วันแรงงาน 2568 ย้อนไทม์ไลน์ "ค่าแรงขั้นต่ำไทย" ในรอบกว่า 20 ปีที่ผ่านมา จากการเริ่มขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท จากนั้นมีการปรับอัตราขึ้นกี่บาท และกี่ครั้งแล้ว อัปเดตค่าแรงขั้นต่ำปัจจุบันได้กี่บาท
ประเทศไทยมีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำอย่างต่อเนื่องตลอด 20 กว่าปีที่ผ่านมา โดยมีการนำแนวคิดเรื่องค่าแรงขั้นต่ำมาใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 โดยประกาศครั้งแรกวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2516 บังคับใช้ในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ สมุทรปราการ นนทบุรีและปทุมธานีก่อน เนื่องจากเป็นเขตอุตสาหกรรมในขณะนั้น
จุดประสงค์ตั้งต้นของการนำแนวคิดเรื่องค่าแรงขั้นต่ำมาใช้คือเพื่อให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้าง ให้ลูกจ้างสามารถดำรงชีพอยู่เหนือความยากจนได้ แต่ทุกครั้งที่มีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ก็มักจะเจอแรงต้านทานจากกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจว่าการขึ้นราคาค่าแรงขั้นต่ำจะทำให้ต้นทุนราคาสินค้าสูงขึ้น เกิดภาวะเงินเฟ้อ ต่างประเทศจะไม่มาลงทุน หรืออาจย้ายฐานการผลิตหนีไปที่อื่น
นโยบายการปรับค่าแรงขั้นต่ำ จึงเปรียบเสมือนนโยบายเรือธง ที่เหล่าพรรคการเมืองนำมาชูในช่วงหาเสียง เพื่อดึงดูดคะแนนเสียงจากประชาชน ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา แต่ละยุคสมัยของพรรคการเมือง มีการปรับ ค่าแรงขั้นต่ำเรื่อยมา เพื่อให้สอดคล้องกับค่าครองชีพตามยุคสมัย
ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา อัตราค่าแรงขั้นต่ำในประเทศไทยมีการปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ และค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น
เกณฑ์การปรับค่าจ้างนี้ มักได้รับอิทธิพลจากปัจจัยหลายประการ เช่น การเติบโตของเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ และแรงกดดันทางสังคม เป็นต้น
ที่ประชุมได้มีการพิจารณาและมีมติเห็นชอบ เห็นชอบการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำปี 2568 โดยให้ปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มในอัตราวันละ 7-55 บาท (เฉลี่ยร้อยละ 2.9) แบ่งเป็น 17 อัตรา
พิจารณาจากค่าครองชีพและโครงสร้างทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ โดยมีอัตราสูงสุดวันละ 400 บาท และอัตราต่ำสุด คือ วันละ 337 บาท โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 เป็นต้นไป
ประเทศไทยมีปัญหาเชิงโครงสร้างเศรษฐกิจในหลายด้าน ปัญหาความเหลื่อมล้ำทั้งในมิติเชิงโอกาสและมิติเชิงเศรษฐกิจ ค่าจ้างที่แท้จริงนั้นไม่ได้มีการเติบโตมากนักในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งก็เป็นปัญหาที่สำคัญและต้องการการแก้ไข ที่ผ่านมาช่วงที่ค่าจ้างปรับตัวเพิ่มขึ้น ก็มักจะมาจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นหลัก หากมีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำอีกครั้ง ก็น่าจะเป็นการช่วยบรรเทาปัญหาเฉพาะหน้าของแรงงานในเรื่องรายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง