svasdssvasds

เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด! “ชิ้นส่วนจรวด” กำลังจะตกสู่โลก ห่างโลกเพียง 146 กม.

เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด! “ชิ้นส่วนจรวด” กำลังจะตกสู่โลก ห่างโลกเพียง 146 กม.

ล่าสุด GISTDA หรือ ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีอวกาศ  “ขณะนี้จรวดลองมาร์ช5บี วาย4 โคจรห่างจากพื้นโลกโดยเฉลี่ยประมาณ 146 กิโลเมตร (ตามเส้นแนวการโคจรดังภาพ) และมีแนวโน้มจะตกในช่วงหลังเวลา 14.00 น.ถึงกลางคืนของวันศุกร์ที่ 4 พ.ย. 2565”

ความคืบหน้า การตกของชิ้นส่วนจรวดลองมาร์ช5บี วาย4 ล่าสุดเพจเฟซบุ๊ก GISTDA สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)  ได้แจ้งว่า 

"GISTDA โดยศูนย์วิจัยเทคโนโลยีอวกาศ แจ้งเตือนล่าสุด (4 พ.ย. 65) “ขณะนี้จรวดลองมาร์ช5บี วาย4 โคจรห่างจากพื้นโลกโดยเฉลี่ยประมาณ 146 กิโลเมตร (ตามเส้นแนวการโคจรดังภาพ) และมีแนวโน้มจะตกในช่วงหลังเวลา 14.00 น.ถึงกลางคืนของวันศุกร์ที่ 4 พ.ย. 2565” โดยจุดที่คาดว่าจะเป็นจุดตกของชิ้นส่วนจรวดฯ ยังต้องติดตามอย่างใกล้ชิด

และจะสามารถคาดการณ์ได้แม่นยำก็ต่อเมื่อวัตถุอวกาศอยู่ห่างจากพื้นโลกโดยเฉลี่ยไม่เกิน 130 กิโลเมตร (ระยะห่างของวัตถุอวกาศกับพื้นโลกมีผลอย่างยิ่งต่อการวิเคราะห์และคาดการณ์จุดตก 

ดังนั้น ยิ่งใกล้โลกเท่าไรจะยิ่งแม่นยำมากขึ้น) ทั้งนี้ การแจ้งเตือนชิ้นส่วนจรวดตกสู่โลกในครั้งนี้ ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีอวกาศของ GISTDA ใช้ระบบ ZIRCON ที่ทีมนักวิจัยของ GISTDA พัฒนาขึ้น เพื่อทำการวิเคราะห์ ติดตาม และคาดการณ์ ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานสากล

สำหรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทย ณ วันนี้ มีโอกาสได้รับผลกระทบเพียง 1.2% ซึ่งถือว่าน้อยมาก อย่างไรก็ตาม GISTDA จะติดตามสถานการณ์และพื้นที่ที่มีความเสี่ยงของการตกของชิ้นส่วนจรวดนี้ตลอด 24 ชั่วโมง และจะรายงานความคืบหน้าให้ทราบต่อไป

Cr.ข้อมูลและภาพระบบ ZIRCON: ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีอวกาศ "

related