svasdssvasds

เดือดจัด! ภาคเหนือ-กลาง อุณหภูมิ แตะ 41 องศา เตือนพายุฤดูร้อน 16-18 เม.ย. 65

เดือดจัด! ภาคเหนือ-กลาง อุณหภูมิ แตะ 41 องศา เตือนพายุฤดูร้อน 16-18 เม.ย. 65

ระอุ! ภาคเหนือ-กลาง อุณหภูมิสูงสุด แตะ 41 องศา กทม.ไม่น้อยหน้า อุณหภูมิสูงสุด ถึง 39 องศา กรมอุตุฯ เตือน เตรียมรับมือ "พายุฤดูร้อน" 16-18 เม.ย.65 กระทบทั่วไทย เริ่มจากภาคเหนือ กลาง กลาง และใต้ตอนบน

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศวันนี้ ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนหลายพื้นที่และมีอากาศร้อนจัดบางแห่งกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่มีลมตะวันตก และลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนขึ้นไว้ด้วย สำหรับลมตะวันตกที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังอ่อน ทำให้ภาคใต้มีฝนน้อยในระยะนี้
อนึ่ง ในช่วงวันที่ 16-18 เมษายน 2565 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางได้แผ่ลงมาปกคลุมถึงประเทศจีนตอนใต้แล้ว คาดว่าจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้ในวันพรุ่งนี้ (16 เม.ย. 65) ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยจะเริ่มได้รับผลกระทบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคใต้ตอนบน จะได้รับผลกระทบในระยะถัดไป

ฝุ่นละอองขนาดเล็กประเทศไทยตอนบนมีแนวโน้มการสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากลมที่พัดปกคลุมบริเวณดังกล่าวมีกำลังอ่อนในระยะนี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

ภาคเหนืออากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดตาก กำแพงเพชร พิจิตร และเพชรบูรณ์
อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 37-41 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนืออากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดชัยภูมิ ขอนแก่น มุกดาหาร อำนาจเจริญ
นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 36-39 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม.

ภาคกลางอากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน
อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 39-41 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม.

ภาคตะวันออกอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดกระบี่ ตรัง และสตูล
อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

กรุงเทพมหานครและปริมณฑลอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน
อุณหภูมิต่ำสุด 27-29 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส
ลมใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม.

 

ทั้งนี้เมื่อเวลา 05.00 น. วันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2565 กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเรื่อง "พายุฤดูร้อน" บริเวณประเทศไทย (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 16-18 เมษายน 2565) ฉบับที่ 2 ลงวันที่ 14 เมษายน 2565ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา

ในช่วงวันที่ 16-18 เมษายน 2565 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น

โดย "พายุฤดูร้อน" มีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ จะเริ่มได้รับผลกระทบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคใต้ตอนบน จะได้รับผลกระทบในระยะถัดไป จึงขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากภัยดังกล่าว

โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ใกล้สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง และขอให้เพิ่มความระมัดระวังในการเดินทางสัญจรผ่านบริเวณที่มีพายุฝนฟ้าคะนองซึ่งอาจเกิดอันตรายจากลมกระโชกแรงและฟ้าผ่าได้ สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย

 

ข้อมูลจาก : กรมอุตุนิยมวิทยา

related