svasdssvasds

เคาะแล้ว! บีทีเอสสายสีเขียว 14-44 บาท รวมสายหลักไม่เกิน 59 บาท

เคาะแล้ว! บีทีเอสสายสีเขียว 14-44 บาท รวมสายหลักไม่เกิน 59 บาท

กทม.จัดทำตารางค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายส่วนที่2 “แบริ่ง-สมุทรปราการ” และ “หมอชิต-สะพานใหม่ ราคา 14 - 44 บาท ย้ำใช้หลักนั่งไกลจ่ายมาก นั่งสั้นจ่ายน้อย รวมสายหลักแล้วราคาไม่เกิน 59 บาท เริ่มเก็บค่าโดยสารกลางเดือนกันยา 65

นายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าฯกทม. เปิดเผยถึงการเตรียมความพร้อมการจัดเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่2 ช่วง แบริ่ง-สมุทรปราการ และ หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ว่า สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กทม. ได้จัดทำตารางค่าโดยสารเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยใช้สูตร 14+2x กล่าวคือ ค่าโดยสารส่วนต่อขยายที่2 จะเริ่มเก็บอัตรา 14-44 บาท

เคาะแล้ว! บีทีเอสสายสีเขียว 14-44 บาท รวมสายหลักไม่เกิน 59 บาท และเมื่อรวมกับอัตราค่าโดยสารในเส้นทางสัมปทานหลักตรงกลาง จะเก็บอัตราสูงสุดได้ไม่เกิน 59 บาท ทั้งนี้ทาง กทม.เตรียมนัดเจรจากับ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรงเทพ จำกัด หรือ บีทีเอสซี เรื่องยกเว้นค่าแรกเข้าระบบเส้นทางหลักหรือเส้นทางให้สัมปทานที่เรียกเก็บเพิ่ม 16 บาท ได้หรือไม่ หาก บริษัทฯ ไม่ยินยอม กทม.จะต้องอุดหนุนงบประมาณในส่วนค่าแรกเข้าแทนผู้ใช้บริการ

เมื่อได้ข้อสรุปที่จะนำเสนอเข้าที่ประชุม สภา กทม.เพื่อขอความเห็นชอบ จากนั้นทาง กทม.จะออกประกาศเรื่องกำหนดค่าโดยสารโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยจะแจ้งให้ประชาชนทราบล่วงหน้า และคาดว่าจะเริ่มเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย ส่วนที่ 2 นี้ ประมาณกลางเดือน ก.ย.65 ที่จะถึงนี้ 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

นายวิศณุ ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า การคำนวณอัตราค่าโดยสารส่วนต่อขยายโดยใช้สูตร 14+2x แทนอัตราเดิมที่จัดเก็บ 15 บาท ตลอดสาย นั้นเป็นการจัดเก็บตามระยะทางที่ใช้บริการนั่งไกลจ่ายมาก นั่งสั้นจ่ายน้อย ซึ่งถือเป็นหลักการที่ถูกต้อง มีความเป็นสากลและเป็นธรรม

เคาะแล้ว! บีทีเอสสายสีเขียว 14-44 บาท รวมสายหลักไม่เกิน 59 บาท

และในปัจจุบัน การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ก็ได้ใช้หลักการดังกล่าวนี้ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ ยอมรับว่าหากเปรียบเทียบค่าโดยสารส่วนต่อขยาย ส่วนที่ 2 จะแพงกว่าเส้นทางหลัก เพราะระยะทางไกล และมีสถานีมากกว่า

 อย่างไรก็ตาม แม้จะเก็บค่าโดยสารส่วนต่อขยาย ส่วนที่ 1 คือสายสีลม ช่วงสถานีสะพานตากสิน-วงเวียนใหญ่ และสถานีวงเวียนใหญ่-บางหว้า สายสุขุมวิท สถานีอ่อนนุช-แบริ่ง  และส่วนต่อขยายส่วนที่ 2 แบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต  กทม.ยังต้องจ่ายเงินอุดหนุนให้กับบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด หรือ เคที ประมาณ  6,000 ล้านบาทต่อปี  ซึ่งลดลงประมาณ 900 ล้านบาท จากปัจจุบันที่อุดหนุนให้เคที ประมาณ 6,900 ล้านบาทต่อปี 

นอกจากนี้ กทม.ร่วมกับสภา กทม. ตั้งคณะทำงาน เพื่อพิจารณาร่างสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ตามคำสั่ง คสช. มาตรา 44  ให้ขยายสัญญาสัมปทานให้กับ บริษัท บีทีเอสซี ออกไปอีก 30 ปี (2572-2602) หลังจากครบอายุสัมปทาน  โดยทางสภา กทม.จะมีความเห็นอย่างไร

หากเห็นชอบก็ให้ดำเนินตามนั้น ส่วนถ้าไม่เห็นชอบก็จะนำเรื่องกลับมาพิจารณาทบทวนใหม่ว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ซึ่งมีหลายรูปแบบ อาทิ เปิดสัมทปานใหม่ ตาม พ.ร.บ.เอกชนร่วมทุน หรือใช้วิธีการจ้างเอกชนเดินรถ คงต้องทำให้รอบครอบ เพราะตอนนี้ยังมีเวลาพิจารณาก่อนจะหมดสัมปทานปี 2572

เคาะแล้ว! บีทีเอสสายสีเขียว 14-44 บาท รวมสายหลักไม่เกิน 59 บาท ซึ่งนี้ถือเป็นข่าวที่ชาวโดยสาร บีทีเอส น่าจะโล่งใจเรื่องค่าใช้จ่ายได้บ้าง เพราะราคาเที่ยวโดยสารที่ลดลง อาจจะเป็นการเพิ่มความน่าสนใจให้กับผู้โดยสารบีทีเอสได้ไม่มากก็น้อย ในการเดินทางไปตามที่ต่างๆ ด้วยบีทีเอสในอนาคตอันใกล้นี้ และคาดว่าสามารถช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายให้กับประชาชนได้อย่างแน่นอน

related