svasdssvasds

รวม "ข่าวลวง" ที่ถูกสกัดด้วย "ข่าวจริง" ตลอดเหตุการณ์ถ้ำหลวง

รวม "ข่าวลวง" ที่ถูกสกัดด้วย "ข่าวจริง" ตลอดเหตุการณ์ถ้ำหลวง

ประเด็นที่ผู้คนทั้งโลก สนใจเหตุการณ์ 13 ชีวิตทีมหมูป่าติดอยู่ในถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน อ.แม่สาย จ.เชียงราย มีเรื่องราวมากมายเกิดขึ้น พร้อมกับผู้คนที่หลั่งไหลเข้าไปในพื้นที่ เพื่อร่วมปฏิบัติภารกิจกู้ชีวิตเยาวชนฟุตบอล

สถานการณ์ทื่เกิดขึ้นนี้คงได้ทราบกันว่า เข็มทิศชี้สังคมไทยเป็นไปในทิศทางบวก ท่ามกลางความห่วงใย เอื้ออาทร ติดตามการช่วยเหลือกันตลอดเวลา ให้แก่ครอบครัวผู้ของทั้ง 13 คนและผู้เกี่ยวข้อง

ในทางลบ กลับมีการส่งต่อข่าวลวง ข่าวโกหก การโพสต์และแชร์ข้อความ ที่เต็มไปด้วยอคติ แนวคิดเป็นลบ จนแม้แต่จิตแพทย์หลายคน ต้องออกมาเบรก เพื่อยุติการเผยแพร่ข่าวไม่จริง ไปสร้างความตระหนกให้สังคม มาไล่เลียงกันว่า “ข่าวโกหก” ที่คนจับผิด รู้ไต๋นั้น มีเรื่องใดบ้าง

** 2 ซีลถูกงูถ้ำกัดตายในถ้ำหลวง

ข่าวลวง : แชร์ข่าวปลอมว่า มีหน่วยซีล ถูกงูกัดเสียชีวิตระหว่างลำเลียงเสบียงลงไปให้ทีมหมูป่าฯและเจ้าหน้าที่ในถ้ำหลวง แต่ไม่รู้ตัวยังคงดำน้ำลงไปช่วยเหลือเด็กต่อ โดยไม่ทราบชนิดของงู ทำให้ทีมแพทย์ฉีดเซรุ่มช่วยเหลือไม่ทัน และเสียชีวิต พร้อมระบุจะมีแถลงข่าวในเวลา 16.00 . นั้น

ข่าวจริง : เรื่องนี้ นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้บัญชาการศูนย์อำนวยการร่วมค้นหาผู้สูญหายในวนอุทยานแห่งชาติถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน อ.แม่สาย จ.เชียงราย (ศอร.) ยืนยันหนักแน่น ไม่มีหน่วยซีลถูกงูกัด หรือเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานคนใดถูกงูกัด ขออย่าเชื่อความลือหรือข่าวปลอมใดๆที่มีการแชร์ออก

รวม "ข่าวลวง" ที่ถูกสกัดด้วย "ข่าวจริง" ตลอดเหตุการณ์ถ้ำหลวง

** คลิปถ้ำดำน้ำ ลากถุงแดงห่อเด็กพาออกมา

ข่าวลวง : คลิปที่เผยแพร่ดังกล่าว

ข่าวจริง : สถานที่ไม่ใช่ถ้ำหลวง แต่เป็นถ้ำในฝรั่งเศสข้อเท็จจริงเรื่องนี้ตรวจสอบที่มาของคลิปพบว่ามีการเผยแพร่การฝึกปฏิบัติกู้ภัยทางน้ำแห่งชาติของประเทศฝรั่งเศสโดยเป็นการฝึกด้านกายภาพทางถ้ำ จุดแตกต่างคือ กายภาพของน้ำในถ้ำหลวง เป็นขุ่นโคลน เส้นทางถ้ำคดเคี้ยวขึ้นลง หลายๆจุดยังเป็นเส้นทางบีบแคบ โพรงลอดเป็นช่องขนาดเล็กมาก ทำให้ยากต่อการที่นักดำน้ำจะเข้าไปช่วยเหลือออกมา ณ เวลานั้น ยังไม่ไ้ด้ข้อสรุปจะใช้วิธีใดนำพาออกมา

** เฟซบุ๊กแอบอ้าง ผู้ว่าราชการจังหวัดณรงค์ศักดิ์

ข่าวลวง : เฟซบุ๊กชื่อว่า Narongsak Osottanakorn เปิดให้กดไลค์ ถูกใจกดแชร์

ข่าวจริง : ฝ่ายประชาสัมพันธ์ จังหวัดเชียงราย ต้องออกมาเตือนว่า มีผู้แอบอ้างใช้เฟซบุ๊กนายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา ในฐานะผู้บัญชาการศูนย์อำนวยการร่วมค้นหาผู้สูญหายในวนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน (ศอร.) ซึ่งไม่ใช่ของนายณรงค์ศักดิ์แต่อย่างใด เนื่องจากผู้ว่าฯ ไมไ่ด้เล่นเฟซบุ๊ก ซึ่งขอให้ระวังอย่าเข้าไปกดถูกใจ หรือติดตาม เพราะไม่รู้ว่าผู้สร้างเฟซดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ใด อย่าหลงกดถูกใจ

** ..สมาน หน่วยซีลนอกราชการ มีแต่ภรรยา ยังไม่มีลูก

ข่าวลวง : มีการโพสต์ภาพจ..สมานและ รูปเด็กหญิง 3 คน

ข่าวจริง : จากประวัติ จ่าเอกสมาน กุนัน อดีตหน่วยซีลแห่งกองทัพเรือ ต้องสละชีพกลางถ้ำหลวง จบหลักสูตรนักทำลายใต้น้ำจู่โจม หน่วยซีล รุ่นที่ 30 วัย 38 ปี แต่มาร่วมกู้ภัยช่วย 13 ชีวิต   .สมาน สมรสแล้วแต่ยังไม่มีบุตร เป็นคนพื้นเพเดิมจากจังหวัดร้อยเอ็ด

** คำพูดที่โค้ชเอกไม่ได้พูด

ข่าวลวง : เฟซบุ๊กเพจหนึ่งทำภาพประกอบข้อความว่าตอนนี้ผมไม่กล้าสู้หน้าใครครับ แม้แต่กล้องจะถ่ายผม ผมก็ไม่กล้าสู้ ตอนนี้ผมยังไม่หิวครับ ไม่อยากกินอะไรทั้งนั้น อาหารของผมแบ่งให้น้องๆ ทานกันครับ น้องๆจะได้มีแรงผมอดทนได้ครับ

ข่าวจริง : หน่วยซีลปัดโค้ชเอกไม่ได้พูดกล่าวโทษตัวเองอย่างที่เพจออนไลน์ระบุ จากการดำเนินการตรวจสอบกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ศูนย์ปฏิบัติการหน่วยสงครามพิเศษทางเรือ (ศปก.นสร.) ที่เต๊นท์หน้าถ้ำหลวง พร้อมทั้งตรวจสอบจากผู้ที่เข้าไปปฏิบัติงานภายในถ้ำแล้ว ยืนยันว่าไม่มีใครได้ยินและไม่มีมนุษย์กบคนใด ออกมาเล่าเรื่องนี้

รวม "ข่าวลวง" ที่ถูกสกัดด้วย "ข่าวจริง" ตลอดเหตุการณ์ถ้ำหลวง

** ไม่เคยพูดจะให้เงิน 13 ครอบครัวหมูป่าคนละ 1 ล้านบาท

ข่าวลวง : โลกโซเชียล ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ เกี่ยวกับการที่ภาครัฐ จะมอบเงินให้ครอบครัวทั้ง 13 ชีวิต ที่ติดอยู่ภายในถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน จังหวัดเชียงราย ตั้งแต่เมื่อวันที่ 23 มิถุนายนที่ผ่านมา รายละ 1 ล้านบาทเพื่อเป็นการช่วยเหลือเยียวยา

ข่าวจริง : นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย (ณ เวลานั้น) ให้คำตอบว่า เรื่องนี้ผมขอถามก่อนว่าจะเอาเงินมาจากไหน ทุกอย่างต้องดำเนินการไปตามขั้นตอนของทางราชการเท่านั้น

** ลือนักดำน้ำอังกฤษ ยกทีมกลับก่อนภารกิจสำเร็จ

ข่าวลวง : รณีข่าวลือนักประดาน้ำชาวอังกฤษ 3 คน ที่เป็นฮีโร่เข้าไปพบผู้สูญหายติดถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน ทั้ง 13 ชีวิต เดินทางกลับประเทศบ้านเกิด

ข่าวจริง : นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา ยืนยันนักดำน้ำอังกฤษ กลับลอนดอนแค่ 1 คน ที่เหลือลุยภารกิจถ้ำหลวงต่อถึงกว่า ล่าสุดมีเพียงนายโรเบิร์ต ชาร์ลี ฮาร์เพอร์ (เสื้อสีแดง) จำเป็นต้องบินกลับลอนดอน ในคืนวันนี้ (4 ..) เพราะมีนัดกับแพทย์ ส่วนที่เหลืออีก 2 คน คือ นายริชาร์ด วิลเลียม สแตนตัน และนายจอห์น โวลันเธน ยังอยู่ช่วยเหลือภารกิจนำ 13 ชีวิตออกจากถ้ำเช่นเดิม

** ภาพแรกที่เจอทีมหมูป่า เป็นภาพเก่า

ข่าวลวง : หน่วยซีลนำภาพให้ญาติ 13ชีวิตดุว่า ใช่เด็กๆ ติดถ้ำหรือไม่

ข่าวจริง : เผยภาพแรกทีมหมูป่าเป็นของเก่า หลังจากที่บริเวณหน้าถ้ำหลวง ขุนน้ำนางนอน ซึ่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ออกมาประกาศข่าวดี ที่ทีมค้นหาเดินทางเข้าไปในถ้ำจนพบผู้สูญหายทั้ง 13 แล้วนั้น  โดยมีการระบุว่าพบเด็กทั้งหมดอยู่เลยพัทยาบีชไปราว 400 เมตร  เมื่อประชาชน และทีมงานทั้งหมดได้ทราบข่าวอย่างเป็นทางการ ทุกคนต่างโห่ร้องดีใจจนลั่นพื้นที่หน้าถ้ำหลวงไปหมด โดยกลุ่มญาติทีมหมูป่าได้ดูภาพถ่ายที่แจ้งว่าเป็นภาพจากหน่วยซีลที่ถ่ายออกมาให้ด้านนอกชม ซึ่งจากการตรวจสอบญาติ ๆ ว่าเป็นเพียงการสอบถามว่า ใช่ลูก ๆ ของตัวเองหรือเปล่า จึงไม่ใช่ภาพใหม่ของเด็ก ๆ ที่อยู่ภายในถ้ำขณะนี้

รวม "ข่าวลวง" ที่ถูกสกัดด้วย "ข่าวจริง" ตลอดเหตุการณ์ถ้ำหลวง

**  นักดำน้ำเบลเยี่ยม ถูกห้ามเข้าพื้นที่ภารกิจถ้ำหลวง

ข่าวลวง :  มีการโพสต์ข้อความก่อน ระบุว่า เป็นฝรั่งที่ถูกสั่งห้ามเข้าเขตพื้นี่ปฏิบัติการกู้ชีวิตถ้ำหลวง จากนั้นมีแชร์ภาพออกมาภายหลัง ระบุว่าชายคนดังกล่าวคือ "เบน เรย์เมนันต์ส" สัญชาติเบลเยี่ยม เป็นหนึ่งในนักดำน้ำทีมปฏิบัติการค้นหาทีมหมูป่าอะคาเดมี่ 13 ชีวิต วันที่ 7 .. ทั้งบอกด้วยว่า นายเบน ได้ทำการฝ่าฝืนคำสั่งในการทำงาน จึงถูกตัดสิทธิ์ออกมาจากการทำภารกิจครั้งนี้และขอให้ออกจากพื้นที่

ข่าวจริง : เรื่องนี้ เอ๋ นรินทร ออกโรงชี้แจงภาพป้ายสั่งห้าม นักดำน้ำชาวเบลเยี่ยม โดนแบนเข้าพื้นที่ถ้ำหลวง ย้ำไม่ได้ถูกตัดสิทธิ์ เตรียมฟ้องร้องกลับ ยังไม่รู้ว่าเป็นฝีมือใคร โดยป้ายดังกล่าวถูกติดเอาไว้ ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ไปต่างๆ นานาในโลกโซเชียลมีเดีย พร้อมทั้งยังนำไปเชื่อมโยงไปถึงกรณีที่เขาได้วิดีโอคอลสัมภาษณ์กับทางสำนักข่าวใหญ่ ซีเอ็นเอ็น ถึงข้อมูลและภารกิจช่วยเหลือเด็กๆ 13 ชีวิต ที่อ้างว่ามีทั้งข้อมูลที่จริงและไม่จริง

เอ๋ นรินทร ยังได้ชี้แจงถึงประเด็นดังกล่าว ผ่านทางเพจเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า เรื่องราวบานปลายไปกันใหญ่ ขอยืนยัน ทีมอาสาสมัครขยังทำหน้าที่สนับสนุนอุปกรณ์และบุคลากรตามปกติ ไม่ได้ถูกแบนหรือตัดสิทธิ์ใดๆ ยังมีทีมที่ทำงานอยู่ในพื้นที่และคอยประสานงานอยู่ที่กรุงเทพฯ

รวม "ข่าวลวง" ที่ถูกสกัดด้วย "ข่าวจริง" ตลอดเหตุการณ์ถ้ำหลวง

** ปั่นกระแสพบศพในถ้ำหลวง

ข่าวลวง : ในสื่อโซเชียลเขียนวิพากษ์วิจารณ์ว่า "การซ้อมไปงั้นแหละ"... แต่ข้อเท็จจริง ร่างชายหนุ่มที่ขนออกมาแท้แล้วเป็น 1 ในผู้บาดเจ็บที่ทีมงานกำลังค้นหา แต่ไม่กล้าจะแถลงข่าวบอกสื่อ เพราะว่า 1. กลัวสื่อมารุรุมทำให้ขนย้ายผู้บาดเจ็บลำบาก 2. ถูกสั่งห้ามไม่ให้นำเสนอเป็นข่าวใหญ่ มากไปกว่านั้น เจ้ากรมข่าวลีอ ยังให้ข้อมูลด้วยว่า ผู้ที่อยู่ในเปลขนย้าย ถูกจัดฉากให้สวมชุดทหาร ทั้งที่เสียชีวิตไปแล้ว ...

ข่าวจริง : เรื่องนี้ทำเอาสื่อมวลชนต้องยกหูโทรศัพท์ตรวจสอบข้อเท็จจริง จนได้รับการยืดอกยืนยันว่า "มันเป็นเพียงแค่ข่าวลือ" ขณะนี้ยังไม่ได้เบาะแสใดๆ จากผู้สูญหายทั้ง 13 ชีวิต หากเจอเบาะแส ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย จะเป็นคนแถลงข่าวแต่เพียงผู้เดียว ทั้งนี้ทั้งนั้น "ห้ามประชาชนเชื่อในข่าวที่ไม่ได้ออกจากปากผู้ว่าราชการจังหวัด" หรือเป็นข่าวที่เขียนขึ้นมาลอยๆ ไม่มีหลักฐาน เพราะทั้งหมดนั้นถือเป็นข่าวมั่ว ข่าวมโน 

** พบโพรงพาเด็กออกจากถ้ำหลวงได้

ข่าวลวง : จากกรณีคลิป ผู้ใช้นามว่าเจ๊ดา เอ็นดูโร่ความยาวประมาณ 53 วินาที ที่มีชาวบ้านเฮ…!! พบโพรง ที่สามารถเชื่อมลงไปถึงหาดพัทยาภายในถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน เป็นแนวว่ามีผู้ค้นพบทางจากปล่องหลังถ้ำลงไปถึงตัวเด็กแล้ว พร้อมกระโดดโลดเต้นแสดงความดีใจว่าพบ และสามารถที่จะนำตัวเด็กๆ และโค้ด ทีมหมูป่าอคาเดมี่ออกมาจากถ้ำหลวงได้ทางนี้

ข่าวจริง : ชาวบ้านจำนวนหนึ่ง ยืนยันว่ายังไม่สามารถค้นพบปล่องที่เชื่อมลงไปสู่ห้องโถงของหาดพัทยาได้ และไม่เคยเห็นบุคคลในคลิปนี้มาก่อนว่าเป็นผู้ปฏิบัติภาระกิจร่วมในครั้งนี้แต่อย่างใดทั้งสิ้น อาจเป็นกลุ่มบุคคลนอกพื้นที่สร้างคลิปป่วน ด้วยความคะนอง ยืนยันว่า ณ เวลานี้ ยังไม่มีการค้นพบปล่องที่สามารถทะลุลงไปสู่จุดที่ทีมหมูป่าอคาเดมี่ที่ติดอยู่ภายในหาดพัทยาตามที่มีคลิปดังกล่าวอ้าง แต่อย่างใด

** หยุดแชร์มั่ว CASME ยันภาพถ่ายความร้อนไม่ใช่ 13 ชีวิตติดถ้ำหลวง

ข่าวลวง : มีการเผยแพร่ภาพถ่ายคลื่นความร้อนที่อ้างว่าเป็นภาพ 13 ชีวิต ทีมหมูป่าอะคาเดมีแม่สาย  ติดถ้ำหลวง  ถูกแชร์ในโลกออนไลน์อย่างกว้างขวาง และถูกกล่าวถึงเป็นอย่างมากนั้น

ข่าวจริง : เพจเฟซบุ๊ก CASME : Center of Excellent for Astronautical and Marine Engineering ของ ศูนย์วิจัยเฉพาะทางวิศวกรรมอวกาศและทะเล (CASME) สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ได้โพสต์ข้อความชี้แจง ยืนยันว่าเป็นภาพถ่ายจากเครื่องบินโดรนติดตั้งกล้องตรวจจับความร้อน ที่บินสำรวจบริเวณบ้านผาหมี เมื่อวันที่ 26 มิถุนายนที่ผ่านมา

แต่มีบุคคลถ่ายผลภาพจากจอมิเตอร์ที่แสดงผลออกไปเผยแพร่ โดยอ้างว่าได้พบนักฟุตบอลและผู้ฝึกสอนที่สูญหาย จนกลายเป็นการสร้างความเข้าใจผิดในวงกว้าง ซึ่งในความจริงไม่ได้เกี่ยวข้องกับ 13 ชีวิตที่หายไปในถ้ำหลวง

รวม "ข่าวลวง" ที่ถูกสกัดด้วย "ข่าวจริง" ตลอดเหตุการณ์ถ้ำหลวง

** มิจฉาชีพลวงบริจาคช่วยเด็กติดถ้ำหลวง

ข่าวลวง : มีการโพสต์ข้อความ ภาพ กราฟิกของพวกฉวยโอกาสหาผลประโยชน์จากกรณีนักฟุตบอลและโค้ชหายตัวไปในถ้ำ13คน สั่งเจ้าหน้าที่มอนิเตอร์โซเชียลมีเดียทุกช่องทาง

ข่าวจริง : พล...จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ออกมาตำหนิและเตือนผู้ปลอมและแฮกเฟซบุ๊กของพ่อแม่ผู้สูญหาย เพื่อเรี่ยไรเงินบริจาคถือว่าเป็นความผิดฐานฉ้อโกงมีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 7 ปีและปรับตั้งแต่ 1,000-14,000บาท และผิด ...คอมพิวเตอร์ และขอตำหนิผู้ที่ฉวยโอกาส เช่นเดียวกับร่างทรงที่ออกมาทำพิธีต่างๆ ในพื้นที่นั้น เป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม ตอนนี้อยากให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือทั้ง 13 คน ออกมาจากถ้ำมากกว่า

related