svasdssvasds

พบ "เพนกวินด่าง" พันธุกรรมหายาก สีขาวล้วนทั้งตัว โผล่ที่ประเทศชิลี

พบ "เพนกวินด่าง" พันธุกรรมหายาก สีขาวล้วนทั้งตัว โผล่ที่ประเทศชิลี

สัตว์หายากโผล่อีกแล้ว ชิลีพบ "เพนกวินด่าง" สายพันธุ์เจนทู ลำตัวขาวล้วน สวยงามดึงดูดสายตาผู้ล่า ผู้เชี่ยวชาญเตือน ยิ่งเด่นยิ่งมีภัย

ณ สถานีวิจัยกาเบรียล กอนซาเลซ วิเดลา ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ขั้วโลกใต้ของประเทศชิลี ได้รายงานว่า เมื่อช่วงต้น ม.ค.ที่ผ่านมา ทางสถานีได้พบกับ เพนกวินด่าง ซึ่งเป็นเพนกวินสายพันธุ์เจนทู (Gentoo) ถือเป็นเพนกวินที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกรองจากเพนกวินจักรพรรดิและเพนกวินราชา โดยมีความสูงเต็มที่มากถึง 75 เซนติเมตร

ดิเอโก เปนาโลซา สัตวแพทย์ประจำศูนย์อนุรักษ์ซาฟารพาร์ต อธิบายว่า ภาวะด่างที่เกิดขึ้นในเพนกวินแบบนี้ค่ะ เกิดจากสภาพทางพันธุกรรมอย่างหนึ่ง ที่ทำให้ขนของสัตว์สูญเสียเม็ดสีไป ดังนั้น ผลลัพธ์คือบริเวณลำตัวก็จะมีสีขาวเผือก ไม่มีสีดำแบบนี้นั่นเอง

ซึ่งจริง ๆ แล้ว การที่เพนกวินมีสีขาวล้วนหายากแบบนี้ เหมือนจะน่ารักและสวยงาม แต่จริง ๆ แล้ว ไม่เลย ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า สีขาวเด่นแบบนี้ จะทำให้เพนกวินเป็นจุดสนใจจากผู้ล่ามากขึ้น ดังนั้น เพนกวินตัวนี้ก็ต้องระมัดระวังตัวให้ดี หรือถ้าคิดในแง่บวก หากไปอยู่กับพื้นที่ที่มีหิมะขาวโพลนก็อาจจะกลมกลืนกับหิมะได้

เพนกวินด่าง สายพันธุ์เจนทู (Gentoo Penguin)

แต่อย่าลืมว่า ภาวะโลกร้อนก็กำลังเป็นภัยคุกคามสำคัญของเพนกวินเช่นกัน เพราะอุณหภูมิที่สูงขึ้นทั่วโลก ทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ซึ่งก็หมายความว่า หิมะของพวกมันก็จะลดน้อยลงเรื่อย ๆ นั่นเอง ซึ่งเรื่องนี้กระทบกับสัตว์ขั้วโลกทุกสายพันธุ์ ไม่ใช่แค่เพนกวิน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related