svasdssvasds

รพ.ไทยนครินทร์ ชู นวัตกรรมการแพทย์ เป็นจุดเปลี่ยนการรักษามีคุณภาพมากขึ้น

รพ.ไทยนครินทร์ ชู นวัตกรรมการแพทย์ เป็นจุดเปลี่ยนการรักษามีคุณภาพมากขึ้น

นพ. พิเชฐ ผนึกทอง ผู้อำนวยการงานคุณภาพ และ ผู้ช่วยผู้อำนวยการบริหาร สายงานการตลาด ร.พ. ไทยนครินทร์ ชี้ สุขภาพ คือ ทรัพยากรที่มีค่าที่สุด ดังนั้น รพ.อยากเป็นส่วนร่วมในการดูแล และ ร่วมฉายภาพจุดเปลี่ยน ธุรกิจการแพทย์ จากบทบาท เทคโนโลยี-นวัตกรรม

เครือเนชั่น นำโดย สปริงนิวส์ เนชั่นทีวี และโพสต์ทูเดย์ เปิดเวทีสัมมนา NEXT STEP THAILAND 2023 ทิศทางแห่งอนาคต ซึ่งมีการเชิญบรรดาหัวหน้าพรรคเข้าร่วมแสดงวิสัยทัศน์ ในช่วง INNOVATION OF SUSTAINABILITY เพื่อประเทศไทยยั่งยืน ซึ่งในงานนี้ นพ. พิเชฐ ผนึกทอง ผู้อำนวยการงานคุณภาพ และ ผู้ช่วยผู้อำนวยการบริหาร สายงานการตลาด โรงพยาบาลไทยนครินทร์ ระบุ ถึงเทรนด์นวัตกรรมทางการแพทย์ กับอนาคต 'เมดิคัลฮับ' ของไทย  ว่า สำหรับ ธุรกิจการแพทย์ หรือ เฮลแคร์ของไทยนั้น ก่อนหน้าถูกดิสรัปชั่นด้วยบทบาทของนวัตกรรม-เทคโนโลยีมาสักพักหนึ่งแล้ว แต่การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในช่วง 2-3ปีที่ผ่านมา นับเป็นตัวกระตุ้นที่ทำให้ธุรกิจนี้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน ก่อให้เกิด 5 เทรนด์สำคัญ ดังนี้ 

•AI (ปัญญาประดิษฐ์)
• Personalized Healthcare (การดูแลสุขภาพและการรักษาแบบจำเพาะบุคคล )
•Retail Healthcare (ศูนย์กลางบริการสุขภาพสมัยใหม่)
•Telehealth (เทคโนโลยีการแพทย์)
• Wearable Medical Devices (อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบสวมใส่ )
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สำหรับประโยชน์ต่อการนำนวัตกรรมมาใช้ในทางการแพทย์นั้น นพ. พิเชฐ ผนึกทอง ผู้อำนวยการงานคุณภาพ และ ผู้ช่วยผู้อำนวยการบริหาร สายงานการตลาด โรงพยาบาลไทยนครินทร์ ให้ความเห็นว่า จุดเปลี่ยนสำคัญ คือ จะทำให้การรักษาผู้ป่วยมีคุณภาพมากขึ้นทุกขั้นตอน เนื่องจากเป็นการเพิ่มความปลอดภัย  จากเริ่มแรกที่นวัตกรรมช่วยให้การวินิจฉัยโรคมีความแม่นยำมากขึ้น ก็จะนำมาซึ่งการรักษาที่ถูกต้องมากขึ้น 

นพ. พิเชฐ ผนึกทอง ผู้อำนวยการงานคุณภาพ และ ผู้ช่วยผู้อำนวยการบริหาร สายงานการตลาด โรงพยาบาลไทยนครินทร์  ชี้ สุขภาพ คือ ทรัพยากรที่มีค่าที่สุด ดังนั้น รพ.จึงอยากเป็นส่วนร่วมในการดูแล และฉายภาพ จุดเปลี่ยน ธุรกิจการแพทย์ จากบทบาท เทคโนโลยี-นวัตกรรม

ยกตัวออย่างเช่น ในบางกรณี นวัตกรรมช่วยลดผลเสียที่เกิดขึ้นแบบในอดีตได้ เช่น เดิมการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง แพทย์มีความจำเป็นต้องใช้วิธีการ ฉายแสงทั่วร่าง แต่ปัจจุบัน สามารถวินิจฉัยและพุ่งเป้าการฉายแสงไปที่ก้อนมะเร็งโดยตรงได้เลย และตัวอย่างของประโยชน์ที่เห็นชัดเจนสุด ก็คือ การตรวจรักษา ผู้ป่วยโควิด19 จำนวนมหาศาลในช่วงที่ผ่านมา ลดกระบวนการการตรวจเอ็กซเรย์วินิจฉัยโรคอย่างในอดีต ที่ทำได้ยากและมีความล่าช้า  ขณะเดียวกัน ประโยชน์ของนวัตกรรม ช่วยในแง่เก็บข้อมูลคนไข้  เพื่อวางแผนการรักษาโรคอย่างต่อเนื่อง และช่วยลดระยะเวลาและขั้นตอนทางการแพทย์

นพ. พิเชฐ ผนึกทอง ผู้อำนวยการงานคุณภาพ และ ผู้ช่วยผู้อำนวยการบริหาร สายงานการตลาด โรงพยาบาลไทยนครินทร์  ชี้ สุขภาพ คือ ทรัพยากรที่มีค่าที่สุด ดังนั้น รพ.อยากเป็นส่วนร่วมในการดูแล และ จุดเปลี่ยน ธุรกิจการแพทย์ จากบทบาท เทคโนโลยี-นวัตกรรม ชี้ก่อเกิด 5 เทรนด์สำคัญ ปลุก

 ประเด็นสำคัญที่จะเกิดประโยชน์กับสังคมไทยสูงสุด นพ. พิเชฐ กล่าวว่า ขณะนี้ปฎิเสธไม่ได้ ว่าประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัว ซึ่งคนไทยมีความจำเป็นต้องเตรียมตัว เนื่องจาก ข้อมูลทางสถิติ บ่งชี้ชัดขึ้นว่า โรคร้ายต่างๆ ที่มีความน่ากลัวมากขึ้น  เช่น โรคมะเร็ง มีอัตราป่วยมากขึ้นในคนไทย ซึ่งมาจากแนวโน้มการสัมผัสสารก่อมะเร็งมากขึ้น กับ อีกส่วน คือ มาจากกรรมพันธุ์ 

โดย นวัตกรรมทางการแพทย์จะเข้ามาช่วยตรวจคัดกรองความเสี่ยงทั้ง 2 ส่วนดังกล่าวได้ เพื่อนำไปสู่การป้องกัน หลีกเลี่ยง หรือ ดูแลรักษาแต่เนิ่นๆ ขณะในขั้นตอนการรักษา อดีตต้องใช้การฉายแสงเท่านั้น แต่ปัจจุบัน รักษาพุ่งเป้าได้ และ การผ่าตัดที่แผลเล็กลง ล้วนเป็นประโยชน์ของนวัตกรรมแทบทั้งสิ้น  นอกจากนี้ นวัตกรรมทางการแพทย์ จะช่วยค้นหาความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นตามความเสื่อมของอายุขัยในวัยต่างๆได้ด้วย ถือเป็นการยกระดับวงการแพทย์ไทย และ จะช่วยให้ไทยไปสู่เป้าหมาย เมดิคัลฮับได้ไม่ยากในอนาคต 

"ทุก รพ. ไม่อยากรักษาโรค แต่อยากให้คนไทยสุขภาพดีมากกว่า  เพราะทรัพยากรบุคคล คือ ทรัพยากรที่มีค่าที่สุด รพ.อยากเป็นส่วนร่วมในการดูแล ตั้งแต่ ป้องกัน -วินิจฉัย และ รักษาอย่างมีประสิทธิภาพ อยากให้ภาครัฐและภาคเอกชน ร่วมกัน โดยใช้จุดเปลี่ยนเรื่องนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาช่วยยกระดับ  "

related