svasdssvasds

เปรียบเทียบทุ่งรับน้ำภาคกลาง แค่ 3 วัน ปริมาณน้ำไหลเข้าเกินความจุ!

เปรียบเทียบทุ่งรับน้ำภาคกลาง แค่ 3 วัน ปริมาณน้ำไหลเข้าเกินความจุ!

กอนช. เปิดรายชื่อจังหวัดฝ้าระวังพื้นเสี่ยงอุทกภัย น้ำท่วมขังทั่วประเทศ พร้อมกำชับให้รีบเร่งระบายให้เร็วที่สุด เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อน พร้อมเปรียบเทียบทุ่งรับน้ำภาคกลางแค่ 3 วัน ปริมาณน้ำไหลเข้าเกินความจุแล้ว

 วันนี้ (11 ต.ค. 65) เขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท ได้ปรับเพิ่ม อัตราการระบายไปที่ 3,164 ลบ.ม./วินาที สูงสุดในรอบปี เพื่อรักษาสมดุลของน้ำเหนือเขื่อนและท้ายเขื่อน รองรับปริมาณน้ำฝนและ เพื่อชะลอน้ำเหนือไว้ในลำน้ำเหนือเขื่อน ส่งผลให้พื้นที่ท้ายเขื่อนระดับน้ำขึ้นสูงต่อเนื่อง วัดได้ 17.38 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง เอ่อล้นสูงกว่าตลิ่ง 92 ซม. เป็นเกณฑ์ที่เขื่อนเจ้าพระยามีการปรับระดับการแจ้งเตือนจากธงเหลือง ในสถานการณ์เฝ้าระวัง ขึ้นเป็นธงแดง ซึ่งเป็นสถานการณ์เข้าขั้นวิกฤต เป็นวันที่ 3 ต่อเนื่อง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• เขื่อนเจ้าพระยาระบายน้ำสูงสุดในรอบปี ที่ 3,164 ลบ.ม./วินาที

• อัปเดต 10 ต.ค. พื้นที่ทุ่งรับน้ำเจ้าพระยา หลายพื้นที่เกินความจุแล้ว

• ดร.เสรี ชี้ "น้ำท่วม 2565" ไม่เท่าฝันร้ายน้ำท่วม 54 แต่วิกฤต - ยืดเยื้อ

เปรียบเทียบทุ่งรับน้ำภาคกลางแค่ 3 วัน ปริมาณน้ำไหลเข้าเกินความจุ!

1.ทุ่งเชียงราก

วันเสาร์ (8 ต.ค. 65) น้ำในทุ่ง 51.41 ล้าน ลบ.ม.  คิดเป็น 64% ของความจุทุ่ง 

วันนี้ (10 ต.ค. 65) มีน้ำในทุ่ง 53.63 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 67% ของความจุทุ่ง

2.ทุ่งชัยนาท-ป่าสัก 

วันเสาร์ (8 ต.ค. 65) น้ำในทุ่ง 77.56  ล้าน ลบ.ม.  คิดเป็น 67% ของความจุทุ่ง 

วันนี้ (10 ต.ค. 65) มีน้ำในทุ่ง 80.36 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 69% ของความจุทุ่ง

3. ทุ่งท่าวุ้ง 

วันเสาร์ (8 ต.ค. 65) น้ำในทุ่ง 24.66 ล้าน ลบ.ม.  คิดเป็น 29% ของความจุทุ่ง 

วันนี้ (10 ต.ค. 65) มีน้ำในทุ่ง 41.32 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 49% ของความจุทุ่ง

4. ทุ่งบางกุ่ม 

วันเสาร์ (8 ต.ค. 65) น้ำในทุ่ง 150.40 ล้าน ลบ.ม.  คิดเป็น 116% ของความจุทุ่ง 

วันนี้ (10 ต.ค. 65) มีน้ำในทุ่ง 227.30 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 175% ของความจุทุ่ง

5. ทุ่งบางกุ้ง 

วันเสาร์ (8 ต.ค. 65) น้ำในทุ่ง 28.12 ล้าน ลบ.ม.  คิดเป็น 104% ของความจุทุ่ง 

วันนี้ (10 ต.ค. 65) มีน้ำในทุ่ง 39.62 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 147% ของความจุทุ่ง

6. ทุ่งบางบาล-บ้านแพน 

วันเสาร์ (8 ต.ค. 65) น้ำในทุ่ง 51.06 ล้าน ลบ.ม.  คิดเป็น 74% ของความจุทุ่ง 

วันนี้ (10 ต.ค. 65) มีน้ำในทุ่ง 62.96 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 91% ของความจุทุ่ง

7. ทุ่งป่าโมก (ใส่สัณญาณแดง 🚨 )

วันเสาร์ (8 ต.ค. 65) น้ำในทุ่ง 40.97 ล้าน ลบ.ม.  คิดเป็น 82% ของความจุทุ่ง 

วันนี้ (10 ต.ค. 65) มีน้ำในทุ่ง 51.54 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 103% ของความจุทุ่ง

8. ทุ่งผักไห่ 

วันเสาร์ (8 ต.ค. 65) น้ำในทุ่ง 140.90 ล้าน ลบ.ม.  คิดเป็น 70% ของความจุทุ่ง 

วันนี้ (10 ต.ค. 65) มีน้ำในทุ่ง 186.98 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 93% ของความจุทุ่ง

9. ทุ่งโพธิ์พระยา (

วันเสาร์ (8 ต.ค. 65) น้ำในทุ่ง 155.30 ล้าน ลบ.ม.  คิดเป็น 77% ของความจุทุ่ง 

วันนี้ (10 ต.ค. 65) มีน้ำในทุ่ง 204.02 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 101% ของความจุทุ่ง

10. ทุ่งเจ้าเจ็ด

วันเสาร์ (8 ต.ค. 65) น้ำในทุ่ง 111.67 ล้าน ลบ.ม.  คิดเป็น 32% ของความจุทุ่ง 

วันนี้ (10 ต.ค. 65) มีน้ำในทุ่ง 120.34 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 34% ของความจุทุ่ง

11. ทุ่งพระยาบันลือ รับน้ำต่อจากทุ่งเจ้าเจ็ด เพื่อผันน้ำฝั่งตะวันตก จ.นครปฐม 

12. ทุ่งรังสิตใต้ รับน้ำผ่านเพื่อผันออกทางฝั่งตะวันออก จ.ฉะเชิงเทรา

 ด้านนายสุรสีห์  กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) กล่าวว่า  ได้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวังพื้นเสี่ยงอุทกภัยและพื้นที่มีน้ำท่วมขัง เนื่องจากสภาพอากาศช่วงวันนี้ - 14 ตุลาคม บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง

ภาคเหนือ บริเวณ จ.เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ ตาก อุตรดิตถ์ สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณ จ.เลย หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี ขอนแก่น มหาสารคาม ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์  ภาคกลาง บริเวณ จ.นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล 

ภาคตะวันออก บริเวณ จ.นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด 
ภาคใต้ บริเวณ จ.เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล 

พร้อมเน้นย้ำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่น้ำท่วมขังและติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม ควบคู่กับตรวจสอบความมั่นคงของอาคารป้องกันริมแม่น้ำและเสริมคันบริเวณจุดเสี่ยงที่เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนและเร่งเข้าให้การช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยได้ทันที           

 ทาง กอนช. ยังต้องเฝ้าระวังระดับน้ำในแม่น้ำชีด้านท้ายเขื่อนอุบลรัตน์ จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องถึงวันที่ 13 ตุลาคม ในพื้นที่ อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น อ.โกสุมพิสัย อ.เมืองมหาสารคาม จ.มหาสารคาม ระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 10 – 50 เซนติเมตร  อ.จังหาร อ.ทุ่งเขาหลวง จ.ร้อยเอ็ด ระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 10 - 60 เซนติเมตร อ.เมืองยโสธร อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร ระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 30 เซนติเมตร เพราะระดับน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ยังอยู่ในขั้นวิกฤติ ระดับ 3 จะทำให้พื้นที่ท้ายเขื่อนอุบลรัตน์มีระดับน้ำสูงขึ้นและอาจกระทบต่อพื้นที่ลุ่มต่ำ

related