svasdssvasds

หญิงหน่อย ชี้เงินกู้ 1.9 ล้านล้านบาท ต้องถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

หญิงหน่อย ชี้เงินกู้ 1.9 ล้านล้านบาท ต้องถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

หญิงหน่อย เผยรัฐบาลไทยไม่มีวิสัยทัศน์ ที่จะใช้ เงินกู้ 1.9 ล้านล้านบาท ให้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งไม่มีแผนการใช้เงินกู้

วันที่ 15 พ.ค. 2563  คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ Sudarat Keyuraphan” โดยระบุข้อความว่า...

หญิงหน่อย ชี้เงินกู้ 1.9 ล้านล้านบาท ต้องถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

เงินกู้ 1.9 ล้านล้านบาท ต้องถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งการเยียวยาต้องทั่วถึงรวดเร็ว การฟื้นฟูเศรษฐกิจต้องตรงเป้า และที่สำคัญคือ ต้องลงทุนใน “โครงสร้างพื้นฐาน” ให้ธุรกิจไทยสามารถยืนอยู่ได้ในโลกใหม่ที่มี New Normal หลัง COVID-19

แต่เรายังไม่เห็นรัฐบาลไทยมีวิสัยทัศน์ในเรื่องนี้ รวมทั้งไม่มีแผนการใช้เงินกู้ 1.9 ล้านล้านบาท มาลงทุนในการเตรียมความพร้อมให้ธุรกิจไทยสามารถเดินต่อได้ และมีศักยภาพในการแข่งขันในโลกหลัง COVID-19 แต่อย่างใดเลย

ก่อนอื่นดิฉันขอย้ำว่า เงินกู้ 1.9 ล้านล้านบาท เป็นการกู้ครั้งมโหฬาร มากที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย เป็นเงินกู้ที่คนไทยทุกคนต้องเป็นลูกหนี้ และเป็นผู้ใช้หนี้ไปจนชั่วลูกชั่วหลาน การใช้เงินกู้ก้อนนี้รัฐบาลจึงต้องใช้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและไร้การทุจริต

1. เพื่อช่วยประชาชนอย่างจริงใจ จริงจัง รวดเร็ว

2. เพื่อฟื้นเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพ ทั่วถึง โดยเฉพาะธุรกิจของคนตัวเล็ก SMEs ไม่ใช่ได้ประโยชน์เฉพาะทุนใหญ่เท่านั้น

3.เพื่อสร้างสามารถให้ธุรกิจไทยเดินต่อได้ และ มีขีดความสามารถในการแข่งขันได้ในโลกหลัง COVID-19 ที่พฤติกรรมผู้ บริโภค และวิถีธุรกิจ จะเปลี่ยนไป (New normal) ซึ่งรัฐบาลต้องลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานสำหรับโลกหลังCOVID-19 ให้ธุรกิจให้สามารถอยู่รอดได้ ในโลกใหม่รับ New Normal ได้

4.ต้องใช้เงินกู้อย่างโปร่งใส ไร้ทุจริต ไม่ใช่ใช้เพื่อทุ่มแจกเงินแบบเพื่อหวังผลทางการเมืองเท่านั้น โดยไม่ก่อให้เกิดการสร้างงาน หรือสร้างรายได้ใหม่ หรือฉวยโอกาสจากวิกฤติที่เกิดขึ้น ให้มีการทุจริต เพื่อการสะสมทุนทางการเมือง

ถึงวันนี้เงินกู้ 600,000 ล้านบาท เพื่อเยียวยาประชาชนยังคงเป็นปัญหาต่อเนื่องเข้าเดือนที่ 3 แล้ว ทั้งปัญหายังไม่ครอบคลุมคนเดือดร้อนได้ครบถ้วน ทั้งประชาชนและเกษตรกร ที่สำคัญคือวิธีการยุ่งยาก ล่าช้ามาก ทั้งที่ภาครัฐมีทะเบียนคนจน คนตกงาน และทะเบียนเกษตรกรอยู่แล้ว แต่กลับต้องให้ประชาชนต้องไปขึ้นทะเบียนใหม่ ด้วยความลำบาก ทั้งที่เขาได้รับความเดือดร้อนจากมาตรการของรัฐ

เงินกู้1.9 ล้านล้านบาทที่รัฐบาลนี้กู้ ก็เป็นหนี้ของประชาชน ทำไมการจ่ายเงินคนจน จึงยากลำบากล่าช้ามาร่วม 3 เดือนแล้ว มีหัวใจให้คนจนบ้างเถอะค่ะ

นอกจากนั้นผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม ซึ่งเป็นเงินออมของเขาเองก็จ่ายยากเย็น ล่าช้าซึ่งกรรมาธิการกิจการศาล องค์กรอิสระ องค์กรอัยการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และกองทุน ที่สส. จิรายุ ห่วงทรัพย์ เป็นประธานกรรมาธิการ กำลังตรวจสอบว่า มีการเอาเงินออมของประชาชนไปใช้ไม่ถูกทางหรือไม่ จึงไม่มีเงินจ่ายให้ผู้ประกันตน

อีกส่วนของเงินกู้ 600,000 ล้านบาท คือส่วนที่นำไปใช้ด้านสาธารณสุข ดิฉันไม่เห็นการนำเงินกู้นี้ไปใช้เป็นรูปธรรม ในการวาง “โครงสร้างด้านสาธารณสุข” เพื่อเสริมศักยภาพด้านสาธารณสุขของเราให้แข็งแกร่งมากขึ้น

ทั้งที่เรามาถึงวันนี้ได้ ที่มีผู้ติดเชื้อลดลง

ก็เพราะระบบสาธารณสุขของไทยที่แข็งแกร่งมาช้านาน รวมทั้งความทุ่มเท ความเสียสละ และความสามารถของคณะแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม.

และเกิดจากความร่วมแรงร่วมใจของประชาชนที่ยอมเสียสละอยู่บ้าน ดูแลป้องกันการระบาดอย่างเคร่งครัด สวมหน้ากากอนามัย ดูแลสุขอนามัย เว้นระยะห่าง ตามที่สาธารณสุขแนะนำอย่างเคร่งครัด

ดิฉันเห็นความจำเป็นที่เราควรใช้เงินกู้จำนวนนี้ ไปใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพ “โครงสร้างด้านสาธารณสุข” ของไทยเพื่อประโยชน์ทั้งในเชิงรับและรุก เป็นเรื่องที่สำคัญมาก

เป็นการเตรียมความพร้อม หากมีการกลับมาระบาดใหม่ ของ COVID-19 หรือในอนาคตอาจมีการระบาดของโรคอุบัติใหม่ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 20 ปีหลังนี้ เราจะได้มีความพร้อมในการดูแลสุขภาพของประชาชน

นอกจากนั้น ในเชิงรุกการลงทุนใน “โครงสร้างด้านสาธารณสุข” จะช่วยเศรษฐกิจไทยได้โดยตรง เพราะโลกหลัง COVID-19 คนทั่วโลกจะคำนึงถึงสุขอนามัยและสุขภาพ (Hyginity & Health) มากขึ้น

การลงทุนให้คนไทย และคนทั่วโลกมั่นใจในระบบสาธารณสุขไทย ผลดีจะตกกับ เศรษฐกิจไทย ทั้งด้านการท่องเที่ยว การบริการ การส่งออกโดยเฉพาะด้านอาหาร รวมทั้งเกษตรกรของไทย ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างให้ธุรกิจไทยเดินต่อไปได้ และมีศักยภาพในการแข่งขันในโลกหลัง COVID-19

แต่ดิฉันไม่เห็นวิสัยทัศน์ หรือแผนงานการลงทุนด้าน “โครงสร้างด้านสาธารณสุข” จากรัฐบาลในขณะนี้เลย ว่าจะทำอย่างไรให้ธุรกิจไทย ยังเดินไปต่อได้ในโลกหลัง COVID-19 ที่ต้องมี New normal ใหม่

ถ้านายกรัฐมนตรีและทีมเศรษฐกิจยังมองเรื่องนี้ไม่ออก ความหวังที่จะฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยหลัง COVID-19 ก็จะดูยากมากค่ะ

CR : คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ Sudarat Keyuraphan

 

 

related