svasdssvasds

“ดุสิตโมเดล” (TB V Find) โครงการยุติวัณโรคเชิงรุกในชุมชนด้วย เครื่องเอกซเรย์แบบพกพาผสานเทคโนโลยี AI จากฟูจิฟิล์ม

“ดุสิตโมเดล” (TB V Find)  โครงการยุติวัณโรคเชิงรุกในชุมชนด้วย เครื่องเอกซเรย์แบบพกพาผสานเทคโนโลยี AI จากฟูจิฟิล์ม

วัณโรคเป็นโรคที่มีความอันตรายและสามารถติดต่อผ่านทางอากาศ ถือเป็นภัยเงียบคร่าชีวิตผู้คนไปจำนวนไม่น้อย และถือเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขของโลก องค์การอนามัยโลกรายงานว่า มีผู้ป่วยวัณโรคในระดับโลกมากกว่า 10 ล้านคน และเสียชีวิตมากกว่า 1.5 ล้านคน และประเทศไทยเป็น 1 ใน 30 ประเทศที่มีภาระวัณโรคสูง (High Burden Countries) จากข้อมูลพบว่าประเทศไทยมีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่กว่า 111,000 คน ต่อปี และเสียชีวิต 12,000 – 14,000 คน ต่อปี หรือคิดเป็นกว่า 40 คนต่อวัน นั่นจึงทำให้วัณโรคยังคงเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่ชุมชนแออัดที่ยากต่อการเข้าถึงการตรวจรักษา การสร้างความตระหนักรู้และการตรวจคัดกรองเชิงรุกจึงเป็นกุญแจสำคัญในการยุติวัณโรคของประเทศ

พญ.ผลิน กมลวัทน์ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิกรมควบคุมโรคและที่ปรึกษากองวัณโรค กล่าวว่า กองวัณโรคประกาศแผนยุติวัณโรค “YES! We Can End TB - ยุติวัณโรค เราทำได้” ร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล กรุงเทพมหานคร และฟูจิฟิล์ม ประเทศไทย เดินหน้าโครงการตรวจคัดกรองวัณโรคเชิงรุกในชุมชน “ดุสิตโมเดล” (TB V Find) ด้วยเครื่องเอกซเรย์ดิจิทัลแบบพกพา FDR Xair ที่มาพร้อมระบบประมวล AI จากฟูจิฟิล์ม ซึ่งจัดซื้อโดยการสนับสนุนจากกองทุนโลก โดยตั้งเป้าควบคุมจำนวนผู้ป่วยให้เหลือต่ำกว่า 10 คนต่อประชากรแสนคน ภายในปี 2578

“ดุสิตโมเดล” โครงการยุติวัณโรคเชิงรุกในชุมชนด้วย เครื่องเอกซเรย์แบบพกพาผสานเทคโนโลยี AI จากฟูจิฟิล์ม

“การตรวจคัดกรองผู้ป่วยให้เจอโดยเร็วและรักษาให้หายถือเป็นหัวใจของการต่อสู้กับวัณโรค และเครื่องเอกซเรย์แบบพกพาที่มีระบบประมวลผล AI สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการคัดกรองได้เป็นอย่างดี หากพบเจอความผิดปกติของปอด ก็จะส่งไปตรวจเสมหะเพื่อยืนยันผลการติดเชื้อ และส่งตัวเข้าสู่กระบวนการรักษา ถ้าทำให้การออกตรวจคัดกรองเชิงรุกแบบดุสิตโมเดลเป็นวาระแห่งชาติได้ เราจะตรวจเจอผู้ป่วยได้อีกมากและควบคุมวัณโรคในเขตเมืองได้อย่างแท้จริง เราจะขยับใกล้เป้าหมายการยุติวัณโรคได้มากขึ้น” พญ.ผลิน กล่าวอย่างเชื่อมั่น

“ดุสิตโมเดล” เป็นโครงการชุมชนต้นแบบด้านบริการสุขภาพเขตเมืองในโรคต่างๆ ที่เชื่อมต่อการดูแลและส่งต่อผู้ป่วยไปยังคณะแพทยศาสต์วชิรพยาบาล ดำเนินการมาแล้ว มากว่า 5 ปีแล้ว ซึ่งได้โดยทำงานร่วมกับศูนย์บริการสาธารณสุข 7 แห่ง และคลินิกชุมชนอบอุ่น 4 แห่ง ครอบคลุมพื้น 4 เขต ได้แก่ เขตบางซื่อ เขตบางพลัด เขตดุสิต และเขตพระนคร เพื่อค้นหาผู้ป่วยวัณโรค ให้เข้าสู่ระบบการรักษาที่ถูกต้อง รวมถึงป้องกันการแพร่กระจายของวัณโรคในชุมชน และยังเป็นต้นแบบของการพัฒนาเครือข่าย Bangkok Health Zoning ในส่วนของกรุงเทพฯ ชั้นในอย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ

“ดุสิตโมเดล” โครงการยุติวัณโรคเชิงรุกในชุมชนด้วย เครื่องเอกซเรย์แบบพกพาผสานเทคโนโลยี AI จากฟูจิฟิล์ม

ถึงแม้วัณโรคจะเป็นโรคที่ติดต่อได้ง่ายและรุนแรง แต่ก็มีทางรักษาให้หายได้  หากตรวจพบโรคได้เร็วก็จะยิ่งทำให้การรักษาและการป้องกันการแพร่ระบาดมีประสิทธิภาพ  ที่ผ่านมา การตรวจคัดกรองในชุมชนมีข้อจำกัดจากรถเอกซเรย์ขนาดใหญ่ ไม่สามารถเข้าถึงพื้นที่ชุมชนได้และสร้างความตื่นตระหนกให้กับประชาชนในพื้นที่ ซึ่งทางแต่หลังจากที่กองวัณโรคได้นำเครื่องเอกซเรย์ดิจิทัลแบบพกพาที่มีขนาดเล็กกะทัดรัด มีน้ำหนักเบา และมีแบตเตอรี่ในตัว มาใช้ในการลงพื้นที่คัดกรองวัณโรคเชิงรุกในชุมชน ทีมแพทย์สามารถดำเนินการได้สะดวกขึ้นมาก อีกทั้งยังมีระบบประมวลผล AI จากฟูจิฟิล์มที่ช่วยแพทย์วินิจฉัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และแม่นยำยิ่งขึ้น

นายแพทย์พิภู ถาวรชีวิน อาจารย์สาขาโรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤตระบบการหายใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช แพทย์เจ้าของโครงการกล่าวว่า “ครึ่งหนึ่งของคนไข้วัณโรคที่มาพบหมอ ไม่แสดงอาการใดๆ เลย ถ้าเราตั้งรับอย่างเดียวคงสู้กับเชื้อวัณโรคได้ยาก  ดังนั้นจึงต้องดำเนินการคัดกรองเชิงรุกอย่างมีประสิทธิภาพ จึงจะช่วยยุติวัณโรคได้ ในปีๆ หนึ่งคลินิกวัณโรคของโรงพยาบาลวชิรพยาบาลมีคนไข้วัณโรคประมาณ 300-400 คน ซึ่งเยอะมาก เราเห็นว่าคนไข้หลายคนมาจากคลินิกเขตสุขภาพของเราเองในโซน 4 เขตของดุสิตโมเดล เราเลยต้องมอง ถ้าคนไข้ยังเยอะอยู่แบบนี้ เราต้องยุติวัณโรคเชิงรุกโดยที่ไม่ต้องรอผู้ป่วยเข้ามารักษา เราต้องทำการรุกเข้าไปในพื้นที่เสี่ยงระบาด จึงเกิดเป็นโครงการดุสิตโมเดลขึ้น”

“ดุสิตโมเดล” โครงการยุติวัณโรคเชิงรุกในชุมชนด้วย เครื่องเอกซเรย์แบบพกพาผสานเทคโนโลยี AI จากฟูจิฟิล์ม

กลุ่มเสี่ยงวัณโรคมี 7 กลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้สูงอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 65 ปี ที่สูบบุหรี่ หรือมีโรค COPD หรือ DM ร่วมด้วย, ผู้ป่วยโรคที่ทำให้ภูมิคุ้มกันลดลง เป็นเบาหวาน ความดัน, ผู้ติดเชื้อเอชไอวี, ผู้สัมผัสผู้ป่วยวัณโรคปอด, ผู้ใช้สารเสพติด ติดสุราเรื้อรัง, ผู้ต้องขัง ผู้อาศัยในสถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการ สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง และบุคลากรสาธารณสุข ซึ่งกลุ่มเหล่านี้มีโอกาสเสี่ยงของวัณโรคสูง เพราะฉะนั้นกลุ่มนี้จะได้สิทธิประโยชน์ในการเอกซเรย์ แต่หลายคนอาจยังไม่รู้ว่าประชาชนที่มีความเสี่ยงต่อโรควัณโรคมากที่สุดอีกกลุ่มคือกลุ่มคนวัยทำงานเนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีการเคลื่อนย้ายอยู่ตลอดเวลา

นายแพทย์ธีรฉัฐ ไชยธวัชพงษ์ นายแพทย์ปฏิบัติการศูนย์บริการสาธารณสุข 3 บางซื่อ เผยว่า  ที่ผ่านมาผู้ที่เข้ามาเข้ารับการคัดกรองจะเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ แต่กลุ่มเป้าหมายหลักจริงๆ คือวัยทำงานซึ่งก็มีด้วยกันหลากหลายอาชีพ เช่น วินมอเตอร์ไซด์ หรือเทศกิจ รวมทั้งกลุ่มที่มาจากคลินิกเสพติด คือผู้ที่ติดสารเสพติดมีเชื้อวัณโรคแฝง และส่วนใหญ่คนกลุ่มนี้มักจะมี HIV แฝงร่วมด้วย ซึ่งเมื่อภูมิคุ้มกันอ่อนแออยู่แล้วก็มักจะเกิดวัณโรคขึ้นมาได้

พื้นที่เขตบางซื่อมีผู้ป่วยวัณโรคราว 50 รายต่อปี และผู้เสี่ยงต่อการติดเชื้ออีกราว 150 ราย ซึ่งตัวเลขมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกๆ ปี เพราะหลายพื้นที่ของเขตเป็นชุมชนแออัด โดยเฉพาะพื้นที่ชุมชนตึกแดง ซึ่งเป็นพื้นที่ชุมชนแออัดที่พบการติดเชื้อวัณโรคสูง และยังพบเรื่องของสารเสพติดร่วมด้วย เราจึงเริ่มการตรวจคัดกรองเชิงรุก เป็นพื้นที่แรก นอกจากนี้ เราเข้าใจดีว่าการเดินทางไปยังศูนย์ฯ หรือโรงพยาบาล มีค่าใช้จ่ายที่ประชาชนอาจไม่พร้อมแบกรับ ดังนั้น เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาให้ได้เยอะและเร็วที่สุด การออกตรวจเชิงรุกจึงเป็นวิธีการยุติวัณโรคที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

“ดุสิตโมเดล” โครงการยุติวัณโรคเชิงรุกในชุมชนด้วย เครื่องเอกซเรย์แบบพกพาผสานเทคโนโลยี AI จากฟูจิฟิล์ม

พญ.ณัฐินี อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานโรคติดต่อทางสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร กล่าวว่า “ผู้ป่วยวัณโรค ทั้งชาวไทยและแรงงานข้ามชาติ สามารถเข้าสู่ระบบและการรักษาฟรี ได้ที่ ศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง โดยมีคลินิก แม่ข่ายวัณโรคอยู่ 19 แห่ง ที่มีแพทย์และพยาบาลที่ผ่านการอบรมเรื่องการรักษาวัณโรคโดยเฉพาะ 

“ทาง กทม. มีโครงการนำรถเอกซเรย์เคลื่อนที่ 3 คัน ลงพื้นที่ค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในพื้นที่เสี่ยงอย่างชุมชน หรือโรงงานอยู่เป็นประจำ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่ก็มีข้อจำกัดในการลงพื้นที่ในชุมชนที่ยากเข้าถึง และพบว่านวัตกรรมล้ำสมัยอย่างเครื่องเอกซเรย์ดิจิทับแบบพกพา  เพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจคัดกรองเป็นอย่างมาก ช่วยให้เข้าถึงประชาชนในพื้นที่แออัดได้มากขึ้น

พญ.ณัฐินี อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานโรคติดต่อทางสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร

“ดุสิตโมเดล” โครงการยุติวัณโรคเชิงรุกในชุมชนด้วย เครื่องเอกซเรย์แบบพกพาผสานเทคโนโลยี AI จากฟูจิฟิล์ม

ฟูจิฟิล์ม ตระหนักถึงความเร่งด่วนในการยุติการแพร่ระบาดของวัณโรค และได้ร่วมทำงานใกล้ชิดกับหน่วยงานสาธารณสุขต่างๆ ในประเทศไทยและในอีกหลายประเทศทั่วโลก พร้อมนำเครื่องเอกซเรย์ FDR Xair พร้อมระบบประมวลผล AI เพื่อใช้ในการตรวจคัดกรองวัณโรคได้อย่างสะดวก แม่นยำ รวดเร็ว โดยทีมแพทย์สามารถพกไปออกตรวจในชุมชนได้ ใช้เวลาตรวจรวดเร็วเพียง 1 นาที ภายใต้จุดมุ่งหมายในการ “แต่งแต้ม รอยยิ้มให้โลกของเรา” ฟูจิฟิล์มจะยังคงเดินหน้าสร้างสุขภาวะที่ดีขึ้นให้แก่ผู้คนทั่วโลก พร้อมเดินหน้าขับเคลื่อนเป้าหมายในการยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างรอยยิ้มให้แก่คนอีกมากมายผ่านนวัตกรรมอันล้ำสมัย

“ดุสิตโมเดล” โครงการยุติวัณโรคเชิงรุกในชุมชนด้วย เครื่องเอกซเรย์แบบพกพาผสานเทคโนโลยี AI จากฟูจิฟิล์ม

 

 

related