svasdssvasds

เทียบผู้รับสัมปทาน ประเทศอื่น รายได้- ผลตอบแทนสนามบิน

เทียบผู้รับสัมปทาน ประเทศอื่น รายได้- ผลตอบแทนสนามบิน

สนามบินสุวรรณภูมิมีผู้โดยสารมากถึง 60 ล้านคน ซึ่งการจับจ่ายใช้สอยจะมากขึ้นตามจำนวนผู้โดยสาร และร้านค้าปลอดอากรในสนามบินเป็นแห่งรายได้ที่สำคัญ การบริหารพื้นที่ในสนามบินสุวรรณภูมิ ต่างจากสนามบินในประเทศอื่นๆของภูมิภาคแค่ไหน?

เทียบผู้รับสัมปทาน- รายได้- ผลตอบแทนสนามบิน

สนามบินสุวรรณภูมิ ได้รับการจัดอันดับ จากสกายแทรกซ์ปี 2018 ให้เป็นสนามบินที่ดีที่สุดในโลก อันดับที่ 36 จาก 100 แห่ง ซึ่งขยับขึ้นจากปีที่แล้วที่อยู่ในอันดับที่ 38 การจัดอันดับนั้น ได้รับการโหวตจากนักเดินทางทั่วโลก จากความสะดวกสบายในการเดินทาง ดัชนี ที่ถูกมาใช้ในการคำนวณ ได้แก่ การเช็คอิน การเดินทางขาออก การต่อเครื่อง ร้านค้าปลอดอากร การรักษาความปลอดภัย ตั้งแต่ตรวจคนเข้าเมืองจนถึงประตูเครื่องบิน และความพอใจด้านศุลกากร

เมื่อพิจารณาคะแนน ความพอใจ ของนักเดินทาง ด้านความสะดวกในการจับจ่ายใช้สอย และตัวเลือกของร้านค้า สนามบินสุวรรณภูมิกลับคะแนนน้อยสุด เมื่อเทียบ กับสนามบิน ในภูมิภาคเช่น ชางงี ของสิงคโปร์ ,เชคแลปก๊อกของฮ่องกง ,อินชอน ของเกาหลีใต้ และสนามบินนาริตะของญี่ปุ่น โดยมีการระบุ ถึงตัวเลือกของร้านค้า ที่มีไม่มาก แบรนด์สินค้า ไม่มีให้เลือกมาก ส่วนราคาอาหารแพงกว่าปกติ หลายเท่าตัว

ทั้งหมดนี้ เป็นหนึ่งในสาเหตุ ที่ทำให้ นักเดินทาง ใช้จ่ายน้อยเมื่อเทียบกับสนามบินอื่นๆ ในภูมิภาค โดยมีตัวเลขการใช้จ่าย เฉลี่ยอยู่ที่ 46 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อคน ขณะที่ สนามบินนาริตะ ค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 62 ดอลลาร์สหรัฐ และฮาเนดะอยู่ที่ 60 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่สนามบินอินชอน ที่มีขนาดใกล้เคียงกัน กับสนามบินสุวรรณภูมิ มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยสูงถึง 70 ดอลล่าร์สหรัฐฯ

ด้านสมาคมค้าปลีกไทยได้มีการศึกษารายละเอียด และรูปแบบร้านค้าปลอดอากร ในไทย พบว่า แนวทางที่เหมาะสมคือ การเปิดให้มีการแข่งขันแบบเสรี และเป็นธรรม เพื่อให้เกิดการพัฒนาของธุรกิจ

และเมื่อมีการเปรียบเทียบถึงจำนวนเอกชน ที่เข้าไปบริหารร้านค้า และพื้นที่จะพบว่า สนามบินอินชอน  ของเกาหลีใต้ มีเอกชนมากถึง 6 ราย ,เชคแลปกอก ของฮ่องกง มี 4 ราย ,สนามบินนาริตะ ของญี่ปุ่นมี 4 ราย ขณะที่ สนามบินชางงี ของสิงคโปร์ มี 3 ราย ส่วนสนามบินสุวรรณภูมิ มีรายเดียวคือ คิงพาวแวอร์

นายฉัตรชัย ดวงรัตนพันธ์ ผู้อำนวยการบริหาร สมาคมผู้ค้าปลีกไทย บอกว่า การเปิดสัมปทานสนามบิน โดยทั่วไปมี 3 รูปแบบ หนึ่งคือแบบผูดขาด คือเจ้าเดียวรับไปทั้งหมด 2 คือบายโลเคชั่น คือเทอร์มินัล 1 ในเจ้าหนึ่ง อีกเทอร์มิทัลให้อีกเจ้า แต่ ณ ปัจจุบัน เริ่มใช้วิธีที่เรียกว่า บายแคททิกอรี่ คือการแบ่งไปตามกลุ่มสินค้า เช่น บริษัทเอ มีความเชี่ยวชาญเก่งด้านไวน์ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ก็รับไปดำเนินการ บริษัทบี เก่งเรื่องแฟชั่น ,บริษัทซีเก่งเรื่องเครื่องสำอาง ต่างก็จะไปดูแลและบริหารจัดการ

ซึ่งจากการศึกษา จากสมาคมผู้ค้าปลีกไทย พบว่า ผลประโยชน์ ที่การท่าอากาศยาน จะได้รับ จะเพิ่มขึ้นอีกประมาณกว่า 30,000 ล้านบาท และอายุสัญญา ควรจะอยู่ที่ประมาณ 5 ปี เพราะพื้นที่ดิวตี้ฟรี ไม่ต่างจากศูนย์การค้าขนาดใหญ่ ที่จะมีการรีโนเวท ครั้งใหญ่ทุกๆ 5 ปี และพฤติกรรมผู้บริโภค เปลี่ยนไปเร็วมาก จะอยู่เป็น 10 ปี คงเป็นไปไม่ได้ ต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

นอกจากนี้ ยังมีการศึกษา ถึงผลตอบแทนให้กับสนามบิน โดยสนามบินปักกิ่ง จ่ายผลตอบแทนมากถึงร้อยละ 48 ,สนามบินชางงี ร้อยละ 46 ,สนามบินอินชอน ร้อยละ 40 ขณะที่ในยุโรปร้อยละ 40 ส่วนสนามบินสุวรรณภูมิ  สูงสุดอยู่ที่ร้อยละ 20  ของยอดขายต่อเดือน

ส่วนการประมูลสัมปทานรอบใหม่ ของการท่าอากาศยาน ในครั้งนี้ ทางผู้บริหารเน้นย้ำว่า กติกาที่ออกมาจะต้องทำให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม ซึ่งทั้งหมดนี้ จะเป็นผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับการท่าอากาศยานไทย และเป็นประโยชน์ของประเทศ เปิดหลักเกณฑ์! สัมปทาน ดิวตี้ฟรี สนามบินสุวรรณภูมิ

related