svasdssvasds

รถไฟฟ้า 20 บาท เช็กเงื่อนไขใครใช้ได้บ้าง ไม่ได้ทุกคน วิธีลงทะเบียน

รถไฟฟ้า 20 บาท เช็กเงื่อนไขใครใช้ได้บ้าง ไม่ได้ทุกคน วิธีลงทะเบียน

เปิดเงื่อนไข "รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย" ไม่ใช่ทุกคนจะใช้ได้ เช็กรายละเอียด ขั้นตอนการลงทะเบียนที่ต้องรู้ก่อนใช้งานจริง

SHORT CUT

  • สิทธิ์นี้สำหรับคนไทยที่มีบัตรประชาชน 13 หลักเท่านั้น โดยนักท่องเที่ยวต่างชาติไม่สามารถใช้ได้
  • ต้องลงทะเบียนยืนยันตัวตนและผูกบัตรโดยสาร (เช่น Rabbit, MRT Plus) ผ่านแอปพลิเคชัน "ทางรัฐ" ซึ่งจะเปิดให้ลงทะเบียนในเดือนสิงหาคม 2568
  • นโยบายจะครอบคลุมรถไฟฟ้า 8 สายในกรุงเทพฯ และปริมณฑลเต็มรูปแบบภายในวันที่ 1 ตุลาคม 2568 (ปัจจุบันนำร่องแล้วในสายสีม่วงและสีแดง)
  • ผู้ที่ไม่ได้ลงทะเบียนผ่านแอป "ทางรัฐ" หรือไม่มีบัตรโดยสารที่รองรับ จะต้องชำระค่าโดยสารในอัตราปกติ

เปิดเงื่อนไข "รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย" ไม่ใช่ทุกคนจะใช้ได้ เช็กรายละเอียด ขั้นตอนการลงทะเบียนที่ต้องรู้ก่อนใช้งานจริง

หลังจากที่กระทรวงคมนาคมได้เร่งดำเนินการนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย เพื่อช่วยลดค่าครองชีพของประชาชน และส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะอย่างเต็มรูปแบบ 

ความคืบหน้าล่าสุดนโยบายใกล้เสร็จสมบูรณ์แล้ว โดยปัจจุบันนี้สายสีม่วง และสีแดงเริ่มใช้สิทธิ์ 20 บาท ส่วนสายอื่นจะใช้ได้ตั้งแต่วันที่ 30 ก.ย. 68 หรือตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ประเด็นสำคัญที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากก็คือ เงื่อนไขในการรับสิทธิ์ต้องทำอย่างไร 

ล่าสุดนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คมนาคม เปิดเผยถึงมาตรการอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ว่า ภายในวันที่ 1 ต.ค. 2568 ประชาชนจะได้ใช้มาตรการนี้อย่างแน่นอน โดยจะครอบคลุมโครงข่ายเส้นทางรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวน 8 สาย รวม 13 เส้นทาง ระยะทางรวม 276.84 กิโลเมตร ทั้งสิ้น 194 สถานี

ข้อควรรู้ก่อนการใช้ "รถไฟฟ้า 20 บาท" ตลอดสาย

  • ต้องเป็นคนไทย มีบัตรประชาชน 13 หลักถึงจะลงทะเบียนได้
  • เปิดลงทะเบียนในเดือนสิงหาคม 2568 ผ่านแอป "ทางรัฐ" 
  • ต้องลงทะเบียนทั้งตัวบุคคล และบัตรโดยสาร ที่ใช้ (Rabbit, MRT Plus, EMV, ARL) ผ่านแอป “ทางรัฐ” 
  • บัตรที่ลงทะเบียนแล้ว จะได้สิทธิ์โดยอัตโนมัติ เมื่อใช้งานหลังจากเริ่มโครงการ 
  • รถไฟฟ้าทั้งหมด 8 สาย คือ สายสีเขียว สีทอง สีเหลือง สีชมพู สีน้ำเงิน สายสีม่วง สายสีแดง สีแดงออ่อน (แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ (ARL) 
  • เริ่มใช้สิทธิ์วันที่ 30 กันยายน 2568 ครอบคลุม 8 สายทั่วกรุงเทพฯ-ปริมณฑล
  • ปัจจุบันสายสีม่วง และสีแดงเริ่มใช้สิทธิ์ 20 บาทแล้ว ส่วนสายอื่นจะตามมาในวันที่ 30 ก.ย. 
  • Rabbit Card ใช้ได้กับสายสีเขียว, สีทอง, เหลือง, ชมพู 
  • MRT Plus ใช้กับสายน้ำเงินและสายสีม่วง
  • บัตร EMV Contactless (Visa/Mastercard) ใช้กับ 6 สาย คือ สายสีแดง, น้ำเงิน, ม่วง, ชมพู, เหลือง, (ไม่รวมสีทองและสีเขียว) 
  • บัตร ARL ใช้เฉพาะ ARL เท่านั้น 
  • ปีแรก ต้องใช้บัตรแยกตามระบบ เพราะยังไม่เชื่อมระบบเต็มรูปแบบ
  • หากยังไม่มีบัตรใดที่รองรับ จะต้องชำระอัตราปกติ 
  • แอป “ทางรัฐ” โหลดได้ทั้ง iOS และ Android
  • ในปี 2569 คาดว่าจะมีการเปิดระบบสแกน QR Code ในมือถือแทนการใช้บัตร เพื่อเพิ่มความสะดวก
  • ถ้าลงทะเบียนแล้ว แต่ไม่ผูกบัตร ระบบจะไม่รู้ว่าใช้สิทธิ์ ไม่สามารถเดินทางตลอดสาย 20 บาท
  • ค่าโดยสาร ราคาสูงสุดไม่เกิน 20 บาท/เที่ยว ไม่ว่าจะข้ามสายหรือไม่ข้าม ก็ 20 บาท
  • ลงทะเบียนหลัง ก.ย. ก็ยังใช้สิทธิ์ได้ แต่ควรรีบลงไปก่อน
  • ผู้ใดที่ไม่ได้ลงทะเบียนผ่านแอปทางรัฐ หรือไม่มีบัตรที่รองรับ จะต้องจ่ายตามอัตราปกติ 
  • ไม่จำกัดจำนวนสิทธ์ที่ลงทะเบียน
  • นักท่องเที่ยวต่างชาติไม่สามารถใช้สิทธิ์นี้ได้ ใช้ได้เฉพาะคนไทยเท่านั้น
  • รัฐใช้เงินสนับสนุนประมาณ 8,000 ล้านบาท/ปี โดยใช้เงินรายได้สะสมของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)
  • เตรียมบัตรประชาชน, บัตรโดยสาร และดาวน์โหลดแอปทางรัฐให้พร้อม

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

related