svasdssvasds

รู้เร็วรักษาทัน ปวดหลังแบบไหนควรพบแพทย์ เพื่อสุขภาพที่ดี

รู้เร็วรักษาทัน ปวดหลังแบบไหนควรพบแพทย์ เพื่อสุขภาพที่ดี

หลายท่านคงเคยมีอาการปวดหลัง บางคนปวดมาก บางคนปวดน้อย บางคนมีอาการปวดเป็นวันหรืออาจเป็นเดือน เสียสุขภาพ สาเหตุของอาการปวดหลัง มักมาจากกล้ามเนื้อ จากการทำท่าทางซ้ำๆ ในท่าเดิมๆ

 โดยทั่วไปเป็นอาการปวดหลังที่ไม่อันตรายส่วนใหญ่จะดีขึ้นหลังพัก และไม่กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แต่อาการปวดที่รุนแรงหรือมีอาการนานเป็นเดือน และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน มักจะมาจากสาเหตุที่อันตรายและรุนแรง

อาการปวดหลังแบ่งได้หลักๆ 3 ส่วน

 

1.อาการปวดหลังส่วนบน มักเกิดร่วมกับอาการปวดคอ ซึ่งส่วนใหญ่มีสาเหตุจากการใช้ท่าทางที่ไม่เหมาะสมระหว่างวันเช่น การนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือการก้มเล่นมือถือนาน ๆ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคออฟฟิตชินโดรม อาการปวดหลังส่วนบนนี้ อาจพบได้ในโรคของกระดูกต้นคอ ที่ทำให้เกิดอาการปวดคอร่วมกับอาการปวดหลังส่วนบน

 

2.อาการปวดหลังส่วนล่าง เป็นอาการปวดที่พบบ่อยที่สุดของโรคทางออร์โธปิดิกส์หรือโรคทางกระดูกและข้อ สาเหตุเกิดจาก 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ จากกล้ามเนื้อหลัง และจากข้อต่อกระดูกสันหลัง โดยจะมีอาการปวดหลังบริเวณเอวต่ำกว่าขอบของซี่โครงซี่ล่างสุด จนถึงบริเวณสะโพกและก้น มีอาการมากขึ้นหรือลดลงสัมพันธ์การทำงาน หรือบางท่าทาง อาจมีอาการปวดกลางคืนมากจนไม่สามารถนอนหลับได้

 

3.อาการปวดหลังด้านซ้ายหรือด้านขวา มักมีสาเหตุจากกล้ามเนื้อหลังผิดปกติ หรือกระดูกอ่อนอักเสบ อุบัติเหตุ การกระแทก การเกร็งหรือยกของหนัก และสาเหตุอื่น ๆ เช่น แน่นหน้าอกจากสาเหตุทางโรคหัวใจ หลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องอก กรดไหลย้อน เยื่อหุ้มปอดอักเสบ โรคไต นิ่วในไต หรือปัญหาระบบทางเดินปัสสาวะ จึงแนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง

ข่าวที่น่าสนใจ

อาการปวดหลังที่ควรรีบปรึกษาแพทย์ มักจะมีอาการควบคู่กับ ความเจ็บปวดที่รุนแรง และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน มักจะมีอาการ ปวดรื้อรังนานมากกว่า 3 เดือน รับประทานยาแก้ปวดแล้วไม่ดีขึ้น รู้สึกที่ผิดปกติเช่น ชาขา เท้าหรือมีอาการแสบร้อน มีการอ่อนแรงของขา อาการเหล่านี้ มักมีสาเหตุมาจาก หมอนรองกระดูกสันหลัง ข้อต่อกระดูกสันหลัง ออฟฟิศซินโดรม จึงควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาโดยด่วน อีกหนึ่งอาการของโรคของกระดูกสันหลังที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุคือ โรคโพรงประสาทหลังตีบแคบ

การป้องกันอาการปวดหลัง ปรับท่าในการประกอบกิจวัตรประจำวันให้ถูกต้อง โดยยึดหลัก 3 Smarts

 Sit Smart: ปรับท่าการนั่งทำงานให้ถูกต้อง โดยฝึกนั่งตัวตรง นั่งให้เต็มก้น หลังพิงพนักพอดี โต๊ะ และเก้าอี้มีความสูงที่พอเหมาะและสอดคล้องกัน รวมถึงหลีกเลี่ยงการนั่งอยู่ท่าเดิมเป็นเวลานานๆ

Stand Smart: การยืนที่ถูกต้องสามารถลดการบาดเจ็บต่อกล้ามเนื้อหลังได้ หลีกเลี่ยงการยืนหลังค่อม ยืนลงน้ำหนักขาเดียว

 Lift Smart: การก้มยกของที่ถูกท่า โดยการย่อเข่าลงไปเพื่อยกของแทนการโน้มหลังก้มลงไป เพื่อที่จะใช้แรงจากกล้ามเนื้อขาช่วยยกของเมื่อยืนขึ้น ก็สามารถลดการบาดเจ็บต่อโครงสร้างหลังได้เช่นกัน

 

อาการปวดหลังสามารถป้องกันและหลีกเลี่ยงได้ ถ้าเลี่ยงพฤติกรรมที่มีความเสี่ยง การลดน้ำหนัก การออกกำลังที่ถูกวิธีอย่างสม่ำเสมอ ก็จะทำให้ห่างไกลจากโรคปวดหลัง และ ชีวิตมีความสุขได้เช่นกัน