svasdssvasds

นิพิฏฐ์ ชี้ อย่ามองกรณี "ผู้พิพากษายะลา" เป็นเรื่องการเมือง ฝากคนเกี่ยวข้องทบทวน

นิพิฏฐ์ ผช.รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ชี้ อย่ามองเรื่องการยิงตัวตายของผู้พิพากษาเป็นประเด็นการเมือง และอย่าให้การยิงตัวตายของท่านสูญเปล่า ทิ้งประเด็นถึงเวลาแล้วหรือไม่ที่จะมีการทบทวนกระบวนการยุติธรรม เพื่อประโยชน์ของประชาชน

จากกรณีนายคณากร เพียรชนะ ผู้พิพากษาศาลจังหวัดยะลา ได้ใช้อาวุธปืนพกสั้นก่อ เหตุพยายามฆ่าตัวตาย เป็นเหตุให้ได้รับบาดเจ็บ หลังพิพากษาคดีความมั่นคง ณ ห้องพิจารณา 4 ศาลจังหวัดยะลา เมื่อเวลา 12.30 น. วันที่ 4 ต.ค.2562 ที่ผ่านมา  ซึ่งมีการรายงานอ้างถึงสาเหตุเกิดจากความเครียดในการพิจารณาคดี และวิพากษ์วิจารณ์การถูกกดดันเเทรกเเซงการพิจารณาพิพากษาคดี

นิพิฏฐ์ ชี้ อย่ามองกรณี "ผู้พิพากษายะลา" เป็นเรื่องการเมือง ฝากคนเกี่ยวข้องทบทวน ผู้สื่อข่าวสอบถามความเห็นในเรื่องนี้ไปยัง นายนิพิฎฐ์ อินทรสมบัติ ผช.รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะทนายความ ได้แสดงความคิดเห็นกรณีดังกล่าวว่า เราอย่ามองเรื่องนี้เป็นการเมือง ผู้พิพากษาบางท่าน ท่านอาจจะชอบพรรคการเมืองใด การเมืองหนึ่งเป็นพิเศษนั้นเป็นสิทธิ์ของท่าน เพราะท่านก็เป็นพลเมืองของประเทศนี้ ท่านอาจจะชื่นชอบพรรคการเมืองใดก็ได้ ถ้าท่านคิดว่าพรรคการเมืองนั้นสามารถแก้ปัญหาของประเทศได้ตรงกับหน่วยงานของท่านที่มีปัญหาอยู่

นิพิฏฐ์ ชี้ อย่ามองกรณี "ผู้พิพากษายะลา" เป็นเรื่องการเมือง ฝากคนเกี่ยวข้องทบทวน

 

สำหรับเรื่องที่เกิดขึ้นมีประเด็นหลัก ๆ อยู่อย่างเดียวคือในกระบวนการของศาลไทยมีการแทรกแซงคำพิพากษาได้หรือไม่ สำหรับผู้พิพากษาที่ท่านยิงตัวเองท่านบอกว่ามีการแทรกแซงการพิพากษาได้และท่านรู้สึกว่าท่านไม่อิสระในการติดสินคดี เพราะถูกแทรกแซงจากผู้บังคับบัญชา เพราะฉะนั้นสังคมก็ต้องดูตรงนี้ว่าในกระบวนการตุลาการของไทยมันมีการแทรกแซงได้จริงหรือเปล่า

ซึ่ง ถ้าเราดูโครงสร้างของกฎหมายมันไม่สามารถแทรกแซงได้ เพียงแต่มีอำนาจของหนึ่งของผู้บังคับบัญชาหรือที่อธิบดีมี คือการให้คำแนะนำผู้พิพากษาในเขตศาลของตัวเอง แต่เมื่อแนะนำแล้วผู้พิพากษาจะไม่ปฏิบัติตามก็ได้ แต่ถ้าแนะนำแรงไป หรือมีการคาดโทษในกรณีที่ผู้พิพากษาไม่ทำตาม อันนี้ก็ถือเป็นการแพรกแซงได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นมันขึ้นอยู่กับบุคลิกของผู้พิพากษาและอธิบดีแต่ละคนด้วยว่ามีวิธีแนะนำอย่างไรอย่าให้ผู้ใต้บังคับบัญชารู้สึกว่าคุณกำลังแทรกแซงอยู่

ส่วนผู้ใต้บังคับบัญชาเองซึ่งเป็นผู้พิพากษา บางคนก็มีความอ่อนไหว คิดว่าเป็นเรื่องใหญ่โตมากสำหรับเขา หากถูกผู้บังคับบัญชาแนะนำหรือถูกผู้บังคับบัญชาตำหนิ แต่บางคนก็อาจจะคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดาท่านแนะนำเราก็ปฏิบัติตามไป ขึ้นอยู่กับบุคลิกของผู้ใต้บังคับบัญชาแต่ละคน แต่ในกรณีผู้พิพากษาท่านนี้ ที่ติดสินใจยิงตัวตายท่านคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญสำหรับท่าน และท่านก็คิดว่า ท่านถูกแทรกแซงแล้วและท่านก็รับไม่ได้ท่านก็เลยติดสินใจในการยิงตัวตายพร้อมมีเอกสารอธิบายถึงเรื่องที่เกิดขึ้นเพื่อหวังให้สังคมได้รับรู้

นายนิพิฎฐ์ ฯ ยังกล่าวด้วยว่า ในส่วนของเรื่องการแทรกแซงหากเกิดขึ้นจริง ๆ ในมุมมองของตน คิดว่าวิธีการที่จะแก้ได้ทุกอย่างจะต้องโปร่งใส่ สามารถตรวจสอบได้ เป็นเรื่องที่แก้ได้ยาก เพราะเราต้องยอมรับความจริงอย่างหนึ่งว่าในประเทศนี้อำนาจ 3 อำนาจ คือ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ แต่สิ่งที่ตรวจสอบไม่ได้คืออำนาจตุลาการ ตนเป็นคณะกรรมการแก้วิกฤตตุลาการมาตลอด

รวมทั้งเคยคิดกันว่าจะมีการสร้างโครงสร้างเสมือนในต่างประเทศ ว่าต้องให้ทั้ง 3 อำนาจ มีการถ่วงดุลกัน ทั้งต้องให้มีการตรวจสอบได้ แตเราไม่สามารถใช้วิธีการตรวจสอบตุลาการได้ เพราะเราไม่เชื่อใจนักการเมือง ไม่เชื่อว่านักการเมืองจะตรวจสอบผู้พิพากษาได้ และจะดีกว่าระบบเดิม เพราะต้องยอมรับความจริงว่า นักการเมืองบางส่วนมีสีเทา บางส่วนก็สีดำ และบางส่วนก็สีดำมาก ซึ่งหากจะใช้นักการเมืองที่มีสีเทา สีดำ ไม่ถ่วงดุล หรือไปดูแลกระบวนการตุลาการ จะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหามานานร่วม 30 ปี ที่มีการคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่แต่สุดท้ายก็ยังหาวิธีไม่ได้

แต่พอกรณีผู้พิพากษายิงตัวตายเกิดขึ้น ในมุมมองของตน มองว่า อย่าให้การยิงตัวตายของท่านสูญเปล่าฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องดูว่า ถึงเวลาแล้วหรือไม่ที่ต้องทบทวนกระทวนการยุติธรรม และดูว่าจะต้องทบทวนในเรื่องไหนบ้าง เพราะสิ่งที่ต้องทบทวน ก็เพื่อประชาชน เพราะหากถึงวันหนึ่งที่ต้องขึ้นศาล ประชาชนจะต้องมีความเชื่อและมั่นใจว่าจะคดีของท่านจะไม่ถูกแทรกแซง

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :

ช่อ พรรณิการ์ ยก คณากร ผู้พิพากษายะลา ผู้ไม่จำนนต่ออำนาจอยุติธรรม

สิระ จ่อชงคดี คณากร เข้า กมธ.ยุติธรรม เรียกให้ข้อมูล – ประณาม ใครโหนกระแส-บิดเบือน

ประธานศาลฎีกา มอบหมาย เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม เข้าเยี่ยม ผู้พิพากษา “คณากร”

 

related