svasdssvasds

วิกฤตประชากร คาดอีก 60 ปี จำนวนประชากรไทยจะเหลือเพียง 33 ล้านคน

วิกฤตประชากร จากวันนี้นับไปอีก 60 ปี นักวิชาการมีการวิเคราะห์กันว่า ประชากรในประเทศไทยจะลดลงไปครึ่งหนึ่ง หรือเหลือเพียง 33 ล้านคนเท่านั้น จำนวนประชากรวัยแรงงานหรือ คนที่มีอายุระหว่าง 15 – 64 ปีจะลดลงจาก 46 ล้านคน ในปี 2566 เหลือเพียง 14 ล้านคนในปี 2626 ตามมาด้วยประชากรวัยเด็ก อายุ 0 – 14 ปีจะลดลงจาก 10 ล้านคน ในปี 2566 เหลือเพียง 1 ล้านคนเท่านั้น ในปี 2626 ประชากรผู้สูงวัย 65 ปีขึ้นไป จะเพิ่มขึ้น จาก 8 ล้านคน ในปี 2566 ไปเป็น 18 ล้านคน ! ในปี 2626 เท่ากับว่าประชากรผู้สูงวัยจะมากกว่า 50 % ของประชากรทั้งประเทศ ถึงตอนนั้นประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างหลักเลี่ยงไม่ได้ และอาจจะส่งผลต่อ GDP ที่ร่วงลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และตัวเลข GDP ของประเทศจะดีขึ้นหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับ 4 ปัจจัย คือ C ย่อมาจาก Consumption หมายถึง การบริโภคของภาคเอกชนและประชาชนทั่วไปถ้าประชากรเกิดน้อยลง ก็จะทำให้การบริโภคสินค้าโดยรวมลดลงเช่นกัน I หรือ Investment คือ การลงทุนจากภาคเอกชน ถ้าในประเทศมีการบริโภคภายในที่เติบโตเร็ว นักลงทุนก็อยากจะเข้ามาลงทุนเพราะมองว่าคุ้มค่า แต่ถ้าประชากรน้อย ความสามารถในการบริโภคต่ำ นักลงทุนก็อาจจะไปลงทุนประเทศอื่นที่มองว่าคุ้มค่ากว่า G หรือ Government spending คือ เงินการลงทุนจากภาครัฐ การที่ประชากรไทยมีแนวโน้มลดลง ก็ทำให้รัฐบาลแบกรับสวัสดิการต่างๆ เพิ่มขึ้นอีกด้วย X-M หรือ Export กับ Import คือ มูลค่าการส่งออกกับนำเข้า ถ้าตัวเลขการส่งออกสูงกว่านำเข้าก็จะส่งผลที่ดีต่อ GDP แต่ถ้าประชากรเกิดน้อยลง ประชากรวัยแรงงานก็น้อยลง กำลังการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกก็จะน้อยลงตามไปเช่นกัน  

วิกฤตประชากร จากวันนี้นับไปอีก 60 ปี นักวิชาการมีการวิเคราะห์กันว่า ประชากรในประเทศไทยจะลดลงไปครึ่งหนึ่ง หรือเหลือเพียง 33 ล้านคนเท่านั้น

  1. จำนวนประชากรวัยแรงงานหรือ คนที่มีอายุระหว่าง 15 – 64 ปีจะลดลงจาก 46 ล้านคน ในปี 2566 เหลือเพียง 14 ล้านคนในปี 2626
  2. ตามมาด้วยประชากรวัยเด็ก อายุ 0 – 14 ปีจะลดลงจาก 10 ล้านคน ในปี 2566 เหลือเพียง 1 ล้านคนเท่านั้น ในปี 2626
  3. ประชากรผู้สูงวัย 65 ปีขึ้นไป จะเพิ่มขึ้น จาก 8 ล้านคน ในปี 2566 ไปเป็น 18 ล้านคน ! ในปี 2626

เท่ากับว่าประชากรผู้สูงวัยจะมากกว่า 50 % ของประชากรทั้งประเทศ ถึงตอนนั้นประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างหลักเลี่ยงไม่ได้ และอาจจะส่งผลต่อ GDP ที่ร่วงลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และตัวเลข GDP ของประเทศจะดีขึ้นหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับ 4 ปัจจัย คือ

  1. C ย่อมาจาก Consumption หมายถึง การบริโภคของภาคเอกชนและประชาชนทั่วไปถ้าประชากรเกิดน้อยลง ก็จะทำให้การบริโภคสินค้าโดยรวมลดลงเช่นกัน
  2. I หรือ Investment คือ การลงทุนจากภาคเอกชน ถ้าในประเทศมีการบริโภคภายในที่เติบโตเร็ว นักลงทุนก็อยากจะเข้ามาลงทุนเพราะมองว่าคุ้มค่า แต่ถ้าประชากรน้อย ความสามารถในการบริโภคต่ำ นักลงทุนก็อาจจะไปลงทุนประเทศอื่นที่มองว่าคุ้มค่ากว่า
  3. G หรือ Government spending คือ เงินการลงทุนจากภาครัฐ การที่ประชากรไทยมีแนวโน้มลดลง ก็ทำให้รัฐบาลแบกรับสวัสดิการต่างๆ เพิ่มขึ้นอีกด้วย
  4. X-M หรือ Export กับ Import คือ มูลค่าการส่งออกกับนำเข้า ถ้าตัวเลขการส่งออกสูงกว่านำเข้าก็จะส่งผลที่ดีต่อ GDP แต่ถ้าประชากรเกิดน้อยลง ประชากรวัยแรงงานก็น้อยลง กำลังการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกก็จะน้อยลงตามไปเช่นกัน