svasdssvasds

TEA Forum 2022 “Mission Possible : Energy Transition to the Next 2050“ ภารกิจพลังงาน เปลี่ยนอนาคต

TEA Forum 2022 “Mission Possible : Energy Transition to the Next 2050“ ภารกิจพลังงาน เปลี่ยนอนาคต

กระทรวงพลังงาน ร่วมกับ สถาบันวิทยาการพลังงาน (วพน.) จัดสัมมนา TEA Forum 2022 “Mission Possible : Energy Transition to the Next 2050” ภารกิจพลังงาน เปลี่ยนอนาคต เมื่อวันที่ 8 มิ.ย.2565 เพื่อนำเสนอแนวทางการขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านพลังงาน

 นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “บทสรุปทิศทางของประเทศไทยสู่ Green Energy & Economy” ว่า ไทยเป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากลำดับต้นของโลก ดังนั้นแทนที่จะต้องตกเป็นผู้ถูกกล่าวหาจากทั่วโลก จึงต้องอาสาเป็นต้นแบบที่ก้าวสู่ความเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นการทางคาร์บอนภายในปี 2050 ผ่าน 4 แนวทาง ได้แก่

TEA Forum 2022 “Mission Possible : Energy Transition to the Next 2050“ ภารกิจพลังงาน เปลี่ยนอนาคต

 1. ภาคไฟฟ้า ลดสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลลงให้เหลือน้อยกว่า 50% รวมทั้งเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าใหม่ที่เป็นพลังงานสะอาด 2. ภาคขนส่ง ส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) และอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ 3. ภาคอุตสาหกรรม สาขาอาคาร ที่อยู่อาศัย ส่งเสริมให้มีการลดการประหยัดพลังงาน การลด energy intensity ใช้พลังงานในภาคส่วนอื่น อาทิ อาคารสำนักงาน 4. ส่งเสริมการปลูกป่าเพื่อดักจับและดูดซับคาร์บอนที่เกิดจากภาคการผลิตและอุตสาหกรรม

 

 H.E. Dr. Mohammed bin Hamad Al Rumhy รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและสินแร่ รัฐสุดต่านโอมาน กล่าวว่า เทรนด์โลกมุ่งสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ ซึ่งโอมานต้องมีส่วนรับผิดชอบ อาทิ การปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่ทำให้เกิดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกปริมาณมาก ขณะเดียวกันเทรนด์สังคมคาร์บอนต่ำเป็นโอกาสที่ดีในการเกิดอุตสาหกรรมใหม่ และเกิดการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน กล่าวว่าแนวโน้มโลกที่มุ่งสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ เป็นเรื่องที่โอมานและทุกประเทศมีส่วนร่วมกันรับผิดชอบ หากแนวทางนั้นต้องค่อยเป็นค่อยไปเพราะการลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล ต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายที่มีราคาสูงเพื่อเปลี่ยนระบบต่าง ๆ ให้รองรับการใช้พลังงานทางเลือกประเภทต่าง ๆ เรื่องความมั่นคงทางพลังงาน การเข้าถึงพลังงาน การลดความยากจน และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

“การถกเถียงบนเวทีโลกยังดำเนินต่อเพื่อหาโซลูชันในการสร้างความมั่นคงด้านพลังไปพร้อมกับการทำให้ราคาพลังงานจับต้องได้ การกังวลเรื่องภาวะโลกร้อนเป็นสิ่งสำคัญแต่ต้องอย่าลืมว่าน้ำมันจะยังเป็นส่วนสำคัญและจำเป็นต่อการสร้างการเติบโตของภาคเศรษฐกิจ” 

TEA Forum 2022 “Mission Possible : Energy Transition to the Next 2050“ ภารกิจพลังงาน เปลี่ยนอนาคต

 นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน บรรยายพิเศษหัวข้อ “แผนพลังงานชาติ สู่เป้าหมายการลด GHG” ว่า โดยรัฐบาลได้จัดทำกรอบแผนพลังงานชาติ เพื่อเร่งให้ไทยสู่เป้าหมาย Net Zero การเร่งให้ไทยสู่เป้าหมาย Net Zero ทำให้รัฐบาลทำกรอบแผนพลังงานชาติ ซึ่งครอบคลุมการเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน การปรับเปลี่ยนการใช้พลังงานภาคขนส่งเป็นพลังงานไฟฟ้าสีเขียว การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้การใช้พลังงาน และการปรับโครงสร้างกิจการพลังงานรองรับแนวโน้มการเปลี่ยนผ่านพลังงาน

TEA Forum 2022 “Mission Possible : Energy Transition to the Next 2050“ ภารกิจพลังงาน เปลี่ยนอนาคต

“ “การส่งเสริมมาตรการด้านยานยนต์ไฟฟ้าอีวีต่างๆ (EV) ทั้งมาตรการทางภาษีและไม่ใช่ภาษี เพื่อให้คนซื้อมากขึ้น ยังต้องทำต่อเนื่อง และต้องสนับสนุนการเกิดสถานีชาร์จ จากการสำรวจพบว่า 60% ต้องการชาร์จที่บ้าน จึงต้องปรับเปลี่ยนระบบไฟ และเพิ่มสถานีชาร์จตามเส้นทาง หรือที่พักอาศัย ปัจจุบันรถ EV อีวีสามารถวิ่งได้ถึง 300 กิโลเมตร จึงต้องเพิ่มตามปั๊มน้ำมัน จุดพักรถ ทุกวันนี้มีสถานีชาร์จอยู่ 1,000 แห่ง ตั้งเป้า 20,000 แห่ง ในอีก 8 ปี”

สำหรับช่วงเสวนาหัวข้อ Energy Transition in the Views of Global and Local Players ได้นำเสนอถึงการเปลี่ยนแปลงของผู้เล่นในธุรกิจพลังงาน

 นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ทิศทางพลังงานโลกมุ่งสู่ Go Green - Go Electric โดยเพื่อบรรลุเป้าหมาย Net Zero เน็ตซีโร่ของกลุ่ม ปตท. จะใช้กลยุทธ์การใช้พลังงานให้คุ้มค่าที่สุด รวมถึงการใช้เทคโนโลยีดักจับคาร์บอน (CCS) ที่ปล่อยมาจากหน่วยผลิตกลับมาเก็บไว้ใต้ดิน โดยแหล่งที่ดีที่สุด คือแหล่งก๊าซและแหล่งน้ำมัน เพื่อไม่ออกมาทำลายโลก ที่ศึกษาไว้จะทำแน่ ๆ เป็น pilot project คือ แหล่งอาทิตย์ โดยจะเก็บได้ประมาณ 700,000 ตันต่อปี

รวมถึงการใช้เทคโนโลยีดักจับคาร์บอน โดยแหล่งเก็บดีที่สุด คือ แหล่งก๊าซและแหล่งน้ำมัน เพื่อไม่ออกมาทำลายโลก ซึ่งได้ดำเนิาการแล้ว คือ แหล่งอาทิตย์ ที่จะเก็บได้ปีละ 400,000 ตัน

รวมทั้ง ปตท. ได้ปรับพอร์ตธุรกิจใหม่ และตั้งเป้าหมายลงทุนพลังงานทดแทนเข้ามาในพอร์ตธุรกิจไฟฟ้ามากขึ้น และขับเคลื่อนธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า (EV) นอกจากนี้ได้ลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่ (New S-Curve) อาทิ วิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต ธุรกิจสุขภาพ และได้เข้าไปเป็นหุ้นส่วนกับ nature เป็นหุ้นส่วนกับพันธมิตร อาทิ ปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ 1 ล้านไร่ โดยจ้างมหาลัยเกษตรศาสตร์ประเมินพบว่าป่าที่ปลูก 1 ล้านไร่ ดูดซับคาร์บอนได้ 2.1 ล้านตันต่อปี และปล่อยออกซิเจนสู่บรรยากาศ 1.7 ล้านตันต่อปี สร้างมูลค่าเศรษฐกิจให้ชุมชน และตั้งเป้าปลูกป่าอีก 3.1 ล้านไร่ จะช่วยดูดคาร์บอน 4.1 ล้านตันต่อปี

“พลังงานเป็นเรื่องระดับโลก และระดับประเทศ เจอความท้าทาย จึงต้องปรับสมดุลให้ดีระหว่างความมั่นคงด้านพลังงาน ราคา และเน็ตซีโร่  Net Zero เพราะสิ่งแวดล้อมเป็นความท้าทาย”

TEA Forum 2022 “Mission Possible : Energy Transition to the Next 2050“ ภารกิจพลังงาน เปลี่ยนอนาคต

 นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า กฟผ.เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่ประกาศเป้าหมายมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (EGAT Carbon Neutrality) ลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ.2050 เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาเรื่องนี้อย่างจริงจัง ภายใต้หลักการสร้างสมดุลระหว่างต้นทุนในการผลิตไฟฟ้า ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และความมั่นคงระบบไฟฟ้าของประเทศในกลยุทธ์ “Triple S”

ทั้งนี้ กฟผ.จะเพิ่มสัดส่วนการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับเขื่อนพลังน้ำและระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ การปรับปรุงพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าให้ทันสมัย (Grid Modernization) รวมถึงการเพิ่มปริมาณการดูดซับกักเก็บคาร์บอน และการสร้างกลไกการสนับสนุนโครงการชดเชยและหลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นรูปธรรม

“พลังงานไม่ใช่เรื่องของใครคนใดคนหนึ่ง เป็นของทุกนคน ที่จะมีส่วนทำให้การใช้ทรัพยากรของโลกเป็นไปอย่างประหยัดและคุ้มค่า ช่วงโดยเฉพาะช่วงนี้ที่นี้ค่าไฟสูงขึ้น และกำลังขึ้นราคาไปอีก จนเป็นเรื่องที่ควบคุมได้ยากจะมีผลกระทบทุกอุตสาหกรรมคน ดังนั้นทุกภาคส่วนต้องช่วยกันประหยัดเพื่อทุก ๆ คน”

TEA Forum 2022 “Mission Possible : Energy Transition to the Next 2050“ ภารกิจพลังงาน เปลี่ยนอนาคต

เสวนาหัวข้อ The Challenging Path of Green Business ได้นำเสนอปัจจัยที่ท้าทายของการเข้าสู่ธุรกิจสีเขียวของภาครัฐและเอกชน

นายดร. พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ความเสี่ยงของความล้มเหลวในการจัดการกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสภาพอากาศที่รุนแรง เป็นประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญต่อความเป็นอยู่ของประชากรโลก และจัดเป็นความเสี่ยงของโลกอันดับแรก หากแก้ไขปัญหาไม่ได้จะรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะภัยพิบัติธรรมชาติ

“หนึ่งปัจจัยที่สร้างความแตกต่าง คือ เวลา ที่ใครจะทำได้เร็วที่สุด นโยบายของรัฐที่ชัดเจน รวมถึงทำอย่างไรให้ภาคธุรกิจขนาดเล็กและใหญ่เดินหน้าไปด้วยกันได้ และอนาคตอาจจะต้องมี พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อขับเคลื่อนระยะยาวหากผลักดันตลาดคาร์บอนภายในประเทศสำเร็จจะมีมูลค่าเสริมเงินลงทุนที่ใส่เข้าไป” รวมทั้งเรื่องภาษี

TEA Forum 2022 “Mission Possible : Energy Transition to the Next 2050“ ภารกิจพลังงาน เปลี่ยนอนาคต

 

นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาสกรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี กล่าวว่า ธุรกิจของเอสซีจีกว่าครึ่งเป็นธุรกิจที่ค้าขายกับต่างประเทศ ปัจจุบันมีการดำเนินงานอยู่ในอาเซียนเกือบทุกประเทศ และบางส่วนในยุโรปการปรับตัวให้อยู่ในระดับมาตรฐานของโลกในการลดคาร์บอน ในเมืองไทย และในต่างประเทศ ต้องอยู่ภายใต้มาตรฐานเดียวกัน

เอสซีจี ได้กำหนดกลยุทธ์ ESG 4 Plus ไ ด้แก่ Environmental , Social , และ Governance และ Plus โดยตั้งเป้าลดคาร์บอน ในรวมถึงการผลิตสินค้า Green Product และกระบวนการผลิต รวมทั้งและการบริการลูกค้า เช่น การบริการติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคา พัฒนาสินค้ารีไซเคิล นอกจากนี้ยังครอบคลุมถึงการลดความเหลื่อมล้ำโดยเข้าไปมีส่วนร่วมในการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม และความร่วมมือทุกระดับไม่ว่าจะเป็นองค์กรระดับโลกเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน

TEA Forum 2022 “Mission Possible : Energy Transition to the Next 2050“ ภารกิจพลังงาน เปลี่ยนอนาคต

ดร.กรรณิการ์ ธรรมพานิชวงค์ นักวิชาการอาวุโสกลุ่มงานนโยบายด้านภูมิอากาศและการพัฒนาสีเขียว สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า การบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนและ Net Zero เป็นโอกาสในการปรับรูปแบบการดำเนินขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่ สิ่งสำคัญคือจะต้องพยายามหลีกเลี่ยงความเสี่ยงการกลับไปสู่ Business as usual หรือโมเดลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจแบบดั้งเดิม ซึ่งเน้นการใช้พลังงานฟอสซิลและทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลืองที่และดำเนินกิจการทางเศรษฐกิจโดยไม่คำนึงถึงผล

TEA Forum 2022 “Mission Possible : Energy Transition to the Next 2050“ ภารกิจพลังงาน เปลี่ยนอนาคต

สำหรับกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หันมาสู่การขับเคลื่อนรูปแบบใหม่ สิ่งที่หลายประเทศทำหลังโควิด-19 คือ การสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจแบบคาร์บอนต่ำ เพื่อให้ที่ยังสามารถส่งออกไปยังต่างประเทศ เกิดการจ้างงานสีเขียวใหม่ การสร้างโอกาสธุรกิจใหม่ เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนพร้อมแก้ไขปัญหาคาร์บอนฟุตพริ้นท์