svasdssvasds

ม.เกษตรฯ ร่วมเอกชน ถอดสูตรกลิ่นเลียนแบบกัญชา เพื่อประโยชน์อุตสาหกรรมอาหาร

ม.เกษตรฯ ร่วมเอกชน ถอดสูตรกลิ่นเลียนแบบกัญชา เพื่อประโยชน์อุตสาหกรรมอาหาร

ห้องปฏิบัติการวิจัยกัญชาเพื่อการแพทย์ แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดย รศ. ดร. วีรชัย พุทธวงศ์ แถลงความสำเร็จ ในการถอดสูตรสารธรรมชาติในกลิ่นกัญชา หรือ เทอร์ปีน และได้ใช้เทอร์ปีนจากสารสกัดผักผลไม้หลายชนิดเข้าสูตร จนได้กลิ่นกัญชาเลียนแบบสำเร็จเป็นแห่งแรกของประเทศไทย

วันที่ 13 ก.พ.2563 ห้องปฏิบัติการวิจัยกัญชาเพื่อการแพทย์ แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับทุนวิจัยสนับสนุนจาก บริษัท อาร์ แอนด์ บี ฟู้ด ซัพพลาย จำกัด (มหาชน) หรือ RBF โดยนักวิทยาศาสตร์ด้านกลิ่น ได้ร่วมกันคิดสูตรกลิ่นกัญชาเทียม เพื่อใช้องค์ประกอบสารธรรมชาติที่มีในพืชผักผลไม้อื่นๆ มาเข้าสูตรผสม จนได้กลิ่นเลียนแบบกัญชาสำเร็จเป็นรายแรกของประเทศไทย

ม.เกษตรฯ ร่วมเอกชน ถอดสูตรกลิ่นเลียนแบบกัญชา เพื่อประโยชน์อุตสาหกรรมอาหาร

รศ. ดร. วีรชัย พุทธวงศ์ กล่าวว่าห้องปฏิบัติการได้รับตัวอย่างกัญชาจริงมาจาก สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด หรือ ป.ป.ส. ตามใบอนุญาตดำเนินโครงการวิจัยจาก องค์การอาหารและยา(อย) และได้ดำเนินการวิจัยหลายส่วนซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์เป็นหลัก โดยสารสกัดกัญชาที่ได้แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่คือ

ม.เกษตรฯ ร่วมเอกชน ถอดสูตรกลิ่นเลียนแบบกัญชา เพื่อประโยชน์อุตสาหกรรมอาหาร

สารที่บ่งบอกเอกลักษณ์ของกัญชาที่กฎหมายควบคุม ที่เรียกว่าแคนนาบินอยด์ (Cannabinoids) มีจำนวนทั้งสิน 11 สาร กลุ่มสารอื่นที่พบได้ในพืชอื่นอีก 430 สาร และกลุ่มเทอร์ปีน ซึ่งเป็นสารให้กลิ่น อีก 77 สาร โดยห้องปฏิบัติการวิจัยกัญชาเพื่อการแพทย์ แห่ง มก. ได้ทำการสกัดเทอร์ปีน โดยเทคนิคการกลั่นด้วยไอน้ำ และได้รับความร่วมมือจากนักวิทยาศาสตร์ด้านกลิ่นของบริษัท อาร์ แอนด์ บี ฟู้ด ซัพพลาย จำกัด (มหาชน) หรือ RBF ซึ่งเป็นภาคเอกชนรายเดียวที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านกลิ่นที่ดีที่สุดในประเทศไทย ได้ทำการถอดสูตรสารสำคัญในกลิ่นกัญชาแต่ละตัว รวมทั้งสิ้น 77 ตัว พบว่า เป็นสารธรรมชาติที่ไม่จัดอยู่ในกลุ่มสารเสพติด และสามามารถพบสารเหล่านี้ได้ในพืชกลุ่มอื่นๆ เช่น สารไพน์นีน ที่พบได้ทั่วไปในต้นสน, ผักชีฝรั่ง, สละแหน่, สารลิโมนีน ที่ให้กลิ่นเปรียวหอม พบได้ในเปลือกส้มเขียวหวาน หรือ มะนาว, สารเทอร์พีโนลีน ที่พบได้ในพืชผักผลไม้ เช่นลูกจันทน์เทศ ใบยี่หร่า เป็นต้น โดยนักวิทยาศาสตร์ ได้ทดลองนำสารสกัดจากพืชผักและผลไม้อื่นๆ ร่วมกันกว่า 77 ชนิด มาผสมตามสูตรที่วิเคราะห์ได้จากเครื่อง GC-MS พบว่า สามารถทำกลิ่นเลียนแบบกัญชาได้สำเร็จ ซึ่งเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยกลิ่นกัญชาเลียนแบบนี้ สามารถนำไปผสมในเครื่องดื่มและผลิตภัณฑ์อาหาร หรือเครื่องสำอางได้

ม.เกษตรฯ ร่วมเอกชน ถอดสูตรกลิ่นเลียนแบบกัญชา เพื่อประโยชน์อุตสาหกรรมอาหาร

 

รศ. ดร. วีรชัย พุทธวงศ์ กล่าวต่อว่า กลุ่มเทอร์ปีนเลียนแบบดังกล่าว ทางห้องปฏิบัติการจักได้ขออนุญาตเพื่อนำเข้าจนทะเบียน อย. ตามลำดับ และมั่นใจว่า กลิ่นเลียนแบบกัญชานี้ จะสามารถช่วยส่งเสริมสนับสนุนอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องสำอางและประเทศได้อย่างดี ซึ่งทราบว่าในขณะนี้ ในต่างประเทศเริ่มมีการใช้กลิ่นกัญชาในหลายอุตสาหกรรม จากโคงการวิจัยนี้ จะสามารถเพิ่มอำนาจการแข่งขันด้านกลิ่นธรรมชาตจากสมุนไพรไทยในตลาดโลกได้

“กลิ่นพวกนี้พบเจอได้ในพืชผักผลไม้ไทยครับแต่ต้องเอามาผสมกัน 77 ตัวก็จะกลายเป็นกลิ่นกัญชา

กัญชายังถือว่าเป็นพืชเสพติดแต่กลิ่นกัญชาที่เอาสารจากพืชผักสมุนไพรและผลไม้ของไทยกว่า 77 ตัวมาผสมกันแล้วเป็นกลิ่นกัญชาเป็นทางเลือกสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร

เหมือนปัจจุบันครับลูกอมกลิ่นสตอเบอรี่ก็ไม่ใช่มาจากสตอเบอรี่จริงๆ ขนมกลิ่นกล้วยหอมก็ไม่ใช่มาจากกล้วยหอมแต่มันคือเอมิลอะซิเตท”

[video width="640" height="368" mp4="https://spcdn.springnews.co.th/wp-content/uploads/2020/02/video-1581560579.mp4"][/video]

related