svasdssvasds

นักวิชาการด้านโภชนาการ ชี้ แบน!ไขมันทรานส์ ดีต่อผู้บริโภค-ไม่กระทบผู้ประกอบการ

นักวิชาการด้านโภชนาการ ชี้ แบน!ไขมันทรานส์ ดีต่อผู้บริโภค-ไม่กระทบผู้ประกอบการ

อาจารย์สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุ ประกาศห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย "อาหารที่มีไขมันทรานส์" มีประโยชน์ต่อผู้บริโภค คาดว่าอนาคตน่าจะมีการเรียกร้องให้ปรับปรุงฉลากโภชนาการ

รศ.วันทนีย์ เกรียงสินยศ อาจารย์สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึง กรณีการประกาศห้ามผลิต นำเข้า และจำหน่าย กรดไขมันทรานส์ มีผลบังคับใช้อีก 180 วันหรือ 6 เดือนข้างหน้า ว่า ประกาศนี้เป็นประโยชน์และเป็นผลดีกับผู้บริโภคอย่างมากเพราะผู้บริโภคจะได้รับอาหารที่ปนเปื้อนไขมันทรานส์น้อยลง ซึ่งจะมีผลจริงๆในช่วงเดือนมกราคม ปี 2562 ไขมันทรานส์ เหล่านี้ส่วนใหญ่จะอยู่ที่พวก เบเกอรี่ พัฟ พาย ซึ่งเป็นไขมันทรานส์ที่เกิดจากการเติมไฮโดรเจนบางส่วนเข้าไปในน้ำมันพืชที่ใช้ทอด ซึ่งผู้บริโภคไม่มีโอกาสจะได้ทราบเลยว่ามีไขมันทรายส์ ดังนั้นประกาศนี้เป็นการแก้ปัญหาที่ต้นตอหลัก

แต่ถามกลับไปว่า ขณะนี้มีอันตรายมาไหม?

รศ.วันทนีย์ บอกว่า เราไม่ได้มีอันตรายมาก เนื่องจากที่ผ่านมาบ้านเราได้มีการเตรียมตัวมาก่อนแล้วในระดับหนึ่ง ตัวอย่าง "โดนัททอด" พบไขมันทรานส์ มีค่าที่ 0.02 กรัม - 3 กรัมต่อหน่วยบริโภค หมายความว่าโดนัทที่ขายอยู่ตามท้องตลาดก็จะมีบางอันที่มีการปนเปื้อนที่น้อยมาก แต่บางอันก็ยังมีการปนเปื้อนที่เยอะอยู่ ทั้งนี้ผู้บริโภคก็จะไม่ทราบเลย แต่ถ้ามีการไปแก้ไขที่ต้นตอ ผู้ประกอบการ หรือผู้ที่ทำสินค้าเหล่านี้ขาย ก็จะไปซื้อวัตถุดิบที่ไม่มีการปนเปื้อน เพราะประเทศไทยมีการประกาศว่า ห้ามผลิต นำเข้าหรือจำหน่าย

นักวิชาการด้านโภชนาการ ชี้ แบน!ไขมันทรานส์ ดีต่อผู้บริโภค-ไม่กระทบผู้ประกอบการ นักวิชาการด้านโภชนาการ ชี้ แบน!ไขมันทรานส์ ดีต่อผู้บริโภค-ไม่กระทบผู้ประกอบการ

ต้นทุนจะสูงขึ้นไหม?

อาจารย์มองว่า ไม่ได้สูงขึ้น เพราะว่าก่อนหน้านี้ได้มีการพูดคุยกับผู้ประกอบการ ซึ่งผู้ประกอบการบอกว่าวัตถุดิบมีอยู่ในท้องตลาดอยู่แล้ว ทั้งนี้อยู่ที่กระบวนการทำ เนื่องจากมีหลายวิธีการ ในการผสมน้ำมันในปริมาณหรือในสัดส่วนที่เหมาะสมก็จะทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ตามที่ต้องการ ซึ่งต้นทุนไม่ได้แพงหรือสูงขึ้น

ควรปรับปรุงฉลากโภชนาการไหม?

อาจารย์ เชื่อว่า ในเรื่องนี้จะต้องมีการเรียกร้องเพื่อเป็นประโยชน์ให้กับทางผู้บริโภคทราบ แต่ถ้าจะให้เขียนโดยระบุว่าไม่มี Trans fat เฉยๆไม่ได้บ่งบอกว่า ไม่มีไขมัน แต่อาจจะมีไขมันอิ่มตัวสูงก็ได้ ก็อาจจะทำให้เกิดการเข้าใจผิด ว่าการไม่มีไขมันทรานส์แล้วจะทำให้กินได้มาก แต่การที่ประเทศไทยจะให้ระบุว่าไม่มีไขมันทรานส์ควรที่จะไปบวกกับข้อกำหนดที่ว่าจะต้องมีไขมันรวมไม่เกินเท่าไร หรือไม่มีกรดไขมันอิ่มตัวไม่เกินเท่าไรร่วมด้วย หรือควรระบุว่าไขมันทรานส์เป็นตัวเลขเท่าไร ด้วย

รศ.วันทนีย์ ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า การประกาศออกมาในครั้งนี้ทางคณะกรรมการอาหารและยาได้มีการร่างส่งหนังสือเวียนไปยังผู้ประกอบที่เกี่ยวข้องหลายส่วน ตั้งแต่ในช่วงเดือน พ.ย.-ธ.ค. 60 ก่อนแล้ว หากมีข้อสงสัยหรือมีข้อโต้แย้ง สามารถสอบถามกลับมาได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด  จนกระทั้งมีการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องกำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย ตัวนี้มา จึงไม่มีผลกระทบ แต่กลับทำให้ผู้บริโภคเกิดการตื่นตัวมากขึ้นด้วย

related