svasdssvasds

ติด "ฉลาก" เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คน 87% ไม่เอาด้วย จากผลสำรวจ 1 พันราย

ติด "ฉลาก" เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คน 87% ไม่เอาด้วย จากผลสำรวจ 1 พันราย

กรมควบคุมโรค เผยประชาชน ร้อยละ 87 ไม่เห็นด้วย ฉลากตามหลักเกณฑ์ใหม่เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ ฉลาก และข้อความคำเตือนของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

SHORT CUT

  • ใกล้จะถึงกำหนดปิดการรับฟังความเห็นแล้ว สำหรับ ร่างประกาศคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • การเปิดรับฟังครั้งนี้เป็นเพียงขั้นตอนการเริ่มต้นเท่านั้น โดยเกิดจากมีผู้เสนอความเห็นทางวิชาการให้มีการกำหนดข้อความคำเตือนเช่นเดียวกับที่ติดบนซองบุหรี่
  • กรมควบคุมโรค เผยประชาชน 87% ไม่เห็นด้วย ฉลากตามหลักเกณฑ์ใหม่เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ ฉลาก และข้อความคำเตือนของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

กรมควบคุมโรค เผยประชาชน ร้อยละ 87 ไม่เห็นด้วย ฉลากตามหลักเกณฑ์ใหม่เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ ฉลาก และข้อความคำเตือนของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ใกล้จะถึงกำหนดปิดการรับฟังความเห็นแล้ว สำหรับ ร่างประกาศคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ ฉลาก พร้อมทั้งข้อความคำเตือน สำหรับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ผลิตหรือนำเข้า พ.ศ. …. ที่คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และกรมควบคุมโรค เปิดรับฟังความเห็นผ่านเว็บไซต์ระบบกลางทางกฎหมาย ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ตั้งแต่ 12-29 กุมภาพันธ์ 2567

หากร่างประกาศนี้จะได้รับความเห็นชอบและผ่านฉลุย เมื่อเข้าไปพิจารณาในรายละเอียดจะพบว่า ประเด็นสำคัญของร่างประกาศฉบับนี้ได้กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ ฉลาก และข้อความคำเตือนของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ผลิตหรือนำเข้า ดังนี้

  1. กำหนดให้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นภาชนะบรรจุต้องมีปริมาณบรรจุสุทธิไม่น้อยกว่า 175 มิลลิลิตร
  2. กำหนดให้บรรจุภัณฑ์และฉลากของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จะต้องไม่ใช้ข้อความตามที่กฎหมายกำหนด
  3. กำหนดให้มีข้อความคำเตือนบนภาชนะบรรจุของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  4. กำหนดให้มีข้อความคำเตือนถึงโทษและพิษภัยของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บนภาชนะบรรจุและหีบห่อบรรจุของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งให้จัดทำเป็นรูปภาพ 4 สี 9 แบบ สับเปลี่ยนกันไปตามลำดับในอัตรา 1 แบบ ต่อ 1,000 ภาชนะบรรจุและหีบห่อบรรจุ
  5. กำหนดขนาดของข้อความคำเตือนถึงโทษและพิษภัยของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น

โดยให้ประกาศมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นร่างประกาศฉบับนี้มีความคล้ายคลึงกับประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 18 พ.ศ. 2558 เรื่อง การแสดงข้อความเกี่ยวกับพิษภัยและอันตรายจากการบริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบในฉลากของบุหรี่ซิกาแรต ที่ออกมาทดแทนประกาศฉบับเดิมที่ใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2554 ที่ประกาศลงราชกิจจานุเษกษาเมื่อวันที่ 2 เมษายนที่ผ่านมา และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2558

ด้าน นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า จากประเด็นข้อมูลในการออกประกาศเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ ฉลาก พร้อมทั้งข้อความคำเตือนสำหรับติดบนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด ทุกประเภท ทำให้หลายฝ่ายกังวลใจ กรมควบคุมโรคขอชี้แจงว่า การดำเนินการยกร่างประกาศคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ ฉลาก พร้อมทั้งข้อความคำเตือนสำหรับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ผลิตหรือนำเข้า พ.ศ. …. นั้น เป็นเพียงขั้นตอนการเริ่มต้นเท่านั้น โดยเกิดจากมีผู้เสนอความเห็นทางวิชาการให้มีการกำหนดข้อความคำเตือนเช่นเดียวกับที่ติดบนซองบุหรี่ ซิกาแรต

นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมควบคุมโรค

การจัดทำร่างประกาศที่มีผู้ได้รับผลกระทบ จำเป็นต้องเปิดรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด ซึ่งผลการรับฟังข้อมูลเบื้องต้นล่าสุด มีผู้เข้ามาแสดงความคิดเห็น จำนวน 1,040 ราย (28 ก.พ. 67) พบว่า ร้อยละ 87 ไม่เห็นด้วยกับร่างประกาศคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ ฉลาก พร้อมทั้งข้อความคำเตือนสำหรับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ผลิตหรือนำเข้า พ.ศ. …. โดยการรับฟังความคิดเห็นจะสิ้นสุดลงในวันที่ 29 ก.พ. 2567 นี้ และจะนำมาสรุปเพื่อนำเสนอต่อคณะอนุกรรมการร่างและแก้ไขปรับปรุงกฎหมายฯ เพื่อพิจารณาประกอบการปรับปรุงแก้ไขร่างประกาศอีกครั้ง ก่อนดำเนินการส่งให้คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์พิจารณาต่อไป

คณะอนุกรรมการร่างและแก้ไขปรับปรุงกฎหมายฯ ใส่ใจและรับฟังข้อมูล รอบด้าน การมีผู้เสนอพัฒนามาตรการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เข้ามา โดยอาจเห็นผลสำเร็จจากการติดฉลากเตือนบนผลิตภัณฑ์ยาสูบ ทั้งที่ยังไม่มีการกระทำมาก่อน แต่ก็ไม่ได้ละเลยข้อเสนอของทุกกลุ่ม จึงเสนอมาตรการเข้ามา

คณะอนุกรรมการร่างและแก้ไขปรับปรุงกฎหมายฯ มีหน้าที่ดำเนินการขับเคลื่อน โดยการขับเคลื่อนต้องคำนึงถึงผลกระทบในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม วัฒนธรรม การท่องเที่ยว หาสมดุลที่เหมาะสมในการดำเนินการ จึงส่งให้สังคมรับรู้และรับฟังความคิดเห็นจากผู้ได้รับผลกระทบตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้ประเทศเดินหน้าได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

หากประชาชนมีความกังวลใจ สามารถติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ เว็บไซต์ www.ddc.moph.go.th หรือหากพบการกระทำผิดกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สามารถร้องเรียนผ่านระบบสารสนเทศเพื่อเฝ้าระวัง การละเมิดกฎหมายควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (TAS) โดยสามารถเข้าใช้งานผ่านเว็บไซต์ https://tas.go.th และขอความร่วมมือจากประชาชนปฏิบัติตามกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างเคร่งครัด หากมีข้อสงสัยสามารถโทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนบุหรี่และสุรา โทร.0 2590 3342 หรือสายด่วนกรมควบคุมโรค 1422

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

related