svasdssvasds

TCAC 2023 “สานพลัง เสริมภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน”

TCAC 2023 “สานพลัง เสริมภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน”

ในการประชุมภาคีการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย ครั้งที่ 2 หรือ Thailand Climate Action Conference: TCAC 2023 ในวันที่ 6 -7 ตุลาคม 2566 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายเถลิงศักดิ์  เพ็ชรสุวรรณ ในฐานะโฆษกกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า การประชุม TCAC 2023 ครั้งนี้ได้รับความสนใจอย่างมากจากทุกภาคส่วน ประกอบด้วยผู้เข้าร่วมประชุมระดับคณะรัฐมนตรี ปลัดกระทรวง คณะทูตานุทูต ผู้ว่าราชการ ผู้บริหารภาครัฐ ผู้บริหารภาคเอกชน สถาบันการศึกษา สื่อมวลชน และบุคคลผู้สนใจ เข้าร่วมทั้ง 2 วัน กว่า 3,700 คน จาก 48 ประเทศ เพื่อแสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและมีส่วนร่วมในการลดโลกร้อน ตอบสนองต่อนโยบายของประเทศ

TCAC 2023 “สานพลัง เสริมภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน”

การประชุม TCAC 2023 จึงได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลในเรื่องการเดินทางมาร่วมงานของแขกผู้มีเกียรติและวิทยากร นำมาประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากกิจกรรมการจัดงานประกอบด้วย การใช้พลังงานไฟฟ้าในการจัดประชุม, ปริมาณขยะที่เกิดขึ้นจากการจัดงาน และการจัดเลี้ยงอาหารว่างและเครื่องดื่มพบว่า มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวม 3,200 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และได้มีการนำคาร์บอนเครดิตจากโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย หรือ T-VER ประเภทการผลิตพลังงานทดแทนจากเชื้อเพลิงชีวมวล มาชดเชยปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Carbon Neutral Event  ผลสำเร็จจากการจัดประชุม TCAC 2023 ครั้งนี้ ได้แสดงถึงพลังความมุ่งมั่นของทุกภาคส่วนในประเทศไทยทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน ที่จะนำพาประเทศให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้

TCAC 2023 “สานพลัง เสริมภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน”

ในการประชุมครั้งนี้วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐ ภาคเอกชน เยาวชน และภาคประชาสังคม ร่วมนำเสนอเผยแพร่การดำเนินงานอันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศไทยสู่สังคมเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ  ดังนี้

ภาครัฐ : เส้นทาง TCAC 2023 เส้นทางสู่ปี 2023 และเป้าหมายระดับโลก

  • กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ขับเคลื่อนการลดก๊าซเรือนกระจกภายในประเทศ สู่เป้าหมาย Net Zero ภายในปี 2065  ทั้งพลังงานและขนส่ง อุตสาหกรรม เกษตร ของเสีย และป่าไม้ พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อีกทั้งพลักดัน ร่าง พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

  • กระทรวงพลังงาน

เผยเส้นทางพลังงานสู่ 2030 กับทิศทางแผนพลังงานแห่งชาติ การขับเคลื่อนนโยบายด้านการเปลี่ยนผ่านพลังงาน พัฒนาพลังงานทดแทน (Renewable Energy) การเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน  กรอบพลังงานแห่งชาติ โดยมีเป้าหมายมุ่งสู่พลังงานสะอาด และลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ (Carbon Neutrality)

  • กระทรวงคมนาคม

พัฒนาระบบขนส่งสู่เป้าหมายการขนส่งที่ยังยืน ประกอบด้วย การขนส่งที่ปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การเข้าถึงระบบขนส่งอย่างเสมอภาคและเท่าเทียม และการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ แผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ปี พ.ศ. 2564-2573 สาขาคมนาคมขนส่ง

  • กระทรวงอุตสาหกรรม

ขับเคลื่อนการลดก๊าซเรือนกระจกภาคอุตสาหกรรม แผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ปี พ.ศ. 2564-2573 สาขากระบวนการทางอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ (IPPU) รวมถึงน้ำเสียอุตสาหกรรม การยกระดับการลดก๊าซเรือนกระจกภาคอุตสาหกรรม การเพิ่มมูลค่ากากของเสียอุตสาหกรรมให้เป็นวัตถุดิบ หรือ ผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อการสิ้นสุดการเป็นของเสีย (End of Waste) ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) การขับเคลื่อนนโยบายอุตสาหกรรมสีเขียว เน้นการพัฒนาที่สมดุลทั้งด้าน เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

  • กระทรวงมหาดไทย

การบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะของประเทศ ฉบับที่ ๒ (พ.ศ.๒๕๖๕-๒๕๗๐) 

TCAC 2023 “สานพลัง เสริมภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน”

ภาคเอกชน : ธุรกิจไทยร่วมขับเคลื่อนสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ประกอบด้วย

  • Carbon Capture and Storage: Progress at the Crossroads of Thailand Carbon Neutrality โดย บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
  • Ignite Energy Transition: A Pathway toward Net Zero Emissions จุดพลังขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านพลังงาน มุ่งสู่ Net Zero Emissions โดย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
  • Business Solutions for Carbon Neutrality โดย บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)

TCAC 2023 “สานพลัง เสริมภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน”

นอกจากนี้ยังมีภาคประชาชนและเยาวชน เป็นอีกเสียงสะท้อนเพื่ออนาคตไทย (Climate Action We Want) โดย ผู้แทนเยาวชน Net-Zero Thailand: ACE Youth Ideathon Camp  ผู้แทนเยาวชนไทยที่เข้าร่วมการประชุม COP27 ผู้แทนเครือข่ายเยาวชนระดับโลกเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพประจำประเทศไทย (Global Youth Biodiversity Network: GYBN Thailand) เครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (ทสม.) จังหวัดระนอง และสมัชชาองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

TCAC 2023 “สานพลัง เสริมภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน”

TCAC 2023 “สานพลัง เสริมภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน”

TCAC 2023 “สานพลัง เสริมภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน”

ารประชุมภาคีการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย ครั้งที่ 2 หรือ  Thailand Climate Action Conference: TCAC 2023 ได้มีการมอบโล่ประกาศเกียรติคุณองค์กรผู้มีส่วนร่วมเป็นผู้นำด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจก (Climate Action Leading Organization) จำนวน 15 องค์กร นอกกจากนี้ยังมีการมอบโล่ประกาศเกียรติคุณให้เยาวชนและประชาสังคม จำนวน 5 องค์กร

บริษัทที่ได้รับโล่ผู้นำด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจก (Climate Action Leading Organization) มีดังนี้

1. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
2. บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด
3. บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน)
4. บริษัท ที.ซี.ฟาร์มาซูติคอล อุตสาหกรรม จำกัด (กลุ่มธุรกิจ TCP)
5. บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
6. บริษัท บางกอกอินดัสเทรียลแก๊ส จำกัด (บีไอจี) 
7. บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) 
8. บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน)
9. บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
10. บริษัท พรีเชียส ชิพปิ้ง จำกัด (มหาชน)
11. บริษัท ฟอร์จูน พาร์ท อินดัสตรี้ จำกัด มหาชน
12. บริษัท สยามโพลิเอททีลีน จำกัด
13. บริษัท เอ็น อาร์ อินสแตนท์โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน)
14. บริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน)
15. บริษัท แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

TCAC 2023 “สานพลัง เสริมภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน”

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเผยการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศขั้นต่อไป ดังนี้

  • ทส. ได้บูรณาการทำงานร่วมกับทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ครอบคลุมทุกภาคส่วนเศรษฐกิจ ได้แก่ ภาคพลังงาน และขนส่ง ภาคอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ ภาคของเสีย และภาคการเกษตร เพื่อร่วมแสดงพลังการขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ร่วมกันตอบเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี ค.ศ. 2065
  • ส่งเสริมเศรษฐกิจที่คำถึงสิ่งแวดล้อม  BCG Economy รวมถึงเตรียมความพร้อมมาตรการการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป (CBAM)
  • พัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมในการลด และกักเก็บก๊าซเรือนกระจก
  • เพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทน ลดการใช้พลังงานจากฟอสซิล
  • เพิ่มพื้นที่สีเขียวทุกประเภท เพิ่มการดูดกลับก๊าซเรือนกระจก คุ้มครองป่าและเพิ่มแหล่งกักเก็บคาร์บอน โดยกำหนดเป้าหมายการเพิ่มพื้นที่สีเขียวทุกประเภทให้ได้ร้อยละ 55 ภายในปี ค.ศ. 2037
  • ผลักดันพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อกำกับดูแลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคบังคับ และเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

และที่สำคัญช่วยกันสื่อสาร สร้างความตระหนักและจิตสำนึกให้แก่ประชาชน เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการลดก๊าซเรือนกระจกในชีวิตประจำวัน และสามารถปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หากทุกภาคส่วนร่วมมือกัน จะช่วยทำให้เราสามารถบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ได้เร็วกว่าที่ประเทศไทยได้ประกาศเจตนารมย์ไว้

TCAC 2023 “สานพลัง เสริมภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน”

ผลจากการประชุมครั้งนี้ จะนำไปรายงานในช่วงสมัยประชุมสมัชชารัฐภาคีกรอบอนุสัญญาฯ สมัยที่ 28 (COP28) ซึ่งมีกำหนดจัดในระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน - 12 ธันวาคม 2566 ณ เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะผลักดันประเด็นการเปลี่ยนผ่าน

  • ด้านพลังงาน (Energy transition)
  • การยกระดับเศรษฐกิจไปสู่การค้าการลงทุนที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ (Climate’s capital) เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตลอดทั้งระบบเศรษฐกิจ
  • เรียกร้องให้มีการสนับสนุนการเข้าถึงเทคโนโลยี การสนับสนุนทางการเงิน  และเสริมสร้างศักยภาพเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้

ในส่วนของคาร์บอนเครดิตกับการชดเชยคาร์บอนจากการจัดประชุม TCAC 2023 ได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลในเรื่องการเดินทางมาร่วมงาน การใช้พลังงานในการจัดประชุม ปริมาณขยะที่เกิดขึ้นจากการจัดงาน และการจัดเลี้ยง นำมาประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการจัดงานเพื่อนำมาชดเชยปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Carbon Neutral Event

TCAC 2023 “สานพลัง เสริมภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน”

นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก เผยว่า การประชุม TCAC 2023 ได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลในเรื่องการเดินทางมาร่วมงานของแขกผู้มีเกียรติและวิทยากร การใช้พลังงานไฟฟ้าในการจัดประชุม ปริมาณขยะที่เกิดขึ้นจากการจัดงาน การจัดเลี้ยงอาหารว่างและเครื่องดื่ม และนำมาประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการจัดงานแบบอนุมาน พบว่า มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวม 3,200 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

"ในงาน TCAC 2023 นี้ เราได้รับความอนุเคราะห์จากบริษัท มิตรผล เอาคาร์บอนเครดิตที่ได้จากการเอาชานอ้อยนำไปผลิตพลังงานไฟฟ้าและนำมา offset กับการปลดปล่อยคาร์บอนของงานนี้ ทำให้งานนี้มีการปลดปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์" นายเกียรติชาย กล่าว

ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ทิ้งท้ายว่า การทำดี ทำเพื่อโลก ควรต้องทำทุกวัน เพราะในขณะเดียวกัน เราก็มีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกทำให้โลกร้อนขึ้นอยู่ทุกวันเช่นกัน

TCAC 2023 “สานพลัง เสริมภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน”

คาร์บอนเครดิตจากโครงการ T-VER มีระบบการตรวจวัด รายงาน และทวนสอบ ที่เป็นมาตรฐาน ผลการลดก๊าซเรือนกระจกมีความน่าเชื่อถือ ผ่านระเบียบวิธีการและการกำกับดูแลที่โปร่งใสและเข้มงวด ดังนั้นการเพิ่มโอกาสของชุมชนให้มีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจกจากการปลูกป่า ดูแลรักษาป่า สามารถทำงานร่วมกันได้ในรูปแบบ Public-Private-People Partnership โดยเอกชน ช่วยลงทุน ส่วนชาวบ้าน ช่วยลงแรง คือปัจจัยความสำเร็จที่ชาวบ้านจะเข้าถึงคาร์บอนเครดิตได้