svasdssvasds

เปิดฉากทัศน์ "ลดโลกร้อนได้มากที่สุดแค่ไหน" ถ้าทำตามแผน COP26 ก่อนปี 2030?

เปิดฉากทัศน์ "ลดโลกร้อนได้มากที่สุดแค่ไหน" ถ้าทำตามแผน COP26 ก่อนปี 2030?

จากการประชุม COP26 เพื่อร่วมลดการปล่อยมลพิษเพื่อไม่ให้อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นเกิน 1.5ºC มี 64 ประเทศที่ประกาศแผนการดำเนินงานชัดเจน แต่ถ้าลองพิจารณาดูว่า ทำตามแผนได้หรือไม่ มาดูฉากทัศน์กัน

ในรายงาน Global Energy Perspective 2022 หรือ มุมมองด้านพลังงานโลกปี 2022 โดย Mckinsey เผยถึงฉากทัศน์การปล่อยมลพิษสูงสุดก่อนปี 2030 ที่ชาวเรา - ทุกเจเนอเรชันควรตระหนักอย่างยิ่ง 

แม้ว่า 64 ประเทศจะปฏิบัติตามพันธสัญญาลดคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ แต่สุดท้ายแล้ว ก็ยังไม่เพียงพอที่จะลดการปล่อยมลพิษเพื่อไปสู่เป้าหมาย ไม่ให้อุณหภูมิโลกร้อนเพิ่มขึ้นเกิน 1.5ºC

ลดโลกร้อนได้มากที่สุดแค่ไหน ถ้าทำตาม COP26 ภายในปี 2030

การปล่อยคาร์บอนที่เกี่ยวข้องกับพลังงานสุทธิทั่วโลก (GtCO2 ต่อปี)

เปิดฉากทัศน์ "ลดโลกร้อนได้มากที่สุดแค่ไหน" ถ้าทำตามแผน COP26 ก่อนปี 2030?

  • กรณีที่ทำตามแผนปัจจุบัน

อุณหภูมิสูงขึ้น 2.4ºC (1.9º–2.9º) 

ต้นทุนพลังงานหมุนเวียนจะลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตาม นโยบายที่ใช้กันยังคงไม่เพียงพอที่จะร่นระยะทางไปสู่เป้าหมายลดคาร์บอนได้ตามแผน

  • กรณีที่เร่งให้เกิดความเปลี่ยนแปลง

อุณหภูมิสูงขึ้น 1.9ºC (1.6º–2.4º) 

แม้จะมีข้อจำกัดทางการเงินและทางเทคนิค  แต่ถ้าประเทศต่างๆ เร่งให้เกิดความเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้นด้วยเทคโนโลยีร่วมกับการเปลี่ยนกฎเกณฑ์ที่ใช้อยู่เดิม เป้าหมายลดการปล่อยมลภาวะก็ยังลงไปไม่ถึง 1.5ºC

............................................................................................................

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางลดการปล่อยคาร์บอนขององค์กรไทย

............................................................................................................

  • กรณีบรรลุตามแผนที่กำหนดไว้

อุณหภูมิสูงขึ้น 1.7ºC (1.4º–2.1º) 

หากภารกิจร่วมลดคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ลุล่วงตามแผนจากการกำหนดนโยบายในแต่ละปีโดยประเทศชั้นนำ และแม้ประเทศอื่นๆ ร่วมสร้างความเปลี่ยนแปลงตามมาอย่างช้าๆ แต่ฉากทัศน์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นก็ยังไปไม่ถึงเป้าหมาย 1.5ºC อีกนั่นแหละ

  • กรณีที่ต้องการให้ถึงเป้าหมาย 1.5ºC

อุณหภูมิสูงขึ้น <1.5ºC 

เป็นไปได้ถ้าออกข้อจำกัดหรือกฎควบคุมเกี่ยวกับความเข้มข้นของคาร์บอนที่เกิดจากเชื้อเพลิงฟอสซิล และบังคับใช้อย่างเข้มงวด เพื่อให้มีการนำเทคโนโลยีกำจัดคาร์บอนไปใช้อย่างรวดเร็วในทุกภาคส่วน (เช่น EVs เชื้อเพลิงทางเลือก ไฮโดรเจน)

Photo by Luca J on Unsplash

ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงด้านการใช้พลังงานที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง การฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังจากการระบาดของ COVID-19 กระตุ้นราคาสินค้าโภคภัณฑ์หลายรายการ และความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย - ยูเครน ก็ส่งผลให้ราคาพลังงานสูงขึ้น นำมาสู่ความกังวลด้านความมั่งคงของอุปทาน แต่ถึงอย่างนั้น การเปลี่ยนไปใช้ระบบพลังงานคาร์บอนต่ำจะยังคงดำเนินต่อไปและคาดว่าจะถูกเร่งให้เร็วยิ่งขึ้น

สรุปจากฉากทัศน์การปล่อยมลพิษสูงสุดก่อนปี 2030 จาก Global Energy Perspective 2022 ได้ว่า ถ้าทุกประเทศทำตามแผนลดการปล่อยคาร์บอน ผลที่ได้ก็ยังห่างไกลจากเป้าหมาย 1.5ºC อยู่ดี

ดังนั้น ความเปลี่ยนแปลงสำคัญที่นำไปสู่การลดคาร์บอนหรือลดการปล่อยมลพิษได้อย่างแท้จริง คือ 1) ออกกฎที่ใช้กำกับดูแลการปล่อยมลพิษและบังคับใช้อย่างจริงจัง 2) ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ช่วยให้การกำจัดคาร์บอนทำได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ 3) ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน และ 4) การเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ทรัพยากรที่คำนึงถึงสภาพแวดล้อมและใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ถ้าเป้าหมายลดโลกร้อน (ลดการปล่อยมลพิษ) ไม่เป็นไปตามแผน ชาวโลกอย่างเราๆ โดยเฉพาะเจน Alpha จะมีชีวิตอยู่ยังไง?

............................................................................................................

ที่มา : Global Energy Perspective 2022, Mckinsey.com

related