svasdssvasds

ความในพระราชหฤทัยของ รัชกาลที่ 6 เมื่อประทับพระราชยาน

ความในพระราชหฤทัยของ รัชกาลที่ 6 เมื่อประทับพระราชยาน

ติดตามข่าวสารwได้ที่ https://www.springnews.co.th

ในการเสด็จฯ เลียบพระนคร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประทับบน พระที่นั่งราชยานพุดตานทอง โดยริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศ พยุหยาตราทางสถลมารค ของ เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก วานนี้ (5 พ.ค.) เป็นพระราชพิธีฯ ตั้งแต่สมัยโบราณกาล ซึ่งในสมัยโบราณยังไม่มียานพาหนะเช่นในปัจจุบัน การประทับพระราชยานเสด็จพระราชดำเนินไปยังที่ต่างๆ นี้ ปกติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะประทับเพียงลำพังพระองค์ แต่บางคราวก็โปรดเกล้าฯ ให้พระราชโอรส พระราชธิดาที่ยังทรงพระเยาว์โดยเสด็จไปด้วย

ความในพระราชหฤทัยของ รัชกาลที่ 6 เมื่อประทับพระราชยาน

โดยความในบันทึกของ จมื่นมานิตย์นเรศ (เฉลิม เศวตนันทน์) ความในพระราชหฤทัยของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เมื่อครั้งประทับพระราชยาน เสด็จฯ เลียบพระนคร ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช เขียนไว้ว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเล่าอย่างขันๆ ว่า ไม่มียานพาหนะใดที่จะนั่งด้วยอาการเป็นคิงแท้ๆ เท่าราชยาน เพราะหาความสุขสบายมิได้เลย ทรงตรัสว่า ที่นั่งกว้างพอดีกับพระที่นั่ง (คือ ก้นของท่าน) ที่วางพระบาทมีเฉพาะเพียงพระบาททั้งคู่วางชิดๆ กันได้ไม่ตกแต่หมิ่นเต็มที่ บางทีต้องไขว้และก็ต้องไขว้ซ้ายบนบ้าง ขวาบนบ้าง เรียงคู่บ้าง สลับกันไป เช่นนี้ตลอดทาง ไม่มีทางทําอย่างอื่นได้ เพราะบางคราวทรงนึกจะไขว่ห้างก็ไม่กล้าทํา เพราะเกรงจะไม่เหมาะสม

[caption id="attachment_489049" align="aligncenter" width="696"] ความในพระราชหฤทัยของ รัชกาลที่ 6 เมื่อประทับพระราชยาน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับพระราชยานงา ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2454[/caption]

สองข้างบัลลังก์ยังเป็นกระจังทําด้วยทอง บางที่แกะด้วยไม้มีกนกแหลมๆ เต็มไปหมด วางพระกรเข้าก็เจ็บ ไม่วางก็ไม่รู้จะวางที่ไหน ต้องทนขยับเขยื้อนได้ยากเต็มที่ เพราะที่จํากัด และลอยอยู่ด้วยพลังของคน ถ้าขยับเขยื้อนรุนแรงข้างล่างก็เดือดร้อน ดีไม่ดีพลิกคว่ำลงเป็นเสร็จ ต้องเข้าโรงพยาบาลแน่แล้ว รับสั่งว่า บางที่เป็นเหน็บทั้งๆ ขา ต้องขยับให้หายชา แล้วทรงกระดิกพระดัชนีให้พระโลหิตเคลื่อน พอค่อยทุเลา นั่งพิงอย่างสบายก็ไม่ได้ เสียทรง ทําให้ไม่งาม ท่านว่าทูลกระหม่อม คือ หมายถึงสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่ 5 เคยสอนไว้ว่า นั่งราชยานต้องดัดทรงเป็นละคร คือ ดันกระเบนเหน็บให้ตัวตรง แล้วคิดดูซิ ประทับอยู่บนนั้นตั้งๆ ชั่วโมง

[caption id="attachment_489050" align="aligncenter" width="696"] ความในพระราชหฤทัยของ รัชกาลที่ 6 เมื่อประทับพระราชยาน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับพระราชยานงา ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2454[/caption]

ท่านรับสั่งแล้วทรงยิ้มว่า เวลาประชาชนเขาแสดงความเคารพ ทั้งๆ ปวดเมื่อยและเป็นเหน็บก็ต้องแข็งพระราชหฤทัย ทรงยิ้ม ทรงยกพระคธาขึ้นรับเคารพ เพราะยิ้มของพระเจ้าแผ่นดิน คือ น้ำทิพย์ชโลมใจของประชาชน ท่านว่าถ้าจ้างกันละก็ละ 50 บาท (สมัยโน้น) ท่านก็ไม่เอา ต่อให้ร้อยก็ไม่รับประทาน แต่เป็นพระราชกรณียกิจแม้ให้ยากแสนยากเหนื่อยแสนเหนื่อยกว่านี้ก็ต้องรับทํา เพื่อประโยชน์สุขของทวยราษฎร์ แต่พอเสร็จพิธีตอนเข้าที่พระบรรทมน่ะซี ตกเป็นภาระอันหนักของมหาดเล็กผู้ถวายอยู่งาน เพราะจะได้ยินแต่พระสุรเสียงว่า เอาตรงนี้หน่อย คือที่บั้นพระองค์ ที่พระชาณุ (ขา) เป็นต้น”

ขอบคุณข้อมูลและภาพจากคอลัมน์ ปัญหาการประทับ“พระราชยาน” จากความทรงจำของเจ้านาย

related