svasdssvasds

สรุปให้ ดราม่างานฟิสิกส์ระดับโลก IPAC22 ห้ามผู้หญิงใส่กางเกง-ทาเล็บ

สรุปให้ ดราม่างานฟิสิกส์ระดับโลก IPAC22 ห้ามผู้หญิงใส่กางเกง-ทาเล็บ

สรุปให้ ดราม่างานฟิสิกส์ระดับโลก IPAC22 ห้ามผู้หญิงใส่กางเกง-ทาเล็บ-โชว์รอยสักนอกร่มผ้า ผู้จัดแจงต้นเรื่องเข้าใจผิด ข้อห้ามเรื่องชุดใช้เฉพาะวันเปิดที่มีราชวงศ์เสด็จมาทรงเป็นประธานในการเปิดงาน เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย

กลายเป็นดราม่าระดับนานาชาติ เมื่องานประชุมวิชาการระดับโลกด้านฟิสิกส์ระดับโลก IPAC22 ขึ้นภาพ ระเบียบการแต่งกายบนเว็บไซต์ โดยมีข้อห้ามระบุว่า ห้ามเห็นรอยสักนอกร่มผ้า ห้ามทาเล็บเข้างาน ห้ามผู้หญิงใส่กางเกงเข้างาน โดยในภาพประกอบปรากฏภาพการแต่งกายของผู้ชายสวมเสื้อเชิ้ต ใส่กางเกงสแล็กส์ แต่ไม่สวมใส่เข็มขัด ก็ไม่ได้รับอยุญาตให้เข้างานเช่นกัน

จุดเริ่มต้น

เรื่องนี้ต้นเรื่องเริ่มจาก David K Smith นักฟิสิกส์ ที่ มหาวิทยาลัยยอร์ก ในอังกฤษ ได้เปิดประเด็นผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัวของเขา ว่า "เป็นงานฟิสิกส์ที่มีระเบียบการแต่งกาย ที่ไร้สาระที่สุดที่ฉันเคยเจอมา" 

เขาได้ทวีตต่ออีกว่า "สายงานเราเป็นสายงานที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ พวกเราไปงานประชุมวิชาการเพื่อแบ่งปันไอเดียใหม่ ๆ ตราบใดที่ผู้ร่วมงานไม่สวมใส่บิกีนี่-นุ่งผ้าเตี่ยว และไม่มีรอยสักตราสวัสดิกะ ซึ่งหมายถึงพรรคนาซี บนใบหน้า ฉันก็ไม่สนหรอกว่าเขาจะแต่งตัวยังไง"

ในเวลาต่อมา David ก็ทวีตต่อว่า "ดูเหมือนว่าระเบียบการแต่งกายดังกล่าวจะบังคับเฉพาะวันเปิดงานที่มีราชวงศ์เสด็จมาทรงเป็นประธานในการเปิดงาน" แต่ก็ยังโยงต่อไปถึงภาพครั้งที่ นางฮิลลารี คลินตัน เข้าเฝ้า พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อชี้ให้เห็นว่า นางฮิลลารี แต่งตัวอย่างไรขณะเข้าเฝ้าซึ่งขัดกับระเบียบการแต่งตัวของงานก่อนหน้า

ทำไมต้องมีระเบียบชุดที่เคร่งครัด

ด้านผู้จัดงานได้ออกมาทวิตชี้แจงในประเด็นดังกล่าวว่า ภาพระเบียบการแต่งกายดังกล่าว ที่ขึ้นอยู่บนเว็บไซต์ ใช้เฉพาะวันที่ 13 มิถุนายน ซึ่งเป็นเปิดงานเท่านั้น โดยทางผู้จัดได้รับทราบถึงปัญหาดังกล่าวและได้หยุดเผยแพร่ภาพนั้นแล้ว เพื่อป้องกันการเข้าใจผิด

ขณะที่ผู้ที่เข้ามาแสดงความคิดเห็นในทวีตต้นเรื่องก็แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายที่เห็นด้วยว่าชาวต่างชาติที่เข้ามาควรเคารพระเบียบ-ประเพณีของประเทศที่ไป ส่วนอีกฝั่งหนึ่งก็มองว่าระเบียบต่าง ๆควรมีการปรับให้ทันสมัย

ทั้งนี้งานประชุมวิชาการระดับโลกด้านเครื่องเร่งอนุภาค ในปี 2565 ซึ่งประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพ จัดโดยสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ที่ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ 12-17 มิถุนายน 2565

ภายในงาน IPAC’22 จะมีการนำเสนอข้อมูลล่าสุดของการวิจัยและข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับเครื่องเร่งอนุภาคทั่วโลก รวมทั้งการนำงานวิจัย เทคโนโลยี หรือนวัตกรรมไปประยุกต์ใช้จริงในห้องปฏิบัติการ และในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนานักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย เยาวชนรุ่นใหม่ให้ได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์แสงซินโครตรอน เทคโนโลยีด้านเครื่องเร่งอนุภาค และตระหนักถึงการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศ โดยมีผู้ส่งบทคัดย่องานวิจัยมากกว่า 1,900 เรื่อง และจะมีผู้เข้าร่วมประชุมจากต่างประเทศประมาณ 1,200 คน

related