svasdssvasds

ชนะเลือกตั้ง แต่ไม่ได้เป็นนายกฯ พิธา ก้าวไกล ไม่ใช่คนแรกที่เกิดขึ้นในไทย

ชนะเลือกตั้ง แต่ไม่ได้เป็นนายกฯ  พิธา ก้าวไกล ไม่ใช่คนแรกที่เกิดขึ้นในไทย

SPRiNG ชวนย้อนอดีต ไปรำลึกถึงเหตุการณ์ ที่ ประเทศไทย ต้องเจอกับเหตุการณ์ ชนะเลือกตั้ง แต่ พรรคการเมืองที่ได้ เสียง ส.ส. สูงสุด ไม่ได้เป็นนายกฯ

ในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทย นับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง ปี 2475 เป็นต้นมา ซึ่งมีการเลือกตั้งทั่วไปหลายต่อหลายครั้ง นับรวมตอนนี้ก็ถือว่า ประเทศไทยมีเลือกตั้งทั่วไปแล้ว 27 ครั้ง , อย่างไรก็ตาม  การชนะเลือกตั้งของพรรคการเมือง แล้วไม่ได้ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี ไม่ใช่เรื่องใหม่  เพราะเคยเกิดขึ้นมาแล้วในฉากทัศน์การเมืองไทยในอดีตมาแล้ว 

และในการเกิดเหตุการณ์ ชนะเลือกตั้ง แต่ไม่ได้เป็นนายกฯ นั้น มี แบ็กกรานด์ เรื่องราว ที่แตกต่างกันไป 

SPRiNG ชวนย้อนอดีต ไปรำลึกถึงเหตุการณ์ ที่ ประเทศไทย ต้องเจอกับเหตุการณ์  ชนะเลือกตั้ง แต่ พรรคการเมืองที่ได้ เสียง ส.ส. สูงสุด ไม่ได้เป็นนายกฯ 

• เลือกตั้งปี 2500 

การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 8 ของประเทศไทย นาย สุกิจ นิมมานเหมินท์ ในฐานะหัวหน้าพรรคสหภูมิ นำพรรคสหภูมิชนะการเลือกตั้ง ได้จำนวน ส.ส. 44 ที่นั่ง จาก 160 ที่นั่ง (คิดเป็น 70.4%)  

ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์  ภายใต้การนำของ ควง อภัยวงศ์  ได้รับเลือกมาเป็นลำดับที่สอง ได้จำนวน 39 ที่นั่ง 

ขณะนั้นจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ หัวหน้าพรรคชาติสังคม กังวลว่า “พรรคสหภูมิ” ที่ตัวเองให้การซับพอร์ทจะไม่มีเสถียรภาพความมั่นคงมาก จึงตัดสินใจยุบพรรคสหภูมิและพรรคเสรีมนังคศิลาพร้อมกับดึง ส.ส. ไม่สังกัดพรรคเข้ามาอยู่ในพรรคชาติสังคม จากนั้นการจัดตั้งรัฐบาลตอนนั้น จอมพล สฤษดิ์ ได้แนะนำให้ “พลโท ถนอม กิตติขจร” รองหัวหน้าพรรคชาติสังคม ร่วมกับพรรคการเมืองอื่น ๆ จัดตั้งรัฐบาลขึ้นมา โดย พลโท ถนอม กิตติขจร ดำรงตำแหน่ง “นายกรัฐมนตรี” 
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• เลือกตั้ง ปี 2518 

 การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 10 ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นำพรรคประชาธิปัตย์ ชนะการเลือกตั้ง ได้จำนวน ส.ส. 72  ที่นั่ง จากนั้นพรรคประชาธิปัตย์ เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล แต่ได้คะแนนเสียงสนับสนุนเพียง103 คน ไม่ถึงครึ่งของสภา ที่ต้องมี 135 คน

และซ้ำร้ายไปกว่านั้น ในช่วง การแถลงนโยบายของ ครม. ได้รับเสียงสนับสนุนเพียง 111 เสียง ถือว่าไม่ได้รับความไว้วางใจจาก สภาผู้แทนผู้แทนราษฎร 

ม.ร.ว.เสนีย์ และพรรคประชาธิปัตย์ จึงแสดงความรับผิดชอบ โดยการลาออก และสละสิทธิ์การตั้งรัฐบาล จากนั้น “ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช” หัวหน้าพรรคกิจสังคม มี ส.ส.ในสภาเพียง 18 เสียง สามารถรวบรวม ส.ส.พรรคต่าง ๆ รวม 8 พรรค ได้ 135 เสียง เท่ากับครึ่งหนึ่งพอดี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช จึงได้ดำรงตำแหน่ง “นายกรัฐมนตรี” 

 

• เลือกตั้ง ปี 2522

ปี 2522 หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ในฐานะหัวหน้าพรรคกิจสังคม นำพรรคกิจสังคม ชนะการเลือกตั้ง (การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 12 ) ได้จำนวน ส.ส. 88 ที่นั่ง ตอนนั้นไม่มีพรรคการเมืองใดได้เสียงเกินครึ่งในสภา ทุกพรรคจึงมีมติสนับสนุนให้ “พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์” ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสืบต่อ สมัยที่ 2 

หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช


• เลือกตั้ง ปี 2526 

ในการเลือกตั้ง ทั่วไปครั้งที่ 13 , ประมาณ อดิเรกสาร ในฐานะหัวหน้าพรรคชาติไทย จากสระบุรี  นำพรรคชาติไทย ชนะการเลือกตั้ง ได้จำนวน ส.ส. 110 ที่นั่ง ซึ่งผลการเลือกตั้งไม่มีพรรคใดได้เสียงเกินครึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎร ที่มีทั้งหมด 324 เสียง ซึ่งผลการจัดตั้งรัฐบาล ปรากฏว่า พรรคกิจสังคม, พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคประชากรไทย ตกลงกันที่จะสนับสนุน “พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์” เป็นนายกรัฐมนตรีต่อ ขณะที่พรรคชาติไทยเป็นฝ่ายค้าน 

โดยในการเลือกตั้ง 2526 ครั้งนี้ นับเป็นการเลือกตั้ง ที่ พรรคที่ได้คะแนนเสียงสูงสุด อันดับที่ 1 และไม่สามารถจัดรัฐบาลได้ ไม่สามารถส่งคนไปเป็นนายกฯได้ 2 ครั้งซ้อนๆ ต่อจากปี 2522
 

• เลือกตั้ง ปี 2529

การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 14 ในปี 2529  พิชัย รัตตกุล ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นำพรรคประชาธิปัตย์ชนะการเลือกตั้ง โดยคว้าจำนวน ส.ส. ได้ทั้งสิ้นแตะ 3 หลัก 100 ที่นั่ง จึงเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล โดยพรรคที่ได้รับเลือกตั้งรองลงมา คือ พรรคชาติไทย 64 เสียง, พรรคกิจสังคม 51 เสียง และพรรคราษฎร 20 เสียง โดยเสียงทั้งหมดในสภาผู้แทนราษฎรมีทั้งหมด 347 เสียง โดยทั้ง 5 พรรคได้หารือกันถึงการจัดตั้งรัฐบาล ปรากฏว่า ทุกพรรคต่างเห็นชอบให้  “พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์” เป็นนายกรัฐมนตรีต่อ และนี่คือการเป็น นายกฯ สมัยที่ 3 ของ ป๋าเปรม

พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์

• เลือกตั้ง ปี 2535

ณรงค์ วงศ์วรรณ ในฐานะหัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม นำพรรคสามัคคีธรรม ชนะการเลือกตั้ง ทั่วไปครั้งที่ 16  ได้จำนวน ส.ส. 79 ที่นั่ง ตอนนั้นพรรคการเมือง 5 พรรค คือ พรรคสามัคคีธรรม พรรคชาติไทย พรรคกิจสังคม พรรคประชากรไทยและพรรคราษฎร จำนวน 195  เสียง ได้รวมตัวกันเสนอชื่อ “นายณรงค์ วงศ์วรรณ” หัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ปรากฏข่าวมีการพัวพันกับขบวนการค้ายาเสพติด ซึ่งกรณีดังกล่าว นายณรงค์ ได้ปฏิเสธอย่างสิ้นเชิง พรรคการเมืองทั้ง 5 พรรค จึงสนับสนุนให้ “พลเอกสุจินดา คราประยูร” ขึ้นดำรงตำแหน่ง “นายกรัฐมนตรี” จนเป็นสาเหตุทำให้ประชาชนเรียกร้องนายกฯ ที่มาจากการเลือกตั้ง และเป็นชนวนเหตุพฤษภาทมิฬ ในเวลาต่อมา

พลเอกสุจินดา คราประยูร

• เลือกตั้ง ปี 2562

ย้อนกลับไปในภาพการเมืองเมื่อ 4 ปีที่แล้ว หรือเมื่อปี 2562  คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ , ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ , ชัยเกษม นิติสิริ ในฐานะแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคเพื่อไทย นำพรรคเพื่อไทย ชนะการเลือกตั้ง ได้จำนวน ส.ส. 136 ที่นั่ง  ซึ่งในการเลือกตั้งครั้งนั้น ถือเป็นการเลือกตั้งครั้งแรก ในรัฐธรรมนูญปี 2560  จึงขอตั้งรัฐบาลก่อน ขณะที่พรรคพลังประชารัฐ ที่ชู “พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา” เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ได้รับเลือกมาเป็นลำดับที่สอง ได้จำนวน 116 ที่นั่ง 

แต่การจัดตั้งรัฐบาลขณะนั้น แถลงว่าพรรคได้รับเสียงสนับสนุนจากประชาชนมากที่สุด และพร้อมจัดตั้งรัฐบาลเช่นกัน ต่อมาพรรคพลังประชารัฐ ได้รวบรวมเสียง ส.ส. ทั้งหมด 19 พรรคจัดตั้งรัฐบาลด้วยเสียงที่ปริ่มน้ำ ๒๕๑ เสียง จากนั้น ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาลงมติเลือก “พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา”เป็นนายกรัฐมนตรีอีกสมัย โดยได้รับคะแนนเสียงจาก ส.ส. ทั้งหมด 19 พรรค นับเป็นรัฐบาลผสมที่มีพรรคการเมืองจำนวนมากที่สุดในประวัติศาสตร์

ปี 2562  คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ นายชัยเกษม นิติสิริ ในฐานะแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคเพื่อไทย นำพรรคเพื่อไทย ชนะการเลือกตั้ง ได้จำนวน ส.ส. 136 ที่นั่ง

ปี 2562  คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ นายชัยเกษม นิติสิริ ในฐานะแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคเพื่อไทย นำพรรคเพื่อไทย ชนะการเลือกตั้ง ได้จำนวน ส.ส. 136 ที่นั่ง
 

• เลือกตั้ง 2566 
ในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 27  พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ในฐานะพรรคก้าวไกล และแคนดิเดตนายกฯ  ชนะการเลือกตั้ง ได้จำนวน ส.ส. 151 ที่นั่ง ซึ่งเป็นผลการเลือกตั้งที่พลิกล็อก หักปากกาเซียนหลายสำนัก  

ขณะที่พรรคเพื่อไทย ได้รับเลือกมาเป็นลำดับที่สอง ได้จำนวน 141 ที่นั่ง ทั้ง 2 พรรคนี้ได้ร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลพร้อมกับอีก 6 พรรค คือ พรรคประชาชาติ พรรคไทยสร้างไทย พรรคเสรีรวมไทย พรรคเป็นธรรม พรรคเพื่อไทรวมพลัง และพรรคพลังสังคมใหม่ ได้เสียงทั้งหมด 312 เสียง เกินครึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎร 

ชนะเลือกตั้ง แต่ไม่ได้เป็นนายกฯ : พิธา ก้าวไกล ไม่ใช่คนแรกที่เกิดขึ้นในไทย

เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 66 ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา เสนอชื่อ “นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์” เพื่อดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี คนที่ 30 ของประเทศ โดยที่ประชุมเห็นชอบ 324 เสียง ไม่เห็นชอบ 182  เสียง และงดออกเสียง 199  เสียง เท่ากับนายพิธาได้คะแนนไม่มากกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกเท่าที่มีอยู่ของสองสภาทั้งหมด 749 เสียง 

ล่าสุดในวันที่ 19 กรกฎาคม 66 ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา มีมติ 395  ต่อ 312  เสียง เห็นว่าการเสนอชื่อเพื่อโหวตนายกฯ เป็นญัตติ ไม่สามารถเสนอชื่อ “นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์” ซ้ำอีกได้  และนั่นถือเป็นการ ดับฝันพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ในการเป็นนายกฯ ในสมัยประชุมนี้  และ พรรคเพื่อไทย พรรคที่มีจำนวน ส.ส. มากเป็นอันดับ 2 จะพยายามจัดตั้งรัฐบาลแทน และคาดว่า จะมีการโหวตนายกฯรอบ 3 ในวันที่ 27 ก.ค. 66 นี้ 

ชนะเลือกตั้ง แต่ไม่ได้เป็นนายกฯ : ปี 2562 พล.อ. ประยุทธ์ ได้นั่งเป็นนายกฯ ทั้งที่ พลังประชารัฐ ไม่ได้ชนะเลือกตั้ง

related