svasdssvasds

คณะพยาบาลฯ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จับมือจ.ตาก พัฒนาระบบส่งผู้ป่วยฉุกเฉินในพื้นที่ห่างไกล

คณะพยาบาลฯ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จับมือจ.ตาก พัฒนาระบบส่งผู้ป่วยฉุกเฉินในพื้นที่ห่างไกล

ติดตามข่าวสารwได้ที่ https://www.springnews.co.th

คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ส่งทีมร่วมสังเกตุการณ์เพื่อพัฒนาโครงการวิจัย โครงการพัฒนาระบบการลำเลียงผู้ป่วยฉุกเฉินทางเรือ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้แทนภาคประชาชน ได้แก่ นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ,นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดตาก ,ผู้อำนวยการสำนักงานการแพทย์ฉุกเฉินสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ,ผู้อำนวยการเขื่อนภูมิพล การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ,นายอำเภอสามเงา ,ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่าสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 14 ,ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาพิษณุโลก และกำนันตำบลบ้านนา ในฐานะผู้แทนภาคประชาชน

เพื่อร่วมมือในโครงการพัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินทางเรือ โดยพบว่า ยังมีประชากร ในเขตพื้นที่ บางส่วน ของอำเภอสามเงา ซึ่งอยู่เหนือขึ้นไปจากอ่างเก็บน้ำของเขื่อนภุมิพล จังหวัดตาก รวมทั้งเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแม่ตื่น กรมป่าไม้ ที่จะต้องเข้าปฏิบัติภารกิจ ในพื้นที่ ต้องประสบพบกับความยากลำบาก เมื่อเกิดปัญหาด้านสุขภาพเจ็บป่วยฉุกเฉิน เช่น โรคในกลุ่มหลอดเลือดสมอง และหัวใจ หรือ ได้รับอุบัติเหตุต่างๆ โดยเฉพาะในภารกิจการดับไฟป่า ซึ่งจะต้องนำ ผู้ป่วยไปรับการรักษาด้วยความรวดเร็ว แต่ด้วยการเดินทางที่ยากลำบาก ทั้งทางบก และทางเรือ ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาลำเลียงผู้ป่วยมากกว่า 5 ชั่วโมง กว่าจะถึงมือแพทย์

อีกทั้งการสื่อสาร ก็ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ รศ.ดร.ทัศนา บุญทอง ในฐานะผู้อำนวยการโครงการวิจัย ได้เล็งเห็น ถึงประโยชน์ ของโครงการวิจัยเรื่องนี้ เพราะมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ เรื่องการลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการสุขภาพ และเป็นการสนองพระราชปณิธาน ขององค์ประธานราชวิทยาลัย ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี

จึงอนุมัติโครงการโดยมอบให้ น.ส.มัตติกา ใจจันทร์ อาจารย์ประจำคณะพยาบาลศาสตร์ หัวหน้าโครงการวิจัย คณะพยาบาลศาสตร์ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้ลงพื้นที่ สังเกตการณ์ เก็บข้อมูล เพื่อศึกษาสถานการณ์ทางสุขภาพ และการจัดการภาวะเจ็บป่วยฉุกเฉิน ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์เบื้องต้นในทำการวิจัย โครงการพัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินทางเรือ ในพื้นที่ตำบลบ้านนาอำเภอสามเงาจังหวัดตาก โดยวันที่ 5-6กุมภาพันธ์ 2563 ทางจังหวัดตากได้กำหนดให้มี การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาและลำเลียงผู้ป่วยฉุกเฉินทางน้ำ เครือข่ายบริการการแพทย์ฉุกเฉินอำเภอสามเงาจังหวัดตาก ณห้องประชุมภูหลวงอาคารประชาสัมพันธ์เขื่อนภูมิพลอำเภอสามเงาจังหวัดตาก

ซึ่งในวันนี้ (6 ก.พ. 63) จะมีการซ้อมแผนการนำส่งผู้ป่วยฉุกเฉินทางน้ำ 5 กลุ่ม เพื่อเก็บข้อมูลในการวิจัย เพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติจริง ให้เกิดประโยชน์สูงสุด กับ ประชาชน เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ครอบครัวของเจ้าหน้าที่ ที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง โดยเตรียมพัฒนาเรือพยาบาล หรือ สถานพยาบาลลอยน้ำต้นแบบในอนาคต

related