svasdssvasds

ฝีมือไม่ธรรมดา! ช่างพื้นบ้านทำ "หัวโขนจิ๋ว" สุดยอดสินค้าหนึ่งตำบลของอ่างทอง

ฝีมือไม่ธรรมดา! ช่างพื้นบ้านทำ "หัวโขนจิ๋ว" สุดยอดสินค้าหนึ่งตำบลของอ่างทอง

“หัวโขนจิ๋ว” จากฝีมือช่างพื้นบ้านสู่งานวิสาหกิจชุมชน ศิลปะสุดคลาสสิกสืบสานวัฒนธรรมโบราณ สร้างรายได้เลี้ยงครอบครัวมานานนับ 10 ปี

หัวโขนขนาดจิ๋วหลากหลายแบบทั้ง หนุมาณ ทศกัณฐ์ พระพิฆแนศ เศียรพ่อแก่และหัวโขนชนิดอื่นๆ อีกหลายแบบ เป็นฝีมือการปั้นของนายอำพันธุ์ พันธ์มณฑา หรือ ลุงหนุ่ม วัย 53 ปี ซึ่งผันตัวเองจากการทำงานในพื้นที่กรุงเทพมหานครเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา ใช้บ้านหลังเล็กๆใน ต.หัวตะพาน อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทองปั้นหัวโขนออกจำหน่าย และด้วยความสวยงามอ่อนช้อยประกอบกับมีความละเอียดสวยงามจนทำให้เป็นที่รู้จักกันในวงการนักปั้นหัวโขน

ฝีมือไม่ธรรมดา! ช่างพื้นบ้านทำ "หัวโขนจิ๋ว" สุดยอดสินค้าหนึ่งตำบลของอ่างทอง

ซึ่งนอกจากจะปั้นหัวโขนขนาดจิ๋วออกจำหน่ายแล้ว ยังปั้นหัวโขนขนาดใหญ่ที่ใช้ในการแสดงโขนตามการสั่งซื้อของลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ และด้วยผลงานที่สวยงามเป็นที่ยอมรับทำให้ได้รับการคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์สุดยอดสินค้าหนึ่งตำบลของจังหวัดอ่างทอง

ฝีมือไม่ธรรมดา! ช่างพื้นบ้านทำ "หัวโขนจิ๋ว" สุดยอดสินค้าหนึ่งตำบลของอ่างทอง

ลุงหนุ่มเล่าให้ฟังว่า เมื่อก่อนได้เคยไปอยู่กับครูโจหลุย์ และได้ฝึกทำหัวโขนด้วยวิธีครูพักลักจำจนมีความชำนาญ และเมื่อกลับมาอยู่บ้านก็ยึดอาชีพนี้เลี้ยงตนเองมากว่า 10 ปี แล้ว ซึ่งการปั้นหัวโขนเป็นศิลปะที่ต้องใช้ความชำนาญ ประกอบกับมีใจรักจริงทำให้หัวโขนแต่ละหัวออกมาสวยงาม ถูกต้องตามลักษณะโบราณ กรรมวิธีการทำมีหลายขั้นตอนตั้งแต่การปั้นแบบ ตกแต่งด้วยมือจนสุดท้ายด้วยการลงสีวาดลายและประดับกระจกสีต่างๆ ซึ่งเมื่อสำเร็จสามารถนำไปจำหน่ายได้ในราคาหัวละ 350 บาทเท่านั้น โดยออเดอร์ส่วนใหญ่มาจากชาวไทยและชาวต่างชาติที่นิยมชอบในศิลปะซึ่งโดยเฉพาะเศียร์พ่อแก่จิ๋ว ที่มีลูกค้าสั่งทำจำนวนมากเพื่อนำไปบูชาตามความเชื่อว่าเป็นครูของศิลปะทุกแขนง

ฝีมือไม่ธรรมดา! ช่างพื้นบ้านทำ "หัวโขนจิ๋ว" สุดยอดสินค้าหนึ่งตำบลของอ่างทอง

สำหรับหัวโขน ถือเป็นศิลปะที่สืบทอดกันมานับแต่สมัยรัตนโกสินทร์ และมารุ่งเรืองมากในสมัยรัชกาลที่ 6 เนื่องจากสนพระราชหฤทัยและทรงอุปถัมภ์ด้านการแสดงและการสร้างหัวโขน แต่เดิมหัวโขนถือเป็นส่วนประกอบสำคัญให้ผู้แสดงใช้สวมในการแสดงโขน โดยเฉพาะเรื่องรามเกียรติ์ และเป็นที่เคารพนับถือเปรียบเสมือนครูของเหล่านาฏศิลป์ทั้งหลาย ต้องมีการเซ่นสรวงบูชาอย่างเหมาะสม โดยมีหัวโขนประเภทต่างๆ เช่น ศีรษะเทพเจ้า พระพรหม พระนารายณ์ พระอิศวร พระคเณศ ศีรษะพระครู เช่น พระครูฤาษีพ่อแก่ ศีรษะพระราม พระลักษมณ์ ศีรษะยักษ์ ศีรษะลิง ศีรษะสัตว์ต่างๆ เป็นต้น

ฝีมือไม่ธรรมดา! ช่างพื้นบ้านทำ "หัวโขนจิ๋ว" สุดยอดสินค้าหนึ่งตำบลของอ่างทอง

การสร้างหัวโขนนอกจากเพื่อใช้สวมในการแสดงโขน ยังเป็นการเผยแพร่สืบทอดวัฒนธรรมแต่ดั้งเดิมมิให้สูญหาย และปัจจุบันมีการสร้างเป็นรูปลักษณะหลากหลายมากขึ้น เช่นการสร้างหัวโขนในขนาดกลาง และขนาดเล็กสำหรับผู้สนใจไว้บูชา และสะสม เนื่องจากถือว่าเป็นงานศิลปะชั้นสูง ต้องอาศัยความประณีตละเอียดอ่อนในการประประดิษฐ์ขึ้นมาแต่ละชิ้น

โดยผู้ที่สนใจสามารถติดต่อกลุ่มผลิตภัณฑ์หัวโขน ลุงหนุ่ม นายอำพันธุ์ พันธ์มณฑา ได้ที่บ้านพักก่อนถึงวัดม่วง หมู่ที่ 6 ต.หัวตะพาน อ.วิเศษชัยชาญ หรือสามาถโทรติดต่อได้ที่หมายเลข 080-8566355

 

related