svasdssvasds

ลุย! สร้างเครือข่ายสารสนเทศ เข้า "อุดมศึกษา-อาชีวะ"

ลุย! สร้างเครือข่ายสารสนเทศ เข้า "อุดมศึกษา-อาชีวะ"

UniNet ปรับโครงสร้างเครือข่ายสารสนเทศ ปี 2562 มุ่งเน้นบริการ “อุดมศึกษา-อาชีวะ”

รองศาสตราจารย์สมศักดิ์ มิตะถา ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา (UniNet) กล่าวว่า ภารกิจหลักในปี 2562 เครือข่าย UniNet ได้รับมอบหมายให้ดูแลสมาชิกตามภารกิจใหม่จะมุ่งเน้นเพื่อพัฒนาการศึกษาอย่างมั่นคง และมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยปรับพื้นที่ให้บริการโรงเรียนใน

-สังกัด สพฐ. จำนวน 19 แห่ง (จากเดิมปี 2561 จำนวน 9,566 แห่ง)

-วิทยาลัยชุมชน 20 แห่ง

-สถาบันอุดมศึกษา 223 แห่ง

-วิทยาลัยอาชีวศึกษา 425 แห่ง

-สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 76 แห่ง

-วิทยาลัยสาธารณสุข 6 แห่ง

-สถานศึกษาในสังกัดกระทรวงกลาโหม 5 แห่ง

-หน่วยงานวิจัยในกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 5 แห่ง

-ห้องสมุดประชาชนกศน. 1 แห่ง

-กระทรวงศึกษาธิการ 1 แห่ง

-สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 1 แห่ง

-สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 1 แห่ง และสถาบันพระปกเกล้า 1 แห่ง)

จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่าโครงการเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา (UniNet) ได้ถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นโครงข่ายสำหรับพัฒนาศักยภาพในด้านงานวิจัย เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างสถาบันการศึกษาระดับ อุดมศึกษาและอาชีวะเป็นหลัก ซึ่งปัจจุบันนั้นโครงข่ายได้ถูกเชื่อมโยงไปถึงโรงเรียนปลายทาง (Last mile) ซึ่งคลาดเคลื่อนไปจากจุดประสงค์การดำเนินงานของโครงการในตอนต้น

เครือข่าย UniNet ได้เชื่อมต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเฉพาะเพื่อการศึกษาวิจัยของไทย ให้สถาบันการศึกษาที่เป็นสมาชิกสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาไม่ว่าจะเป็นการเรียนทางไกลผ่านระบบ Tele Conference System ห้องเรียนออนไลน์ การสืบค้นข้อมูลทางวิชาการ ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ห้องเรียนเสมือนจริง รวมถึงการผลิตสื่อการเรียนการสอน เป็นต้น

เครือข่าย UniNet เสมือนการใช้งานเครือข่ายส่วนตัวในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ทำให้การใช้งานเครือข่ายไม่ต้องไปแย่งช่องทางกับผู้อื่น สามารถดำเนินกิจกรรมเพื่อการศึกษาและวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการประชุมทางไกลเพื่อการเรียนการสอน การประชุมหารือ รวมถึงการส่งภาพสาธิตการผ่าตัดหรือการวินิจฉัยโรคที่มีความละเอียดสูงและมีข้อมูลขนาดใหญ่ที่ต้องใช้ความเร็วอินเทอร์เน็ตในการเชื่อมต่อส่งผ่านข้อมูลที่สูงกว่าการใช้งานปกติ กิจกรรมเหล่านี้ไม่สามารถใช้งานได้บนโครงข่ายอินเทอร์เน็ตทั่วไปของผู้ให้บริการเอกชนได้ หรือหากต้องการใช้ก็ต้องแลกกับค่าใช้จ่ายที่สูงตามไปด้วย

สมาชิกเครือข่าย UniNet สามารถดำเนินกิจกรรมเหล่านี้ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย เพียงแค่แจ้งให้ UniNet ทราบเพื่อจัดการเส้นทางเครือข่ายและเฝ้าระวังเครือข่ายในขณะที่มีการใช้งานเท่านั้น นอกจากนี้สมาชิกยังสามารถใช้งานสืบค้นฐานข้อมูลทางวิชาการ เพื่อเป็นช่องทางที่จะช่วยให้คณาจารย์ นักวิจัย นิสิต นักศึกษา รวมทั้งบุคคลกรของสถาบันการศึกษา สามารถใช้งานได้อย่างรวดเร็ว

ลุย! สร้างเครือข่ายสารสนเทศ เข้า "อุดมศึกษา-อาชีวะ"

related