svasdssvasds

สิ่งของห้ามส่งไปรษณีย์ แพ็คไปอย่างดีก็ไม่รับ

สิ่งของห้ามส่งไปรษณีย์ แพ็คไปอย่างดีก็ไม่รับ

เป็นที่ฮือฮายกใหญ่ หลังจากมีการโพสต์เรื่องราวผ่านเฟซบุ๊ก ว่ามีการ ส่งพัสดุที่ภายในกล่องบรรจุงูจงอาง ทางไปรษณีย์ไทย ได้ออกประกาศย้ำ ห้ามฝากส่ง “สิ่งมีชีวิต” ผ่านเส้นทางไปรษณีย์ เป็นสิ่งผิดกฎหมายไม่สามารถทำได้

วันนี้เลยรวบรวมข้อมูลดี ๆ มาฝาก ถ้าจะส่งไปรษณีย์ ห้ามส่งอะไรบ้าง ? และกฎหมายต่าง ๆ ที่ครอบคลุมเรื่องการส่งของ รับรองเป็นประโยชน์แน่นอน

สิ่งของห้ามส่งไปรษณีย์ สำหรับสิ่งของห้ามส่งไปรษณีย์นั้น มี 7 ประเภท ได้แก่ 

  • สัตว์มีชีวิต
  • สิ่งเสพติด
  • วัตถุลามกอนาจาร
  • วัตถุระเบิดหรือวัตถุไวไฟทุกชนิด
  • วัตถุมีคมที่ไม่มีสิ่งหุ้มห่อ
  • ธนบัตร
  • สิ่งของปลอมแปลงหรือลอกเลียนแบบโดยละเมิดลิขสิทธิ์

โดยสิ่งของบางประเภท สามารถส่งได้ แต่ต้องติดต่อเจ้าหน้าที่ เพื่อทำการหุ้มห่อ ได้แก่

  • เครื่องยนต์
  • แบตเตอรี่
  • วัตถุมีคม ต้องทำการห่อหุ้ม
  • สิ่งเทียมอาวุธ (ปืนไฟแช็ค ปืนเด็กเล่น)
  • ของเหลวทุกชนิด
  • สารพิษ ยาฆ่าแมลง สารไซยาไนด์
  • สารมีฤทธิ์กัดกร่อน 
  • เชื้อชีวภาพ
  • อาวุธปืน และเครื่องกระสุน ต้องนำใบอนุญาตมาแสดง และห้ามบรรจุกระสุน

กฎหมายต้องรู้เมื่อส่งพัสดุ

พ.ร.บ.ไปรษณีย์ 2477 ได้กำหนดเรื่องค่าสินไหมทดแทนไว้เป็นการเฉพาะแล้ว เราจึงไม่นำหลักกฎหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เรื่องค่าสินไหมทดแทนมาใช้กับกรณีความเสียหายที่เกิดจากการรับส่งไปรษณียภัณฑ์

การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน จึงเรียกร้องได้ทั้งจากพนักงานไปรษณีย์ผู้จงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้ไปรษณียภัณฑ์ของเราสูญหายหรือแตกหัก และจากบริษัทไปรษณีย์ไทยในฐานะนายจ้าง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 โดยบริษัทไปรษณีย์ไทยเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายแพ่ง ไม่ได้เป็นหน่วยงานของรัฐ จึงไม่นำหลักกฎหมายเรื่องความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่มาใช้

ทั้งนี้ เรามีสิทธิที่จะขอเปิดไปรษณียภัณฑ์ที่เราจะได้รับต่อหน้าพนักงานไปรษณีย์ได้ตาม พ.ร.บ.ไปรษณีย์ 2477 มาตรา 31 เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการตรวจสอบไปรษณียภัณฑ์ที่เสียหาย

ที่มา ไปรษณีย์ไทย

related