ได้อย่างรวดเร็ว โดยปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาหลายหมื่นล้านตันระหว่างการเปลี่ยนแปลง

Scott Denning นักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพอากาศจากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐโคโลราโด บอกว่า “เป็นการเรียงลำดับที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งนักวิทยาศาสตร์มั่นใจว่าแอมะซอนกำลังจะตาย และในชั่วพริบตา ป่าทั้งผืนก็อาจสูญหายได้” แม้ว่า Denning จะไม่เห็นด้วยกับคำอธิบายสถานการณ์นี้ แต่เขากล่าวว่า มันก็มีหลักฐานเพียงพอที่แสดงให้เห็นว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ของป่านั้นเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตามแนวชายขอบด้านใต้และตะวันออกที่ถูกทำลายล้างด้วยการตัดไม้ทำลายป่า

“มันไม่เด้งกลับ มันปล่อยคาร์บอน มันแห้ง และมันกำลังจะตาย”

ณ จุดนี้จะทำอะไรได้บ้าง เพื่อปกป้องไม่ให้ป่าฝนแอมะซอนกลายเป็นทุ่งหญ้าสะวันนาของแอมะซอน

“ระบบเหล่านี้มีความยืดหยุ่นสูง และความจริงที่ว่าเราได้ลดความยืดหยุ่นลง ไม่ได้หมายความว่าระบบจะสูญเสียความยืดหยุ่นทั้งหมด ถ้าปล่อยพวกมันไว้ตามลำพังสักนิด พวกมันจะกลับมาแข็งแรง”

คาร์ลอส โนเบร (Carlos Nobre) นักวิทยาศาสตร์อาวุโสจากสถาบันวิจัยแอมะซอนแห่งชาติในบราซิล กล่าวว่า “เราต้องทำลายพฤติการณ์การทำลายป่าให้เป็นศูนย์ เราจึงจะมีโอกาสกอบกู้ป่าแห่งนี้กลับคืนมา”

สรุปจากผู้เขียน

ป่าแอมะซอนกำลังสูญเสียพื้นที่ป่ามากขึ้นเรื่องทั้งมาจากมนุษย์และภัยพิบัติ ป่าเสียความสมดุลและความยืดหยุ่นในการฟื้นฟูตนเอง และกำลังกักเก็บคาร์บอนได้น้อยและปล่อยออกซิเจนได้ช้า หลักฐานทางวิทยาศาสตร์หลายชิ้นบ่งบอกว่า มีโอกาสเป็นไปได้ที่ป่าแอมะซอนแห่งนี้กำลังเปลี่ยนผันกลายเป็นป่าแห้งแล้งแบบทุ่งหญ้าสะวันนา หากไม่เร่งแก้ไขฟื้นฟู สิ่งที่สามารถทำได้ตอนนี้คือ อย่าเข้าไปทำกิจกรรมใดๆในป่าอีก ให้เวลาธรรมชาติฟื้นฟูตัวเองสักนิดก็อาจมาสมบูรณ์ดังเดิมได้

ที่มาข้อมูล

https://www.livescience.com/amazon-rainforest-into-a-savanna

related