svasdssvasds

ไขข้อสงสัย "ต่างชาติ" รักษาในไทย กันเชื้อโควิดระบาดในไทยอย่างไร

ไขข้อสงสัย "ต่างชาติ" รักษาในไทย กันเชื้อโควิดระบาดในไทยอย่างไร

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

ภายหลังศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค. มีมติเมื่อวันที่ 30 มิ.ย.2563 ออกมาตรการให้ผู้ไม่มีสัญชาติไทย เข้ามารักษารักษาพยาบาลในประเทศไทยได้ เพื่อสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศตามนโยบายเมดิคัลฮับ

โดยในระยะแรกต้องเป็นกลุ่มที่มีความจำเป็นเร่งด่วน และเป็นผู้ป่วยที่มีประวัติรักษาต่อเนื่องกับสถานพยาบาลในไทยอยู่เดิม แต่ไม่ใช่กรณีเข้ามาเพื่อรักษาโรคโควิด และต้องมีการนัดหมายไว้ล่วงหน้าเท่านั้น รับเฉพาะที่เดินทางเข้ามาทางอากาศ จำกัดจำนวนผู้ติดตามไม่เกิน 3 คน

ด้านภญ.อาทิรัตน์ จารุกิจพิพัฒน์ ผู้อำนวยการด้านบริหาร โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ได้เปิดเผยกับทีมข่าวสปริงนิวส์ ว่า ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ไวรัสโควิดเริ่มแพร่ระบาดในไทย ในส่วนของโรงพยาบาล มีอัตราการให้บริการผู้ป่วยชาวต่างชาติลดลง

"ถ้าพูดถึงโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย ทุกคนพอรู้ว่าเรามีข้อจำกัดในเรื่องของผู้ป่วยชาวต่างชาติที่จะบินเข้ามา ตั้งแต่ตอนช่วงที่เราเจอเหตุการณ์ในปลายเดือนมกราคม จนถึงวันที่ 1 พ.ค.สำนักงานการบินพลเรือน ก็สั่งปิดการท่าอากาศยาน เราก็มีผลกระทบมั้ย อย่างที่บอกไปถึงปริมาณ หรือจำนวนชาวต่างชาติที่มารับบริการที่มีเยอะ มากกว่าครึ่งหนึ่งซึ่งมีผลกระทบอย่างแน่นอน" 

ความเชื่อมั่นของชาวต่างชาติที่จะเข้ามารักษาในไทย

ผู้อำนวยการด้านบริหาร โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ บอกว่า ถามว่าเรามีความหวังมั้ย เชื่อว่าพอเหตุการณ์เราสู่ปกติ ผู้ป่วยต่างชาติยังรอที่จะเข้ามารับการรักษาที่ประเทศไทยเราเหมือนเดิม เพราะว่าถึงแม้จะมีเรื่องของโควิดก็ตาม จริงๆ เขามีการจัดลำดับประเทศที่มีความเชื่อมั่นในเรื่องของความปลอดภัย และความมั่นคงของสุขภาพ หรือ เราเรียกว่า global health security index ประเทศไทยเราถูกจัดอันดับเป็น อันดับที่ 6 ของโลก หรืออันดับที่ 1 ของเอเชีย

"ไทยมีชื่อเสียงว่าเป็น Medical tourism และปีนี้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ตั้งเป้าว่าจะเป็นทั้ง Medical Wellness resort of the world ถามว่าเหตุผลอะไรที่ชาวต่างชาติชอบบินเข้ามาในประเทศไทย"

ไขข้อสงสัย "ต่างชาติ" รักษาในไทย กันเชื้อโควิดระบาดในไทยอย่างไร

ภญ.อาทิรัตน์ จารุกิจพิพัฒน์ ผู้อำนวยการด้านบริหาร โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

ทำไมชาวต่างชาติถึงชื่นชอบมารักษาในไทย

ภญ.อาทิรัตน์ จารุกิจพิพัฒน์ เปิดรายละเอียดสาเหตุที่ชาวต่างชาติ นิยมเดินทางมารักษาในประเทศไทย โดยได้แบ่งและละหัวข้อ เริ่มจาก

ข้อที่ 1 เริ่มต้นจากการที่เขาสามารถที่จะเข้าถึงการรักษาได้ง่าย อย่างเช่น การผ่าตัดเปลี่ยนเข่า การรอคิวที่ต่างประเทศจะใช้เวลานาน หรือการผ่าตัดประเภทอื่นๆ ก็ตาม แต่ในขณะเดียวกัน ประเทศไทย เรามีคุณหมอที่เก่ง ทัดเทียมเท่ากับคุณหมอที่ต่างประเทศ

ข้อที่ 2 เรื่องของราคาของการค่ารักษา ถ้าเทียบกับอเมริกา แน่นอน เราถูกกว่ากันเยอะมาก หรือแม้กระทั่งเพื่อนบ้านเราอย่างสิงคโปร์ก็ตาม

ข้อที่ 3 สิ่งที่เอื้อให้กับชาวต่างชาติชอบบินมาไทย คือ ภูมิทัศน์ของประเทศไทย มีทั้งภูเขาทางภาคเหนือ ทางภาคใต้ก็ภูเก็ต หัวหิน จะเป็นอะไรที่ชาวต่างชาติชอบมาก เขาถึงได้เรียกเราว่า Medical tourism destinations 

"ส่วนของรัฐบาลเอง จริงๆ ก็ช่วงก่อนหน้านี้ เราก็รู้สึกดีใจที่ประเทศไทยสามารถที่จะควบคุมเรื่องของจำนวนคนไข้โควิดได้ดี เมื่อวันที่ 30 มิ.ย.ที่ผ่านมา ทางรัฐบาลก็ประกาศว่า วันที่ 1 ก.ค. จะเริ่มให้ผู้ป่วยชาวต่างชาติ ได้เข้ามารับการรักษาที่ประเทศไทย แต่ก็จะมีการกำหนดมาตรการต่างๆ เช่น ผู้ป่วยโควิด เราไม่ให้มาแน่ๆ เพราะฉะนั้นผู้ป่วยที่จะมา จะต้องมีการตรวจก่อนว่าคุณไม่ได้ติดเชื้อโควิด รวมถึงถ้าเข้ามาแล้วก็ต้องทำ hospital quarantine ก็ยังอยู่ในโรงพยาบาล"

เมื่อภาครัฐเปิดให้ชาวต่างชาติเดินทางมารักษา

สิ่งที่โรงพยาบาลทำอันดับแรกๆ เลย คือ แยกโซนผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโควิด โดยภญ.อาทิรัตน์ อธิบายว่า ผู้ป่วยที่เป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ ก็จะมีตึกย้ายออกไป เป็นตึกที่เปิดทำการขึ้นมาทันที 2 ชั้น

"เราตั้งจุดสกรีนนิ่ง ทั้งวัดไข้ วัดอุณหภูมิต่างๆ ทำแบบสอบถามว่าเคยเดินทางไปไหนมาไหนก่อนหรือเปล่า ดูทุกคนใส่หน้ากาก พอเข้ามาในตัวโรงพยาบาลเราก็จะมีระบบขนส่งต่างๆ อย่างขึ้นลิฟท์ก็จะมีการจำกัดการยืน จำนวนคน การแยกโซนที่คนไข้ติดเชื้อออกไป มีข้อดีก็คือว่า จะทำให้คนไข้ที่มาใช้บริการตึกผู้ป่วยนอก มีความมั่นใจว่า คนไข้ที่มาในตึกนี้ ไม่ใช่กลุ่มที่อาจจะเสี่ยงต่อการเป็นโควิด การแยกไปตรงนั้น ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยเด็กก็ตาม หรือสตรีที่มีครรภ์ก็ตาม เราก็จะมีการแยกไปเหมือนกัน อีกโซนนึง ซึ่งเป็นวิธีการที่เราทำขึ้นมา เพื่อให้ผู้ป่วยมั่นใจว่ามาบำรุงราษฎร์ เขาจะได้รับการดูแลอย่างไร"

เปิดขั้นตอนก่อนที่ผู้ป่วยต่างชาติจะเข้ามารักษา

ผู้ป่วยและญาติ ที่ประสงค์จะเดินทางเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ต้องติดต่อมายังโรงพยาบาล ผ่านทางช่องทางต่าง ๆ  ของโรงพยาบาลฯ หรือติดต่อผ่านทางสำนักงานตัวแทนของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ในต่างประเทศ ซึ่งมีอยู่ 60 สำนักงานใน 26 ประเทศ ซึ่งจะคอยอำนวยความสะดวกและให้คำแนะนำในการจัดเตรียมเอกสารต่างๆ ให้พร้อมก่อนการเดินทาง ทั้งเอกสารในส่วนของผู้ป่วยและญาติ เอกสารของโรงพยาบาลและเอกสารของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น หนังสือเดินทาง, บัตรโดยสารเครื่องบิน, ใบรับรองแพทย์ (Fit to travel), ผลตรวจเชื้อโควิด-19 (โดยต้องมีผลเป็น ลบ ไม่เกิน 72 ชม. ก่อนการเดินทาง), เอกสารนัดหมายจากโรงพยาบาล, เอกสารแสดงเหตุผลความจำเป็นในการรักษาพยาบาล เป็นต้น เพื่อขออนุญาตเดินทางเข้าประเทศไทยจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง

เมื่อผู้ป่วยและญาติได้รับอนุญาตให้เดินทางเข้ามาในประเทศไทย เมื่อถึงสนามบินแล้วต้องเข้าสู่กระบวนการระบบคัดกรองและเฝ้าระวังตามมาตรการของรัฐ เมื่อผ่านขั้นตอนดังกล่าวแล้ว โรงพยาบาลฯ ก็จะจัดรถตามมาตรฐานเพื่อรับผู้ป่วยและญาติเดินทางเข้าสู่โรงพยาบาล เพื่อเข้าสู่กระบวนการกักกันตัวภายในโรงพยาบาลฯ Alternative Hospital Quarantine (AHQ) ตามที่รัฐกำหนดไว้ โดยวันที่เดินทางถึงไทยให้นับเป็น Day 0 ซึ่งผู้ป่วยและญาติจะต้องได้รับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ครั้งที่ 1 เมื่อเดินทางถึงโรงพยาบาล หากผลเป็นลบ คือไม่มีเชื้อโควิด-19 ทางโรงพยาบาลฯ ก็จะเริ่มให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วย ส่วนญาติก็จะเข้าสู่กระบวนการกักกันตัวในห้องพักที่จัดแยกไว้ตามมาตรการ

ผู้ป่วยและญาติ จะต้องถูก Quarantineในโรงพยาบาล ให้ครบจำนวน 14 วัน จึงจะอนุญาตให้ออกจากโรงพยาบาลได้ใน Day 15 ซึ่งตลอดเวลาที่ถูกกักตัวในโรงพยาบาลจะได้รับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 จำนวน 3 ครั้ง ในวัน Day 0, 7, 14

ไขข้อสงสัย "ต่างชาติ" รักษาในไทย กันเชื้อโควิดระบาดในไทยอย่างไร ไขข้อสงสัย "ต่างชาติ" รักษาในไทย กันเชื้อโควิดระบาดในไทยอย่างไร ไขข้อสงสัย "ต่างชาติ" รักษาในไทย กันเชื้อโควิดระบาดในไทยอย่างไร ไขข้อสงสัย "ต่างชาติ" รักษาในไทย กันเชื้อโควิดระบาดในไทยอย่างไร ไขข้อสงสัย "ต่างชาติ" รักษาในไทย กันเชื้อโควิดระบาดในไทยอย่างไร ไขข้อสงสัย "ต่างชาติ" รักษาในไทย กันเชื้อโควิดระบาดในไทยอย่างไร ไขข้อสงสัย "ต่างชาติ" รักษาในไทย กันเชื้อโควิดระบาดในไทยอย่างไร ไขข้อสงสัย "ต่างชาติ" รักษาในไทย กันเชื้อโควิดระบาดในไทยอย่างไร

related