svasdssvasds

เลือกตั้ง 62 : เปิด 4 แนวทางศาลรัฐธรรมนูญ เคลียร์ปม "ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์"

อัยการเผย 4 แนวทางคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่มีความเป็นไปได้ กรณี กกต. ยื่นตีความสูตรคำนวณ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ ระบุมีความเป็นไปได้ทั้งไม่รับเรื่องไว้พิจารณา และรับไว้พิจารณา

นาย ธนกฤต วรธนัชชากุล อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสุงสุด โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว แสดงความคิดเห็นข้อกฎหมาย เกี่ยวกับแนวคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่อาจเป็นไปได้ ในกรณี กกต.ให้วินิจฉัยสูตรคำนวณปาร์ตี้ลิสต์

เลือกตั้ง 62 : เปิด 4 แนวทางศาลรัฐธรรมนูญ เคลียร์ปม \"ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์\"

โดย นายธนกฤต ระบุว่า แนวทางคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่อาจจะเป็นไปได้คือ

1.ไม่รับเรื่องไว้พิจารณา โดยอ้างเป็นคดีเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของ กกต. แต่ยังไม่เกิดขึ้น หรือ เป็นหน้าที่ที่กกต.ต้องดำเนินการตามหน้าที่

2.ศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่องไว้พิจารณา และมีคำวินิจฉัยว่า คดีไม่มีประเด็นปัญหาในเรื่องอำนาจหน้าที่ของ กกต. โดยเหตุผลของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเป็นไปตามแนวที่ 1 และหรือแนวที่ 2 ดังกล่าวไว้แล้วในแนวทางคำวินิจฉัยที่ 1

เลือกตั้ง 62 : เปิด 4 แนวทางศาลรัฐธรรมนูญ เคลียร์ปม \"ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์\"

3. ศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่องไว้พิจารณา และมีคำวินิจฉัยว่า กกต. มีอำนาจหน้าที่ในการคำนวณหาจำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณที่รัฐธรรมนูญ และ พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. กำหนดโดย กกต. ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในกฎหมาย

เลือกตั้ง 62 : เปิด 4 แนวทางศาลรัฐธรรมนูญ เคลียร์ปม \"ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์\"

แต่ไม่ได้วินิจฉัยรับรองวิธีการคำนวณที่ กกต. จะนำมาใช้ในการคำนวณหา ส.ส.บัญชีรายชื่อ เนื่องจากเห็นว่าเป็นอำนาจหน้าที่โดยตรงของ กกต. เป็นการเฉพาะ

เลือกตั้ง 62 : เปิด 4 แนวทางศาลรัฐธรรมนูญ เคลียร์ปม \"ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์\"

และแนวทางคำวินิจฉัยที่ 4 ศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่องไว้พิจารณา และมีคำวินิจฉัยในแนวทางว่าเป็นอำนาจหน้าที่ของ กกต. ที่จะต้องคำนวณจำนวนส.ส.บัญชีรายชื่อให้ได้ครบ 150 คน ภายใต้หลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด

เลือกตั้ง 62 : เปิด 4 แนวทางศาลรัฐธรรมนูญ เคลียร์ปม \"ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์\"

ทั้งนี้ มีข้อสังเกตสำหรับแนวทางคำวินิจฉัยที่ 4 นี้ว่า ถ้าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยในแนวทางนี้ จะเป็นการที่ศาลรัฐธรรมนูญเข้าไปรับรองความถูกต้องของวิธีการคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อของ กกต. ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่โดยตรงของ กกต. ที่จะต้องรับผิดชอบคำนวณจำนวน ส.ส. บัญชีรายชื่อให้ถูกต้อง และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณที่กฎหมายกำหนด และหากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยในแนวทางนี้ ก็จะทำให้คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลผูกพันวิธีการคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อในการเลือกตั้ง ส.ส. ในครั้งต่อๆ ไปด้วย

related