svasdssvasds

ฟื้นฟูสภาพจิตใจ "เด็กออทิสติก" ยากกว่าคนทั่วไปมาก

ฟื้นฟูสภาพจิตใจ "เด็กออทิสติก" ยากกว่าคนทั่วไปมาก

ครูแนน นักกิจกรรมบำบัด ผู้สร้างสรรค์เพจ "ครูแนนนักกิจกรรมบำบัด เด็กบางคนเมื่อถูกแกล้งเป็นระยะเวลานานจะรู้สึกไม่ปลอดภัย หากไม่มีการเยียวยา รักษาอย่างถูกต้อง เด็กกลุ่มนี้ จะไม่กล้าอยู่ในสังคม

นางสาวปวีณา พัวประเสริฐ หรือครูแนน นักกิจกรรมบำบัด ผู้สร้างสรรค์เพจ "ครูแนนนักกิจกรรมบำบัด"กล่าวถึงกรณีเกิดเหตุรุ่นพี่ชั้น ม.2 โรงเรียนแห่งหนึ่งใน อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา จำนวน 8 คน ได้พา นักเรียนหญิง เด็กป.4 ป่วยออทิสติก ว่า จากข้อมูลปัจจุบันพบว่า ไทยติดอันดับ 2 ของโลก มีเด็กรังแกกันในโรงเรียนมากสุด และพบถูกรังแกกว่า 6 แสนคนต่อปี โดยเฉพาะเด็กพิเศษ เด็กพิการ หรือแม้แต่เพศทางเลือก ที่มีความเสี่ยงที่จะถูกเพื่อน หรือคนในสังคมรังแกสูง และเมื่อมองไปถึงสภาพจิตใจของเด็กกลุ่มออทิสติก เขาจะรู้สึกกลัว เสียใจ เจ็บปวด อับอาย เหมือนคนทั่วไป แต่ที่แตกต่างคือ การฟื้นฟู เยียวยา สภาพจิตใจ ให้กลับมาเข้มแข็ง หรือแข็งแรง นั้นค่อนข้างอยากมากกว่าคนทั่วไปมาก จะเกิดความกลัว โมโห มองโลกในแง่ร้าย เด็กบางคนเมื่อถูกแกล้งเป็นระยะเวลานานจะรู้สึกปลอดภัย หากไม่มีการเยียวยา รักษาอย่างถูกต้อง เด็กกลุ่มนี้ จะไม่กล้าอยู่ในสังคม เพราะพื้นฐาน ของเด็กพิเศษกลุ่มนี้ จะรู้สึกปลอดภัยเมื่ออยู่คนเดียว

แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ในการดูแล

1.เด็กที่เป็นออทิสติก -ควรมีนักจิตแพทย์เข้าไปดูแล ระยะยาวเพื่อฟื้นฟูสภาพจิตใจ และไม่ควรตอกย้ำหรือถามเรื่องเดิมๆ หรือไม่ควรให้เห็นภาพที่ถูกทำร้าย

2.ครอบครัว - ควรมีนักจิตแพทย์เข้าไปดูแล ต้องสร้างความเข้มแข็ง เพราะเมื่อพ่อแม่ผู้ปกครองเห็นอย่างนี้แล้ว จะทำให้มองสังคมเป็นเหมือนสนามรบ รู้สึกแย่ เกิดการปิดกั้น

3.สังคม -ควรมีการให้ความรู้ ความเข้าใจ สร้างจิตสำนึก รู้จักเห็นอกเห็นใจ ครูต้องสอนว่าอะไรควรทำไม่ควรทำ สอนเด็กให้รู้จักให้เกียรติซึ่งกันและกันดูแล ช่วยเหลือคนที่อ่อนแอกว่า

related