svasdssvasds

แนะนำวิธีจัดเก็บ “ขยะอันตราย” พร้อมวิธีทิ้ง ป้องกันการปนเปื้อนของสารพิษ

แนะนำวิธีจัดเก็บ “ขยะอันตราย” พร้อมวิธีทิ้ง ป้องกันการปนเปื้อนของสารพิษ

การทิ้งขยะจำเป็นจะต้องมีการคัดแยกขยะ เพื่อจะแยกประเภท นำไปทิ้งได้อย่างถูกวิธี อย่าง “ขยะอันตราย” ยิ่งต้องมีวิธีการจัดเก็บที่ถูกต้อง เพื่อที่เป็นการป้องกันการปนเปื้อนของสารพิษ ที่อาจเกิดขึ้น

การจัดเก็บขยะอันตรายแน่นอนว่าจะต้องมีความสำคัญมากกว่าขยะทั่วไป เพราะขยะอันตรายเหล่านี้ อาจทำให้เกิดสารพิษปนเปื้อนไปกับ น้ำ หรือ ดิน ได้ นางสาววรรณดี สนชัย ผู้อำนวยการเขตดอนเมือง จึงได้ออกมาแนะนำประชาชน ถึงการจัดเก็บขนะอันตรายในบ้าน ที่มีสารอันตราย และเป็นขยะอันตรายต่อชุมชน ซึ่งมีวิธีเก็บให้ปลอดภัย ดังนี้

  1. ปิดฝาภาชนะให้แน่น เพื่อไม่ให้ผลิตภัณฑ์ระเหย หรือรั่วไหลได้
  2. เก็บผลิตภัณฑ์ไว้ในตู้ที่ล็อก หรือห่างไกลจากเด็กและสัตว์เลี้ยง
  3. เก็บผลิตภัณฑ์ไว้ในที่แห้งและเย็น ให้ห่างไกลจากแหล่งที่มีความร้อน หรือสามารถติดไฟได้
  4. ให้เก็บผลิตภัณฑ์ในภาชนะบรรจุเดิม ที่มีสัญลักษณ์หรือข้อความระบุชัดเจน ถ้าภาชนะบรรจุเสื่อม ให้ใส่ผลิตภัณฑ์ พร้อมภาชนะที่บรรจุ ลงในถึงพลาสติก พร้อมปิดฝาให้สนิท
  5. แยกเก็บผลิตภัณ์ตามลักษณะความเป็นอันตราย สำหรับวิธีทิ้งถ่านไฟฉายใช้แล้ว ให้เก็บรวบรวมไว้ในถุง ติดป้ายคำว่า “ขยะพิษ” เพื่อแจ้งให้คนเก็บขยะทราบ หรือหากมีซากถ่านไฟฉายเป็นจำนวนมาก สามารถแจ้งฝ่ายรักษาความสะอาดของเขต ซึ่งวิธีการนี้ สามารถใช้ได้กับหลอดฟลูออเรสเซนต์ แบตเตอรี่มือถือ กระป๋องสเปรย์ หรือตลับหมึกพิมพ์ด้วย

ถ้าหากพวกเราช่วยกันคัดแยกขยะอันตรายเหล่านี้ เจ้าหน้าที่จะได้นำไปกำจัดอย่างถูกวิธี เนื่องจากหากนำไปรวมกับขยะทั่วไป อาจทำให้สารพิษออกมาปนเปื้อนกับดินได้ ซึ่งจะส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมของชุมชนอย่างแน่นอน

ขอบคุณข้อมูลจาก สสส.

related