svasdssvasds

เอไอเอส - ดีแทค ชวนร่วมมือเพื่อความยั่งยืน เพราะดิจิทัลคือโอกาสแห่งอนาคต

เอไอเอส - ดีแทค ชวนร่วมมือเพื่อความยั่งยืน เพราะดิจิทัลคือโอกาสแห่งอนาคต

สองโอเปอเรเตอร์ยักษ์ใหญ่ของไทย ชักชวนภาครัฐ-เอกชน ใส่ใจเรื่องการนำดาต้ามาใช้พัฒนาและสร้างโอกาส Climate Change ให้ประเทศไทย หนุนดาต้าโมบิลิตี้ที่ไม่รุกล้ำสิทธิส่วนบุคคลแต่ช่วยสร้างความยั่งยืนให้แก่ประชาชนในอนาคตได้

เครือเนชั่น นำโดย สปริงนิวส์ เนชั่นทีวี และโพสต์ทูเดย์ เปิดเวทีสัมมนา NEXT STEP THAILAND 2023 ทิศทางแห่งอนาคต ซึ่งมีการเชิญผู้บริหารองค์กรชั้นนำร่วมแสดงวิสัยทัศน์ ในช่วง Innovation of Sustainability โดยในงานสัมมนา ครั้งนี้ สองผู้บริหารจากธุรกิจโทรคมนาคมได้แสดงความคิดเห็นไว้อย่างน่าสนใจ

อราคิน รักษ์จิตตาโภค หัวหน้าฝ่ายขับเคลื่อนนวัตกรรม บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวว่า ประเทศไทยผลิตขยะ E-waste มากถึง 4 แสนตันต่อปี แต่เราสามารถจัดการเรื่องของ Zero Landfill (การฝังกลบเป็นศูนย์) ได้เพียง 7% เท่านั้น 

นอกจากนี้ ขยะ E-waste ส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นก็มาจากกลุ่มผู้บริโภคทั้งสิ้น เหตุผลที่จัดการได้น้อย เป็นเพราะการตระหนักรู้ของคนไทยในเรื่องนี้ยังมีน้อย

ทางเอไอเอสเอง ก็ได้พยายามสร้างการรับรู้เรื่องนี้อย่างหนัก แต่สุดท้ายเราก็คิดได้ว่า การลงมือทำเพียงคนเดียวนั้น ไม่เพียงพอเท่ากับการได้รับความร่วมมือกับทุกภาคส่วน 

 

อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม

 

ดังนั้น สิ่งที่เอไอเอสจะผลักดันต่อไปในปี 2023 คือการมองหาความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ในการเอา E-waste ไปใช้งานแบบฟรีๆ เพราะเรามองว่าเรื่องของ Sustainsibility ไม่สามารถทำเพียงคนเดียวได้ 

จะทำอย่างไรให้ทุกคนอยากเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา ซึ่งมีองค์กรมากมายอยากจะลงมือทำเรื่องนี้ แต่มองว่าเรื่อง Sustain เป็นเรื่องที่ต้องให้องค์กรเทคโนโลยีเป็นคนลงมือทำ ซึ่งนั่นไม่ใช่มุมมองที่ถูกต้อง

สิ่งที่บริษัทส่วนใหญ่อยากลงมือทำ คือต้องมีนโยบายที่ชัดเจนก่อน เพื่อเป็นตัวอย่างให้พนักงานร่วมมือไปด้วยกัน ต่อมาคือต้องทำงานแบบสตาร์ทอัพ ผิดพลาดส่วนไหนก็ทิ้งเลย

เพราะการลงมือทำเรื่องการเปลี่ยนแปลง ก็คือต้องเปลี่ยนให้ไวจริงๆ รวมทั้งถ้าผู้บริหารองค์กรยังคงมี Mindset แบบเดิม เรื่อง Sustain ก็จะไม่เกิด ดังนั้น ต้องมีเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน เรื่องการเปลี่ยนแปลงจะเดินหน้าได้อย่างแท้จริง

 

 

ทางด้านของ อรอุมา ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโสสายงานสื่อสารองค์กรและการพัฒนาที่ยั่งยืน บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า สิ่งที่ดีแทคลงมือทำคือการสร้าง Resilion Digital Society (ความยืดหยุ่นด้านสังคมดิจิทัล) เพราะประชาชนคาดหวังว่าบริษัทด้านเทคโนโลยี จะช่วยสร้างความมั่นใจในเรื่องของ Data Privacy เป็นอันดับแรกและเรื่องที่สองคือคาดหวังให้บริษัทเทคมีส่วนช่วยในเรื่องของสภาวะอากาศ

สะท้อนให้เห็นว่า คนไทยใส่ใจเรื่องของดิจิทัลในแง่ของโซเชียลมีเดียมากกว่าการนำไปปรับใช้งานเพื่อสร้างโอกาสทางการหารายได้ใหม่ๆ

สิ่งที่ดีแทคอยากเห็นคือการเข้าใจปัญหาระดับชาติ เพราะบริษัทเทคโนโลยีอย่างเอไอเอสและดีแทค มีข้อมูลแบบ Private Sector จำนวนมาก เราคือบิ๊กดาต้าระดับใหญ่ของประเทศ ซึ่งเราจะไม่แตะในเรื่องของข้อมูลส่วนตัว แต่เรามองไปในเรื่องของการสร้างโอกาสกระตุ้นเศรษฐกิจ การผลักดันเรื่องการท่องเที่ยวเมืองรอง รวมทั้งเรื่องของการแก้ไขปัญหาภายในประเทศ

นอกจากนี้ เรื่องของการนำ Digital Inclusion (ความเท่าเทียมทางดิจิทัล) มาลดความเหลื่อมล้ำของคนในประเทศ เพราะทุกคนสามารถเรียนรู้ในเรื่องของการใช้งานดิจิทัลได้ หากเป็นเรื่องของการหาเงิน

ดีแทคจึงมีแคมเปญที่ชื่อว่า "เน็ตทำกิน" มาเป็นการเติมช่องว่างที่ขาดหายไปในการสร้างโอกาสหารายได้สำหรับคนรายได้น้อย และเติมเสียงในโลกออนไลน์ในเรื่องของส่งเสริมสิทธิเด็ก หรือไซเบอร์บูลลี่บนโลกออนไลน์ที่อยากให้ใส่ใจเรื่องความเสี่ยงบนโลกออนไลน์ให้มากขึ้น

related