svasdssvasds

"เห็ดขี้ควาย" 5 จุดสังเกตต้องระวัง ยาเสพติดให้โทษ เผลอกินอันตรายถึงชีวิต

"เห็ดขี้ควาย" 5 จุดสังเกตต้องระวัง ยาเสพติดให้โทษ เผลอกินอันตรายถึงชีวิต

กรมควบคุมวัตถุเสพติด เผย เห็ดขี้ควายมีสารอันตรายมีฤทธิ์ต่อระบบประสาทอย่างรุนแรง เกิดอาการคลื่นไส้ ประสาทหลอน แนะ 5 จุดสังเกตลักษณะเด่นของ "เห็ดขี้ควาย" ย้ำ อย่าเผลอรับประทานอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

SHORT CUT

  • กระแสการลักลอบจำหน่ายเห็ดขี้ควาย หรือเห็ดเมา ถือเป็นความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษประเภท 5 ไว้ในครอบครอง
  • อันตรายที่จากสารที่อยู่ภายในเห็ดขี้ควายมีอยู่ 2 ชนิด คือ psilocybine หรือ psilocine มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทอย่างรุนแรง
  • เห็ดขี้ควาย ขึ้นอยู่ทั่วไปในแทบทุกภาคของประเทศไทย เห็ดชนิดนี้ชอบขึ้นเป็นดอกเดี่ยวกลุ่มละ 4-5 ดอก บนพื้นดินที่มีมูลสัตว์พวกมูลวัว มูลควายแห้ง

กรมควบคุมวัตถุเสพติด เผย เห็ดขี้ควายมีสารอันตรายมีฤทธิ์ต่อระบบประสาทอย่างรุนแรง เกิดอาการคลื่นไส้ ประสาทหลอน แนะ 5 จุดสังเกตลักษณะเด่นของ "เห็ดขี้ควาย" ย้ำ อย่าเผลอรับประทานอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

จากกรณีที่มีกระแสการลักลอบจำหน่ายเห็ดขี้ควาย หรือเห็ดเมา ในบางกลุ่มนิยมนำมากินเพื่อให้เกิดอาการมึนเมาขณะที่เชื่อว่า บางคนอาจไม่ทราบ นึกว่าเป็น เห็ดธรรมดาทั่วไปที่สามารถรับประทานได้

โดยล่าสุดสืบนครบาล จับกุมหนุ่มสถาปัตย์ อายุ 24 ปี ลักลอบผลิตเห็ดขี้ควาย หรือเห็ดเมา โพสต์จำหน่ายทางออนไลน์ให้แก่ประชาชนทั่วไป โดยผู้ต้องหาได้กระทำความผิดฐาน มียาเสพติดให้โทษประเภท 5 (เห็ดขี้ควาย) ไว้ในครอบครอง โดยผิดกฎหมาย และผลิต-จำหน่ายเสพติดให้โทษประเภท 5 (เห็ดขี้ควาย) โดยผิดกฎหมาย 

 ลักลอบผลิตเห็ดขี้ควาย ผิดกฎหมาย และผลิต-จำหน่ายเสพติดให้โทษประเภท 5

"เห็ดขี้ควาย" คืออะไร

เห็ดขี้ควาย (psilocybe mushroom) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Psilocybe cubensis Sing วงศ์ Strophariaceae สารเคมีที่สำคัญในเห็ดขี้ควาย มี 2 ชนิด คือ

  • psilocybine
  • psilocine  

ซี่งเมื่อ psilocybine  เข้าร่างกายจะถูกเปลี่ยนเป็น psilocine ทั้ง psilocybine และ psilocine ไม่มีประโยชน์ทางการแพทย์

แม้ชื่อจะเป็นเห็ดที่ดูแล้วไม่น่ามีพิษภัย แต่อันตรายที่แท้จริงสารที่อยู่ภายในเห็ดขี้ควาย นี้ที่มีอยู่ 2 ชนิด คือ psilocybine หรือ psilocine มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทอย่างรุนแรง ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ประสาทหลอน เห็นภาพลวงตา "อันตรายถึงตาย" บรรดาสายปาร์ตี้ทั้งหลายชื่นชอบเป็นพิเศษโดยการนำไปปรุงกับเครื่องดื่มหรือทำเป็นอาหาร

5 จุดสังเกต ลักษณะของเห็ดขี้ควาย  

  1. ลักษณะหมวกเป็นรูปกระทะคว่ำแล้วแบนลง เส้นผ่านศูนย์กลาง 6.5-8.8 เซนติเมตร 
  2. ผิวสีฟางข้าวอมเหลือง กลางหมวกมีสีน้ำตาลอมเหลือง มีเกล็ดเล็ก ๆ กระจายออกไปยังขอบหมวก 
  3. ขอบมีริ้วสั้น ๆ โดยรอบ ครีบสีน้ำตาลดำ ส่วนกลางกว้างกว่า ปลายทั้งสองข้าง ไม่ยึดติดกับก้าน 
  4. ก้านยาว 4.5-8 เซนติเมตรความสูงของลำต้นประมาณ 5.5-8 ซม.โคนใหญ่กว่าเล็กน้อย
  5. สปอร์ รูปรี สีน้ำตาลดำ ผนังหนา ผิวเรียบ ด้านบนมีปลายตัดเป็นรูเล็กๆ   

บริเวณที่พบเห็ดขี้ควายในประเทศไทย

เห็ดขี้ควาย ขึ้นอยู่ทั่วไปในแทบทุกภาคของประเทศไทย เห็ดชนิดนี้ชอบขึ้นเป็นดอกเดี่ยวกลุ่มละ 4-5 ดอก บนพื้นดินที่มีมูลสัตว์พวกมูลวัว มูลควายแห้ง

ลักษณะการเสพ "เห็ดขี้ควาย"

  • การเสพ มีผู้นำไปเสพทั้งรูปแบบสดและแห้ง 
  • นำมาปรุงเป็นเมนูอาหารหรือเครื่องดื่ม เช่น ไข่เจียวเห็ด และเห็ดปั่นผสมเหล้า หรือคอกเทล 
  • คนทั่วไปมักทราบ และรู้ว่าเห็ดนี้ เป็นเห็ดพิษ รับประทานแล้วจะมึนเมา จึงไม่มีการนำมารับประทาน

อาการผู้เสพ อาการเมื่อสารจากเห็ดขี้ควายเข้าสู่ร่างกาย

  • เมื่อบริโภคเข้าไปจะทำให้มีอาการเมา เคลิบเคลิ้มและบ้าคลั่ง เนื่องจากสาร psilocybine และ psilocine มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทอย่างรุนแรง 
  • เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ประสาทหลอน เห็นภาพแสงสีต่างๆ ลวงตา คลื่นไส้ อาเจียน หายใจติดขัดและอาจเสียชีวิตได้
  • รู้สึกมีเข็มมาทิ่มแทงตามตัว ได้ยินเสียงฟ้าร้อง ฟ้าผ่า สับสน ไม่สามารถลำดับทิศทางได้ 
  • มีความคิดและอารมณ์เปลี่ยนแปลง มีอาการคล้ายผู้ที่เสพ LSD 
  • ผู้ที่ใช้มานานๆ จะเพลินต่อความรู้สึกต่างๆ ร่างกายจะเกิดการต้านยา ต้องเพิ่มขนาดการเสพขึ้นเรื่อยๆ

บทลงโทษยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด

  • ผู้ใดผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5
  • หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 500,00 บาท
  • ทั้งนี้ตามมาตรา 93 ประกอบมาตรา 148 แห่งประมวลกฎหมายยาเสพติด
  • ผู้ใดเสพยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ทั้งนี้ตามมาตรา 104 ประกอบมาตรา 162 แห่งประมวลกฎหมายยาเสพติด

ที่มา : กองควบคุมวัตถุเสพติด , สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข , สืบนครบาล

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

related