svasdssvasds

เสริมเต้าใหม่ ไม่ใช่เพื่อ"ใหญ่" แต่เพื่อผู้หญิง ที่ถูกตัดเต้า จาก"มะเร็ง"

เสริมเต้าใหม่ ไม่ใช่เพื่อ"ใหญ่"  แต่เพื่อผู้หญิง ที่ถูกตัดเต้า จาก"มะเร็ง"

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

เสริมเต้าใหม่ ไม่ใช่เพื่อ"ใหญ่"  แต่เพื่อผู้หญิง ที่ถูกตัดเต้า จาก"มะเร็ง"

 

สำหรับผู้ที่เป็นมะเร็งเต้านม ต้องเสียนมทุกราย จริงหรือไหม

นายแพทย์วิษณุ โล่ห์สิริวัฒน์ อาจารย์ประจำภาควิชาศัลยศาสตร์โรงพยาบาลศิริราช  ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย สมาศัลยแพทย์ตกแต่งแห่งประเทศไทย หรือคุณหมอบัวสุดหล่อ ตอบว่า "ไม่จริงครับ" เพราะมี 2 ทางเลือก ที่เป็นได้ คือ

1.ผ่าตัดแบบอนุรักษ์เต้านม ( Breast Conserving Surgery )

2.ผ่าตัดสร้างเต้านมใหม่ ( Breast Reconstruction or Oncoplastic Surgery )

คุณหมอบัว อธิบายว่า การผ่าตัดสร้างเต้านมใหม่ ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม สามารถทำให้ผู้ป่วย มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ( เช่น แต่งตัวง่ายขึ้น ไม่ต้องใส่ถุงซิลิโคนเทียมภายนอก ไม่ต้องเดินตัวเอียง หรือไหล่เอียงจากการเสียสมดุลไหล่หลัง และ เข้าสังคมได้อย่างมั่นใจ มีความเป็นผู้หญิง สมบูรณ์ขึ้น ) ซึ่งแพทย์สามารถทำได้ ในเคสมะเร็งเต้านม ต่อไปนี้

  • เคยถูกตัดเต้านมหลายปี ( Delayed Breast Reconstruction ) ก็ทำใหม่ได้
  • ทำพร้อมการตัดมะเร็ง ก็ได้ ( Immediated Breast Reconstruction)
  • ทำได้โดยใช้ถุงเต้านมเทียม ( Implant Base Reconstruction ) ชนิดเดียวกับที่ใช้เสริมสวย
  • ทำได้โดยใช้ เนื้อตนเอง ( Autologous Breast Reconstruction) เช่น เนื้อจากพุงหน้าท้อง หรือ แผ่นหลัง
  • ทำได้โดยการใช้ เนื้อเยื่อไขมัน ( Adipose tissue ) ดูดไขมัน จากท้อง สะโพก ต้นขา มาฉีดเติมแก้ไขได้
  • หลังการให้เคมี หลังการฉายแสง หรือ การให้ยาเคมี ก็สามารถ ทำเต้านมใหม่ ( Post Adjuvant )
  • เต้าอีกข้าง คล้อย หย่อน เล็กไป ไม่สมดุลกัน ก็ตกแต่ง เสริมเต้านม ยกกระชับ ลดขนาดเต้านมได้ ( Contralateral Breast : Augmentation, Breast lift, Reduction )
  • หลังการผ่าตัดเสริมสร้างเต้านม ผู้ป่วย ยังสามารถตรวจติดตาม เรื่องมะเร็งเต้านมได้ มีความปลอดภัย ไม่ได้ทำให้เกิด มะเร็งเป็นซ้ำแต่อย่างใด ( Oncological Safety )

ขอบคุณข้อมูล จาก นายแพทย์วิษณุ โล่ห์สิริวัฒน์ และเพจเพื่อสองเต้าที่เท่ากัน by Dr Bua

เสริมเต้าใหม่ ไม่ใช่เพื่อ"ใหญ่"  แต่เพื่อผู้หญิง ที่ถูกตัดเต้า จาก"มะเร็ง"

จากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติพบว่าผู้หญิงไทยป่วยเป็นโรคมะเร็งเต้านมปีละประมาณ 25,000 คน ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมในประเทศไทย ส่วนใหญ่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดแบบตัดเต้านมออกทั้งหมด ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดแบบสงวนเต้ามีเพียงส่วนน้อย แตกต่างกับในประเทศตะวันตก ที่ผู้ป่วยราวร้อยละ 60 เลือกผ่าตัดแบบสงวนเต้า สาเหตุเพราะผู้ป่วยบ้านเรา มีความกังวลเรื่องการกลับเป็นซ้ำ จึงมักเลือกที่จะตัดเต้าออกทั้งหมด  หรือเป็นผู้ป่วยที่เป็นโรคในระยะหนักในตอนแรกแล้ว ซึ่งอาจไม่เหมาะสมในการผ่าตัดแบบสงวนเต้า และปัญหาความไม่สะดวกในการฉายแสง เนื่องจากยังขาดแคลนในเรื่องอุปกรณ์ เครื่องมือ สถานที่  ต้องเดินทางไกล

การผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมมีสองขั้นตอน  ในขั้นแรกเป็นการสร้างเต้าขึ้นมาก่อน  จากนั้นจะเป็นขั้นที่สอง คือเป็นการสร้างในส่วนของหัวนมและลานนม การสร้างเต้านม สามารถใช้เต้านมเทียม (ซิลิโคน) ใส่ทดแทนเต้านมที่ถูกตัดออกไป หรือใช้เนื้อเยื่อของตนเองสร้างขึ้นมาก็ได้  โดยมีปัจจัยหลายๆ อย่างเป็นตัวกำหนดความเหมาะสม ได้แก่ ขนาดและรูปทรงของเต้านม ตำแหน่งและขนาดของก้อนมะเร็ง ปริมาณของเนื้อเยื่อบริเวณเต้านมและส่วนของร่างกายที่จะเอามาสร้าง  โรคประจำตัวที่มีอยู่ อายุของผู้ป่วย การรักษามะเร็งที่จะมีต่อในอนาคต ขณะเดียวกันสามารถพิจารณาผ่าตัดตกแต่งปรับรูปทรงในส่วนของเต้านมอีกข้าง เพื่อเป็นการปรับขนาดเต้านมสองข้างให้สมดุลกัน การผ่าตัดเสริมสร้างโดยใช้เต้านมเทียม (ซิลิโคน) การผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมสามารถได้ทันที หลังจาก ผ่าตัดเอาเต้านมออก เรียกว่าทำในขั้นตอนเดียวกันไปเลย

การวัดขนาดของเต้านม ความกว้าง ความสูง ความนูนของเต้านม เพื่อให้ได้รูปทรงที่เหมือนกับเต้านมที่ถูกผ่าตัดออกไป ให้ได้เต้านมที่เสริมสร้างมีรูปทรงและขนาดใกล้เคียงเต้านมเดิมที่สุด  เพราะฉะนั้นหากได้รับการเอาใจใส่และพิถีพิถันการเลือกขนาดเต้านมเทียม และทำการผ่าตัดที่ดี ผลของการผ่าตัดก็ย่อมออกมาดี เต้านมที่เสริมสร้างขึ้นมาใหม่ก็จะดูงดงามเป็นที่พึงพอใจ ยังคงความเป็นผู้หญิง เพิ่มความมั่นใจในบุคลิก  ทั้งหมดนี้ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้นมากกว่าเดิมได้ค่ะ

เสริมเต้าใหม่ ไม่ใช่เพื่อ"ใหญ่"  แต่เพื่อผู้หญิง ที่ถูกตัดเต้า จาก"มะเร็ง"

ขอบคุณภาพ จาก MaeRakLuke.com 

ขอบคุณภาพ จาก fotothing.com

 

คอลัมน์ Youngทัน By อรรธจิตฐา วิทยาภรณ์

related