ในโลกที่ไม่น่าไว้วางใจ สื่อมวลชนถูกตั้งคำถามถึงการทำงานอย่างหนักหน่วง เพื่อเป็นสื่อที่สังคมเชื่อใจต้องพิสูจน์ตัวเองผ่านกระบวนการทำงานที่ยึดมั่นในหน้าที่ ปาฐกภาเปิดงาน Trusted Media Summit APAC 2022
(21 กันยายน 2565) Google News Initiative ร่วมกับ Cofact โคแฟค (ประเทศไทย) และภาคีเครือข่ายจัดการประชุม Trusted Media Summit APAC 2022 ประจำประเทศไทย โดยมี ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ จากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย กล่าวปาฐกถาเปิดงาน ในหัวข้อ ทำไมต้องมีสื่อที่สังคมเชื่อใจได้ในโลกที่ไม่น่าไว้ใจ Why trusted-media matters in a zero-trust world?
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เปิดทางรอด! คนทำสื่อ ยุค Facebook ก๊อป Tiktok ทำยังไงให้จะมีคนดู-อ่านข่าวเรา
เตือน! อย่าหลงเชื่อมิจฉาชีพปลอม "เสียง แชท คลิป" สร้างเรื่องเสมือนจริง
โดยกล่าวภายในงานว่า ความเชื่อใจคือกุญแจสำคัญของสังคม ซึ่งสถานการณ์ปัจจุบันที่มีเทคโนโลยีและการแพร่กระจายของ fake news อย่างรวดเร็วและวงกว้าง สร้างให้เกิดความขัดแย้งทางการเมือง โดยเฉพาะในช่วงโควิด 19 ที่ข่าวสารจากหลากหลายที่มาที่ประชาชนต้องรับมือ สำหรับในด้านเศรษฐกิจเองก็ต้องใช้ความเชื่อใจกันเพื่อสร้างสัมพันธ์อันดีทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
จากการแลกเปลี่ยนเงิน Rai Stone ในยุคโบราณของ Yap island จนมาถึงบิทคอย ต่างต้องการความโปร่งใสเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กัน แต่แม้ในยุคที่คนเรียกกันว่าเป็น Trustless world หรือ Zero-trust ที่มีอัลกอริทึ่มป้องกันและบันทีกทุกการเคลื่อนไหว ยืนยันด้วยใบรับรองของข้อมูลการันตี แต่สุดท้ายก็อาจไม่ได้รับประกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในโลกความเป็นจริง จึงยังต้องมีการสร้างความสร้างเชื่อถือในโลกความเป็นจริงควบคู่กันไป
จากผลสำรวจของสถาบันพระปกเกล้าในปี 2021 เผยอันดับความน่าเชื่อถือของสถาบันในสังคมไทย เรียงตามลำดับดังนี้
โดยสาเหตุที่การปกครองท้องถิ่นขึ้นอันดับแรกสถาบันนำหน้าทุกสถาบันนั้น ส่วนหนึ่งมาจากการต้องลงพื้นที่ทำให้เจอหน้ากันจริง ซี่งเป็นส่วนสำคัญในกลไกของสังคมเพื่อสร้างความเชื่อถือ
ไม่ว่าอย่างไรก็ตามโลกยังคงมีความเชื่อมั่น เชื่อใจกันอยู่ แต่การจะสร้างความเชื่อมั่นของสื่อสารมวลชนต้องเริ่มต้นตั้งแต่กระบวนการตั้งต้นของที่มา ตลอดจนกระบวนการทำงาน ตรวจสอบ จนไปถึงการเผยแพร่ที่เป็นส่วนสำคัญสำหรับสถาบันทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม