svasdssvasds

ปักกิ่งพลิกวิกฤต อดีตค่าฝุ่นสูงที่สุดในโลก สู่เมืองที่อากาศสะอาดหมดจด

ปักกิ่งพลิกวิกฤต อดีตค่าฝุ่นสูงที่สุดในโลก สู่เมืองที่อากาศสะอาดหมดจด

ถ้านโยบายรัฐดี เมืองก็ดี ปักกิ่ง ตัวอย่างเมืองที่เคยมีค่าฝุ่นสูงที่สุดในโลก สู่การเป็นเมืองที่มีอากาศสะอาดหมดจด ด้วยพลังของประชาชน อากาศสะอาดไม่ไกลเกินเอื้อม

ปักกิ่ง เมืองที่เคยเป็นที่หนึ่งด้านมลพิษฝุ่นควัน แต่กลับสามารถพลิกผันให้เป็นเมืองที่ไร้ฝุ่นได้ เรื่องนี้ไม่ใช่เพราะเลือดกลุ่มบี แต่เป็นเพราะนโยบายของรัฐและการกดดันจากภาคประชาชน

วิกฤตฝุ่นควันในไทยตอนนี้ หันไปทางไหนก็ขมุกมัวไปด้วยฝุ่น ส่งผลเสียต่อสุขภาพครั้งใหญ่จนกทม.ต้องออกโรงเตือนประชาชนว่าหลีกเลี่ยงการออกนอกบ้านและกิจกรรมกลางแจ้ง แต่อย่าลืมนะว่า อากาศสะอาดเป็นสิทธิของคนทุกคน อย่าลืมติดตามพรบ.อากาศสะอาดกันด้วยนะ

ดังนั้น สปริงนิว์ในคอลัมน์ Keep The World จึงอยากชวนดูโมเดลการทำสงครามฝุ่นของกรุงปักกิ่ง ที่สามารถบรรลุเป้าหมายในการทำอากาศให้สะอาดได้ จากอดีตเคยเป็นเมืองที่มีอากาศแย่ที่สุดเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก เขาทำได้ยังไง?

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ปักกิ่งเมื่อก่อนสภาพอากาศแย่ ถึงขั้นเคยขึ้นหน้าหนึ่ง The New York Times ในปี 1998 ด้วย กรุงปักกิ่งเป็นเหมือนหลาย ๆ ประเทศ อดีตมีการใช้จักรยานจำนวนมาก จีนเคยถูกขนานนามว่าเป็นเมืองแห่งจักรยานด้วย แต่พอความก้าวหน้าทางยานยนต์เข้ามา รถใช้น้ำมันเข้ามาทำให้สภาพอากาศภายในเมืองเริ่มแย่ขึ้นบวกกับการทำเหมืองถ่านหินเพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าของยานยนต์

ย้อนกลับไปในปี 2013 มลพิษทางอากาศของปักกิ่งรุนแรง จนถึงขั้นที่มี PM 2.5 อยู่ที่ 993 ไมโครกรัม/ลบ.ม. จนก่อให้เกิดการประท้วง สื่อต่าง ๆ ให้ความสนใจ ความกังวลและความโกรธของสาธารณชนหลั่งไหลออกมาจำนวนมากในช่วงเวลานั้น กลายเป็นการกดดันภาครัฐไปโดยปริยาย

นอกจากนี้ การกดดันนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯด้วย ที่เข้ามาติดตั้งเครื่องตรวจวัดมลพิษทางอากาศให้ และรายงานสภาพอากาศอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความตระหนักรู้ต่อสาธารณชน และมันก็ทำให้คนรู้ว่า อากาศแบบนี้ไม่ไหวแล้วนะ

ในความเป็นจริง ในช่วงต้นทศวรรษ 2000 ปักกิ่งพยายามลดมลพิษทางอากาศมาตั้งแต่ก่อนการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในปี 2008 แล้ว เนื่องจากสภาพอากาศของปักกิ่งถูกทั่วโลกจับตามองอยู่

ดังนั้น พอรัฐถูกประชาชนกดดันแบบนี้ อีกทั้งกลัวขายหน้าชาวต่างชาติ  รัฐจึงต้องออกนโยบายและประกาศสงครามกับฝุ่น โดยอย่างแรกเลย คือการสั่งระงับการปล่อยมลพิษจากอุตสาหกรรมเหมืองถ่านหิน โดยการเปลี่ยนจากพลังงานถ่านหินไปเป็นแก๊สแทน

พออุตสาหกรรมการเผาไหม้ต่าง ๆ ถูกสั่งระงับ รัฐก็ได้เยียวยาอุตสาหกรรมด้วยการให้เงินรางวัลที่ได้มาจากการลดการปล่อยก๊าซได้

อีกทั้ง ในภาคประชาชนรัฐก็ให้เงินอุดหนุนเพื่อให้บ้านของทุกคนเปลี่ยนหม้อต้มถ่านหินที่มักใช้ทำความร้อนในบ้านช่วงฤดูหนาว ไปเป็นหม้อแบบใช้แก๊สแทน นั่นเลยทำให้ในปี 2017-2018 ความร้อนจากถ่านหินลดลงไปอย่างก้าวกระโดด

อีกนโยบายที่น่าสนใจ นั่นคือการพยายามผลักดันการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในวงกว้าง ยานยนต์ก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้ปักกิ่งมีมลพิษ จีนเป็นผู้นำด้านการขนส่งและการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ผู้คนในจีนหันมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้ากันมากขึ้น

ปักกิ่งอากาศสะอาดขึ้น Cr. Envato ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากนโยบายอากาศสะอาดนี่เอง เพราะว่า นโยบายในปี 2013 นี่เอง ใครที่ซื้อรถใช้น้ำมันจะต้องมีป้ายทะเบียนเฉพาะ ว่ารถคันนี้ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล มีการเข้มงวดเรื่องการวัดการปล่อยมลพิษ แต่สำหรับใครที่ต้องการซื้อรถยนต์ไฟฟ้า ก็จะสามารถหาซื้อได้ง่ายขึ้น ราคาดีกว่า มีสถานีรองรับพร้อมทั่วเมือง ดังนั้น กรุงปักกิ่งจึงมียานยนต์ไฟฟ้าเยอะมากเกือบทั่วเมืองเลยค่ะ เพราะได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐนั่นเอง

นโยบายเหล่านี้ ส่งผลให้กรุงปักกิ่งมีอากาศสะอาดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ช่วงฤดูหนาวปลายปี 2017-2021 ความเข้มข้นของ PM2.5 ลดลงไปถึง 63% เหลือเพียง 33 ไมโครกรัมเท่านั้น และในปี 2021 ปักกิ่งก็ประกาศว่าคุณภาพอากาศของเขาสะอาดหมดจดแล้ว โดยใช้เวลาเกือบ 10 ปีในการแก้ปัญหา

สุดท้านนี้ พลังของประชาชนมีความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองขนาดไหน ขึ้นอยู่กับว่ารัฐจะรับฟังและเปลี่ยนแปลงอย่างไร ใช้กลยุทธ์แบบไหนเพื่อแก้ปัญหาภายในประเทศ

related