svasdssvasds

ทางเท้าที่ของใคร ? มนุษย์ป้า จอดรถเก๋งไม่แคร์ใคร โดนถ่ายคลิปย้อนถาม "ถ่ายอะไร"

ทางเท้าที่ของใคร ? มนุษย์ป้า จอดรถเก๋งไม่แคร์ใคร โดนถ่ายคลิปย้อนถาม "ถ่ายอะไร"

ติดตามข่าวสารwได้ที่ https://www.springnews.co.th

เพจ เฮีย โพสต์คลิปพร้อมข้อความระบุว่า ฟุตบาธมันคือทางคนเดิน นะครับไม่ใช่ที่จอดรถ #ถ่ายอะไร #ถ่ายมึงไงเจ๊ #แหล่งที่มาแจ้งว่าจอดแม่งทุกวัน #บิ๊กซีพานควาย

https://www.facebook.com/HearThailandOfficial/videos/402601763836538/

https://www.facebook.com/HearThailandOfficial/videos/402601763836538/

https://www.facebook.com/HearThailandOfficial/videos/402601763836538/

https://www.facebook.com/HearThailandOfficial/videos/402601763836538/

กฎหมายกรณีรถจอดขวางหน้าบ้าน ปิดทางเข้าออก และกีดขวางการจราจร 4 กรณี คือ

กรณีแรก จอดรถขวางทางเข้าออกหน้าบ้าน ซึ่งการจอดรถขวางประตูทางเข้าออกบ้านผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นที่ส่วนบุคคล หรือที่สาธารณะถือเป็นการก่อความเดือดร้อนรำคาญใจให้กับผู้อื่น มีความผิดตามกฎหมายอาญา มาตรา 397 โทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน และปรับไม่เกิน 10,000 บาท รวมทั้งสามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายในทางแพ่งได้ ตามมาตรา 420 และถ้าเป็นที่สาธารณะยังมีความโทษทางอาญาตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก เจ้าหน้าที่สามารถออกใบสั่ง ยกรถได้ ทั้งนี้ หากความเสียหายหรือทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ประชาชนมีสิทธิแจ้งความร้องทุกข์ด้วย แต่เนื่องจากขั้นตอนการฟ้องร้องเยียวยาทางกฎหมายยาวนาน จึงไม่ค่อยมีคนฟ้องร้อง ความมักง่ายลักษณะนี้จึงเกิดขึ้นบ่อย

ส่วนกรณีที่ 2 ไม่ได้จอดรถขวางหน้าบ้าน แต่จอดด้านข้างกำแพง สลับฟันปลา หรือทำให้ผู้อื่นสัญจรไม่สะดวก ถ้าเป็นพื้นที่สาธารณะ และเป็นพื้นที่ห้ามจอด ผิดกฎหมายจราจรทางบก ถ้าไม่ได้เป็นพื้นที่ห้ามจอด แต่สร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่น เจ้าทุกข์สามารถฟ้องร้องดำเนินคดีได้ทั้งแพ่งและอาญา

ทางเท้าที่ของใคร ? มนุษย์ป้า จอดรถเก๋งไม่แคร์ใคร โดนถ่ายคลิปย้อนถาม "ถ่ายอะไร"

กรณีที่ 3ถ้าบ้านอยู่ก่อนมีตลาด แหล่งการค้า และทำให้ประชาชนเดือดร้อน จากการจอดกีดขวาง ถ้าเป็นโครงการของรัฐ ถือว่ารัฐริดรอนสิทธิ์ประชาชน แต่ถ้าเป็นเอกชน อาจเข้าข่ายว่าเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย การบังคับใช้กฎหมายจะเทียบกับกรณีของรัฐไม่ได้ ต้องพิจารณากันเป็นรายกรณีไป ศาลอาจขอให้เลิกกิจการ หรือเยียวยาความเสียหาย

และสำหรับกรณีที่ 4 การนำกรวยและเก้าอี้ไปตั้งขวางพื้นที่ไม่ให้ใครมาสร้างความเดือดเนื้อร้อนใจ หากเป็นพื้นที่ส่วนบุคคลสามารถทำได้ แต่หากเป็นที่สาธารณะ เช่น ถนน ไม่สามารถทำได้ เพราะจะขัด พ.ร.บ.รักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย

related