svasdssvasds

รู้จักความรุนแรง 4 ประเภทในความสัมพันธ์คู่รัก เจอแบบนี้ หนีได้หนี

รู้จักความรุนแรง 4 ประเภทในความสัมพันธ์คู่รัก เจอแบบนี้ หนีได้หนี

ความรุนแรงในความสัมพันธ์มี 4 ประเภท ได้แก่ ร่างกาย จิตใจ เพศ และพฤติกรรมควบคุม มักเกิดซ้ำและถูกมองว่า “ไม่ได้ตั้งใจ” ผู้หญิงเป็นเหยื่อหลัก สะท้อนทัศนคติที่ลดคุณค่าความเป็นมนุษย์

“ความไม่เข้าใจกัน” ถือเป็นเรื่องปกติในความสัมพันธ์ แต่เมื่อไม่เข้าใจแล้วทางออกคือปรับความเข้าใจเพื่อให้เห็นทางไปข้างหน้าร่วมกัน มิใช่พูดจาทำร้ายจิตใจ หรือลงไม้ลงมือ ซึ่งอย่างหลังมักถูกอ้างเหตุผลว่า “ไม่ได้ตั้งใจ”

รู้จักความรุนแรง 4 ประเภทในความสัมพันธ์คู่รัก เจอแบบนี้ หนีได้หนี

งานวิจัยเกี่ยวกับบทบาทผู้หญิงในเมืองไทยที่ศึกษาความรุนแรงในคู่รัก เสนอว่า ความรุนแรงที่เกิดขึ้นมีลักษณะการเกิดซ้ำ กล่าวคือ เมื่อคนใดคนหนึ่งถูกแฟนหรือคู่ครองทำร้ายร่างกายครั้งแรก จะไม่ยอมเดินออกมาจากความสัมพันธ์ในทันที

แต่จะหาเหตุผลว่า “กำปั้น” เมื่อกี้ เกิดจากความไม่ตั้งใจ หรืออีกนัยหนึ่ง อีกฝ่ายอาจพูดจาหว่านล้อมให้ฝ่ายถูกกระทำรู้สึกว่าสิ่งที่ทำนั้นผิด ไม่ได้อยู่ในข้อตกลง จนคนที่ถูกกระทำกล่าวโทษตนเอง และพยายามลืมมันไป

นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นของความรุนแรงในความสัมพันธ์แบบคู่รัก (Intimate Partner Violence) โดยจะเกิดเฉพาะกับผู้ที่มีความสัมพันธ์แบบโรแมนติก ไม่ว่าจะคนคุย คนคบหาดูใจ แฟน แต่งงานแล้ว หรือแม้แต่ความสัมพันธ์ที่ยุติไปแล้ว

จากอดีตถึงปัจจุบัน การศึกษาและสถิติบ่งชี้ชัดเจนว่า ส่วนใหญ่คนที่ถูกทำร้ายร่างกายคือ ผู้หญิง องค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งเก็บข้อมูลในหลายประเทศ รวมถึงไทย เพศหญิง 13-61% มีโอกาสถูกทำร้ายร่างกาย และ 6-59% ประสบกับความรุนแรงทางเพศ

รู้จักความรุนแรง 4 ประเภทในความสัมพันธ์คู่รัก เจอแบบนี้ หนีได้หนี

จริง ๆ แล้ว ความรุนแรงในความสัมพันธ์แบบคู่รัก ไม่ได้มีแค่การทำร้ายร่างกาย หรือความรุนแรงทางเพศเท่านั้น ยังมีความรุนแรงทางจิตใจ และพฤติกรรมควบคุมในความสัมพันธ์ด้วย ซึ่งไม่ว่าแบบไหนก็ไม่ควรทนทั้งนั้น มีดังนี้

ความรุนแรง 4 ประเภท มีอะไรบ้าง?

1. ความรุนแรงทางร่างกาย (Physical Abuse/Violence)
ได้แก่ การใช้กำลังทางร่างกายเพื่อทำร้ายผู้อื่น เช่น การตบ ตี เตะ ข่วน ขว้างปาสิ่งของใส่ กัด ผลัก จุดไฟเผา หรือข่มขู่ด้วยอาวุธ

 

2. ความรุนแรงทางจิตใจ (Psychological/Emotional Abuse/Violence)
ได้แก่ พฤติกรรมที่สร้างความเจ็บปวดทางอารมณ์หรือจิตใจ เช่น การดุด่า ดูหมิ่น ข่มขู่ คุกคาม ล่อลวง ลดคุณค่า ถ่มน้ำลาย หรือแสดงท่าทางรุนแรง เช่น เงื้อมือเพื่อข่มขู่

 

3. ความรุนแรงทางเพศ (Sexual Abuse/Violence)

ได้แก่ การบังคับหรือใช้อำนาจให้มีเพศสัมพันธ์หรือกิจกรรมทางเพศโดยที่อีกฝ่ายไม่ยินยอม การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้การป้องกันทั้งที่อีกฝ่ายไม่ยินยอม หรือการกระทำที่ทำให้เหยื่อรู้สึกถูกลิดรอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ รวมถึงการสะกดรอยหรือติดตามในเชิงคุกคาม

 

4. พฤติกรรมควบคุมในความสัมพันธ์ (Controlling Behavior in Relationship)
ได้แก่ การพยายามควบคุมการใช้ชีวิตของอีกฝ่าย เช่น จำกัดการพบปะผู้คน ควบคุมการเข้าถึงข้อมูล บังคับให้ทำในสิ่งที่อีกฝ่ายไม่ยินยอม หรือแทรกแซงการตัดสินใจส่วนตัวในชีวิตประจำวัน

ทั้งนี้ การศึกษาความรุนแรงในเพศหญิงถือว่าแพร่หลายที่สุด แม้ปัจจุบัน ความหลากหลายของคู่รักจะมีมากขึ้น และเปิดกว้างมากขึ้น และเรายังเห็นข่าวผู้หญิงถูกทำร้ายร่างกายอยู่ร่ำไป ส่วนหนึ่งอาจเป็นผลของวิธีการมองผู้หญิงเป็นวัตถุในครอบครอง

ผนวกกับภาวะหลงตนเอง (Narcissistic) ที่รู้สึกว่าตัวเองเหนือกว่าในความสัมพันธ์ เชื่อมั่นในตัวเองสูง ยึดถือความเชื่อของตนเองแบบเบ็ดเสร็จ ไม่ยอมรับในความสามารถของคู่รัก และถ้าอีกฝ่ายทำอะไรผิดหูผิดตา ก็อาจเกิดเหตุการณ์พลั้งพลาดแบบที่เล่ามาในวันนี้

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

related