svasdssvasds

เตือน "ข่าวปลอม" รัฐฯ ทบทวนสิทธิ์โอนเงินเข้าบัญชี 5,000 บาท อย่าแชร์ต่อ

เตือน "ข่าวปลอม" รัฐฯ ทบทวนสิทธิ์โอนเงินเข้าบัญชี 5,000 บาท อย่าแชร์ต่อ

โฆษกรัฐบาล เตือน อย่าหลงเชื่อข่าวปลอม รัฐฯ ทบทวนสิทธิ์โอนเงินเข้าบัญชี 5,000 บาท ภายในเดือนมิ.ย.นี้ วอนอย่าแชร์ต่อ ป้องกันความสับสนและเข้าใจผิด

นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงกรณีที่มีการแชร์และส่งต่อข้อมูล “รัฐฯ ทบทวนสิทธิโอนเงินเข้าบัญชี จำนวน 5,000 บาท ภายในเดือนมิถุนายนนี้” ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ว่า ข้อมูลดังกล่าวไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด โดยศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมประเทศไทย (Anti-Fake News Center Thailand : AFNC) ได้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว โดยกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ได้ออกมาชี้แจงข้อมูลพร้อมยืนยันว่า “เป็นข้อมูลเท็จ” กระทรวงการคลังไม่มีนโยบายโอนเงิน หรือแจกเงิน 5,000 บาทเข้าบัญชีในเดือนมิถุนายนนี้แต่อย่างใด เป็นข่าวปลอมจากผู้ไม่หวังดี ดังนั้น ขอประชาชนอย่าได้หลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว โดยประชาชนสามารถตรวจสอบและรับข้อมูลข่าวสารจากกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ได้ที่เว็บไซต์ www.cgd.go.th หรือโทร 02 127 7000 หรือผ่านทางแฟนเพจ กรมบัญชีกลาง The Comptroller General’s Department

เตือน "ข่าวปลอม" รัฐฯ ทบทวนสิทธิ์โอนเงินเข้าบัญชี 5,000 บาท อย่าแชร์ต่อ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

ขอความร่วมมือประชาชนอย่าได้ส่งต่อหรือแชร์ข้อมูลอันเป็นเท็จดังกล่าวในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ อีก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความสับสนและความเข้าใจผิดขยายไปในวงกว้างเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ เมื่อประชาชนได้รับทราบข้อมูลข่าวสารใด ๆ มา หากมีความสงสัยหรือไม่แน่ใจในข้อมูลเหล่านั้น ขอให้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงและความถูกต้องจากหน่วยงานเจ้าของเรื่องหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนเผยแพร่ หรือแชร์ข้อมูลออกไปให้บุคคลอื่น เพราะหากแชร์ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องนอกจากจะก่อให้เกิดความสับสน และอาจนำไปสู่การหลอกลวงสร้างความเสียหายแก่ประชาชนได้แล้ว ยังผิดกฎหมายด้วย

“กระทรวงยุติธรรมระบุกรณีพฤติกรรมการกด Like และกด Share ของผู้ที่เล่นโซเชียลมีเดียหรือใช้สื่อสังคมออนไลน์ควรรอบคอบ โดยเฉพาะการกดแชร์ ถือเป็นการเผยแพร่ หากการแชร์ข้อมูลนั้นไปกระทบกับบุคคลอื่น อาจเข้าข่ายกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 14 (1) โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอม ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน อันมิใช่การกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” นายอนุชาฯ กล่าว

related