svasdssvasds

วิทยาศาสตร์ฯ มธ. คาดการณ์ผู้ติดเชื้อเป็น "ศูนย์" สิ้นเดือน มิ.ย. นี้

วิทยาศาสตร์ฯ มธ. คาดการณ์ผู้ติดเชื้อเป็น "ศูนย์" สิ้นเดือน มิ.ย. นี้

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คาดการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด 19 เป็น "ศูนย์" สิ้นเดือนมิถุนายนนี้ หากพบผู้ติดเชื้อลดลงวันละ 5 เปอร์เซ็นต์

ผู้เชี่ยวชาญด้านคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือ SCI-TU คาดการณ์จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด 19 รายใหม่ มีแนวโน้มเป็น "ศูนย์" ภายในสิ้นเดือนมิถุนายน 2563 หากพบผู้ติดเชื้อลดลงต่อเนื่องวันละ 5 เปอร์เซ็นต์ ของยอดผู้ติดเชื้อวันก่อนหน้า

วิทยาศาสตร์ฯ มธ. คาดการณ์ผู้ติดเชื้อเป็น \"ศูนย์\" สิ้นเดือน มิ.ย. นี้

รองศาสตราจารย์ ดร.วราฤทธิ์ พานิชกิจโกศลกุล อาจารย์ประจำสาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. (SCI-TU) กล่าวว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 (COVID-19) ถือเป็นอุบัติการณ์ครั้งใหม่ ที่ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยต้องปรับกระบวนการตั้งรับใหม่ในหลายมิติ ปรากฏชัดผ่านตัวเลขผู้ติดเชื้อในที่ยังมีความแปรผัน

โดยในประเทศไทยพบ อัตราการเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยของผู้ติดเชื้อรายใหม่ 19.2 เปอร์เซ็นต์ต่อวัน ในเดือนมีนาคม แต่ในเดือนเมษายนมีการปรับลดลงเหลือ 4.8 เปอร์เซ็นต์ต่อวัน

ดังนั้น เพื่อให้ไทยสามารถประเมินความเสี่ยงของตัวเลขผู้ติดเชื้อในอนาคต ตามหลักอนาคตศาสตร์ได้อย่างแม่นยำ คณะวิทยาศาสตร์ฯ มธ. โดยสาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ จึงจัดทำ "กราฟประเมินยอดผู้ติดเชื้อโควิด 19" โดยอาศัยหลักการวิเคราะห์ด้านคณิตศาสตร์และสถิติ โดยพิจารณา 2 ปัจจัย คือ จำนวนผู้ติดเชื้อสะสมและเวลา โดยพบผลลัพธ์แม่นยำสูง 99%

วิทยาศาสตร์ฯ มธ. คาดการณ์ผู้ติดเชื้อเป็น \"ศูนย์\" สิ้นเดือน มิ.ย. นี้

เหตุผลที่เลือกใช้หลักการวิเคราะห์จาก 2 ปัจจัยดังกล่าว เนื่องจากเส้นกราฟของจำนวนผู้ติดเชื้อสะสม ระหว่างวันที่ 15 มีนาคม ถึง 9 เมษายน 2563 มีลักษณะเป็นเส้นโค้ง และไม่มีลักษณะชันขึ้นอย่างรวดเร็ว (ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข)

ทั้งนี้ หากพบยอดผู้ติดเชื้อมีแนวโน้มปรับลดลงวันละ 5 เปอร์เซ็นต์ ของยอดผู้ติดเชื้อวันก่อนหน้าอย่างต่อเนื่อง นับเป็นสัญญาณที่ดีของไทย ในการพบยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่เป็น 0 ราย ภายในสิ้นเดือนมิถุนายน 2563

วิทยาศาสตร์ฯ มธ. คาดการณ์ผู้ติดเชื้อเป็น \"ศูนย์\" สิ้นเดือน มิ.ย. นี้

อย่างไรก็ตาม การคาดการณ์ดังกล่าว จะเป็นจริงก็ต่อเมื่อพฤติกรรม อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ อาทิ ทำงานที่บ้าน (Work from home) เลี่ยงการเดินทางข้ามจังหวัดหรือพื้นที่ชุมชน สวมใส่หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย และล้างมือให้สะอาดหลังหยิบจับหรือสัมผัสสิ่งต่างๆ สัมฤทธิ์ผลทั่วประเทศ

วิทยาศาสตร์ฯ มธ. คาดการณ์ผู้ติดเชื้อเป็น \"ศูนย์\" สิ้นเดือน มิ.ย. นี้

อย่างไรก็ดี พฤติกรรมของบุคคล ยังเป็นสาเหตุหลักของการเพิ่มจำนวนผู้ติดเชื้ออย่างมีนัยยะสำคัญ เนื่องจากอัตราการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยในช่วงที่ผ่านมา พบว่า เป็นบุคคลที่เดินทางกลับจากต่างประเทศกลุ่มเสี่ยง เป็นครอบครัวหรือบุคคลที่ใกล้ชิดกับบุคคลที่เดินทางการจากต่างประเทศ เป็นบุคคลที่ไม่สวมหน้ากากอนามัยในที่ชุมชนหรือที่สาธารณะ

วิทยาศาสตร์ฯ มธ. คาดการณ์ผู้ติดเชื้อเป็น \"ศูนย์\" สิ้นเดือน มิ.ย. นี้ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. ศูนย์รังสิต โทรศัพท์ 02-564-4440-59 ต่อ 2010 และ www.facebook.com/ScienceThammasat

เรื่องน่ารู้จาก COVID-19

อ่านข่าวแนะนำ >>>

https://www.springnews.co.th/alive/lifestyle/630786

อ่านข่าวแนะนำ >>>

https://www.springnews.co.th/alive/lifestyle/631471

อ่านข่าวแนะนำ >>>

https://www.springnews.co.th/alive/lifestyle/634538

อ่านข่าวแนะนำ >>>

https://www.springnews.co.th/alive/lifestyle/635009

อ่านข่าวแนะนำ >>>

https://www.springnews.co.th/alive/edutainment-alive/636779

related