svasdssvasds

ในวันที่น้ำในหู "ไม่เท่ากัน"

ในวันที่น้ำในหู "ไม่เท่ากัน"

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

วิถีและการใช้ชีวิตในแบบสมัยใหม่ที่ต้องเผชิญกับความเครียด การบริโภคอาหารที่ปรุงด้วยรสชาติเค็มจัด การอยู่ท่ามกลางอากาศร้อนและอบอ้าว ดื่มสุรา ชา กาแฟ และสูบบุหรี่ รวมถึงไม่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  ถ้าคุณมีอาการหน้ามืดคล้ายจะเป็นลม เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน หรือหลายคนเรียกรวมๆ กันให้เข้าใจง่ายๆ ว่า อาการบ้านหมุน แต่อาการเหล่านี้ เกี่ยวข้องกับเรื่อง ”ในหู” โดยตรง

ในวันที่น้ำในหู "ไม่เท่ากัน"

นั่นคือ “โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน” ซึ่งเป็นภาษาที่เรียกกันทั่วไป แต่ทางการแพทย์จะเรียกว่า “โรคแรงดันน้ำในช่องหูชั้นในผิดปกติ” หรือ โรคเมเนียร์ (Meniere’s disease) พบค่อนข้างบ่อย เป็นโรคที่พบอันดับ 2 ของสาเหตุอาการเวียนศีรษะ มักเป็นหูข้างใดข้างหนึ่งก่อน และมีประมาณ 15-20% ที่เป็นหูทั้งสองข้าง หรืออาจจะเป็นโรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในหลุด (Benign Paroxysmal Positional Vertigo : BPPV) หรือเรียกสั้นๆ ว่า “หินปูนในหูหลุด”

ในวันที่น้ำในหู "ไม่เท่ากัน"

จุดสังเกตของทั้งสองโรคนี้ พญ.ภาณินี จารุศรีพันธุ์ ฝ่ายโสต ศอ นาสิกวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้ให้ความรู้ไว้ว่า คนส่วนมาก คิดว่าอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน คลื่นไส้ อาเจียน การได้ยินลดลงเกิดจากสาเหตุของน้ำในหูไม่เท่ากัน ทั้งนี้อาการของตะกอนหินปูนในหูเคลื่อน กับน้ำในหูไม่เท่ากัน จะมีอาการที่คล้ายคลึงกัน แต่จะมีข้อแตกต่างคือ อาการของน้ำในหูไม่เท่ากันจะมีอาการต่างๆ ดังที่กล่าวมานานเกิน 20 นาทีขึ้นไปถึง 2 ชั่วโมง แล้วไม่นานก็จะกลับมาปวดหัวหรือมีอาการดังกล่าวอีก โดยจะมีลักษณะเป็นๆ หายๆ ซึ่งโรคนี้มีโอกาสเป็นได้ทุกเพศและทุกวัย เพราะเป็นโรคที่ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด พบมากในวัยทำงานที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป

การรักษาโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เนื่องจากโรคนี้ไม่มีความจำเพาะของพยาธิสภาพ ส่วนใหญ่จะรักษาตามอาการที่ตรวจพบ โดยจะให้ยาขับปัสสาวะ เพื่อลดสภาวะอาการบวมและคั่งของน้ำในหูชั้นใน รวมทั้งยาขยายหลอดเลือด ยาลดอาการเวียนศีรษะและคลื่นไส้อาเจียน ตลอดจนยากล่อมประสาทและยานอนหลับ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยผ่อนคลายและนอนหลับได้เป็นปกติ  และมักจะมีตากระตุกทำให้มองไม่ชัด ขณะมีอาการหรือมองเห็นภาพซ้อน แต่ตามักจะกระตุกอยู่นานประมาณ 30 วินาที ถึง 1 นาทีเท่านั้น และอาการเวียนศีรษะดังกล่าว จะค่อยๆ หายไป แต่เมื่อผู้ป่วยเคลื่อนไหวศีรษะในท่าเดิมอีก ก็สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการเวียนศีรษะได้อีก และอาจมีอาการวิงเวียนอยู่ได้เป็นวันหรือสัปดาห์ หลังจากนั้นจะค่อยๆ ดีขึ้น และหลังจากหายดีแล้ว ผู้ป่วยอาจกลับเป็นซ้ำได้อีก โรคนี้พบได้ในคนอายุ 30-70 ปี (พบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก) และพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชายในอัตราส่วน 1.5-2 : 1 และมักพบในคนสูงอายุ (อายุมากกว่า 60 ปี) โรคนี้สามารถเกิดในหูทั้งสองข้างได้ประมาณร้อยละ 15 และอาจพบร่วมกับโรคไมเกรนได้

วิธีการรักษาที่ปัจจุบันนิยมและยอมรับว่า ได้ผล การทำกายภาพบำบัดเพื่อเคลื่อนตะกอนหินปูนหรือแคลเซียมออกจากอวัยวะทรงตัวในหูชั้นในที่เป็นรูปเกือกม้า เมื่อตะกอนหินปูนเคลื่อนออกมาแล้วก็จะไม่กระตุ้นให้เกิดอาการเวียนศีรษะอีก วิธีนี้กระทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคเวียนศีรษะเท่านั้น

จากกรณี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไม่มาฟังคำพิพากษาคดีจำนำข้าวโดยอ้างว่าป่วยเป็น “โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน” นั้น เข้าลักษณะ  “น้ำในหูไม่เท่ากัน” หรือ “มีเนีย” (Meniere’s disease) เป็นโรคที่มีความผิดปกติของ “หูชั้นใน” โดยมีน้ำในหูชั้นในมากผิดปกติ ส่งผลต่อการทรงตัวและการได้ยิน  ขณะเคลื่อนไหวศีรษะ จะส่งผลต่อการทำงานของเซลล์ประสาทที่ควบคุมการทรงตัว และการได้ยิน ทำให้เซลล์ดังกล่าวทำงานผิดปกติ  ถ้าเป็นในระยะยาวระดับการได้ยินจะแย่ลงเรื่อยๆ อาจถึงขั้นหูหนวกได้ อย่างไรก็ตามอาการเวียนศีรษะเป็นอาการที่รบกวนผู้ป่วยมากที่สุด ทำให้ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติต้องนอนพัก ในประเทศไทยจากข้อมูลทางระบาดวิทยาของโรคนี้ยังมีน้อย และมักเป็นในหูข้างเดียว แต่อาจเป็นทั้งสองหูได้ร้อยละ 30 รวมถึงอาการของโรคนี้มักจะเกิดขึ้นทันทีทันใด อาจมีอาการทุกวัน หรือนานๆ ครั้งก็ได้ ซึ่งอาจมีอาการปวดศีรษะ ปวดท้อง หรือท้องเสียร่วมด้วยก็ได้ เมื่อเป็นแล้วส่วนใหญ่ไม่สามารถรักษาหายขาด  ซึ่งหากขณะเดินก็ให้หยุดนั่งพัก ถ้าหากมีอาการขณะขับรถ ควรหยุดรถข้างทาง ถ้าเวียนศีรษะมาก เพราะอาจเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้

ในวันที่น้ำในหู "ไม่เท่ากัน"

ขอบคุณภาพ Mthai

คอลัมน์ Youngทัน อรรธจิตฐา วิทยาภรณ์

related