svasdssvasds

แม่น้ำอเมซอนถึงกับแห้ง ภัยแล้งครั้งประวัติการณ์ถล่มบราซิล

แม่น้ำอเมซอนถึงกับแห้ง ภัยแล้งครั้งประวัติการณ์ถล่มบราซิล

ป่าฝนอเมซอนในบราซิลกำลังเผชิญกับภัยแล้งอย่างรุนแรง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อผู้คนประมาณ 500,000 คน และอาจเป็นจุดเริ่มต้นที่ป่าอเมซอนจะกลายสภาพสูญหายไป

มหันตภัยโลกเดือดส่งผลกระทบล่าสุดถึงป่าฝนอเมซอนในบราซิล หลังจากป่าฝนผืนที่ใหญ่และมีความหลากหลายทางชีวภาพสูงสุดของโลก กำลังเผชิญกับภัยแล้งอย่างรุนแรง และอาจส่งผลกระทบต่อผู้คนราว 500,000 คนภายในสิ้นปีนี้

จากสภาวะภัยแล้งรุนแรงที่ทำให้แม่น้ำหลายสายในลุ่มน้ำอเมซอนถึงกับแห้งเหือด กระทบต่อธรรมชาติ การขนส่ง และการประมงท้องถิ่น ทำให้ผู้คนจำนวนมากที่ต้องพึ่งพาน้ำและทรัพยากรจากแม่น้ำต้องประสบกับความยากลำบากในการใช้ชีวิต เพราะหลายชุมชนตามลำน้ำอเมซอนสามารถเดินทางขนส่งสินค้าทางน้ำเท่านั้น

แม่น้ำอเมซอนถึงกับแห้ง ภัยแล้งครั้งประวัติการณ์ถล่มบราซิล

ปัจจุบัน แม่น้ำสาขาสายสำคัญหลายสายของแม่น้ำอเมซอนอยู่ในระดับต่ำเป็นประวัติการณ์ จากสภาวะภัยแล้ง ซึ่งขัดขวางการเดินเรือและตัดขาดชุมชนริมแม่น้ำหลายร้อยแห่ง ที่อาศัยการเดินเรือเป็นช่องทางคมนาคมติดต่อหลักเท่านั้น 

ชนเผ่าพื้นเมืองในอเมซอนเรียกร้องให้รัฐบาลบราซิลประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสภาพอากาศ เนื่องจากหมู่บ้านของพวกเขาไม่มีน้ำดื่ม อาหาร หรือยารักษาโรค เนื่องจากภัยแล้งรุนแรงที่ทำให้แม่น้ำซึ่งเป็นทั้งเส้นทางขนส่งหลักและแหล่งอาหารและทรัพยากรเหือดแห้ง

แม่น้ำอเมซอนถึงกับแห้ง ภัยแล้งครั้งประวัติการณ์ถล่มบราซิล

แม่น้ำอเมซอนถึงกับแห้ง ภัยแล้งครั้งประวัติการณ์ถล่มบราซิล

ความแห้งแล้งและคลื่นความร้อนได้คร่าชีวิตปลาจำนวนมากในแม่น้ำที่ชนพื้นเมืองอาศัยอยู่ และน้ำในลำธารที่เป็นโคลนไม่สามารถนำมาใช้ดื่มกินได้ องค์กร Apiam ซึ่งเป็นตัวแทนของชนเผ่า 63 เผ่าในป่าอเมซอน กล่าว

“เราขอให้รัฐบาลประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสภาพภูมิอากาศเพื่อแก้ไขความเดือดร้อนที่ชนเผ่าพื้นเมืองต้องเผชิญอย่างเร่งด่วน” แถลงการณ์ของ องค์กร Apiam ระบุ

ทางการบราซิลเปิดเผยว่า เทศบาล 15 แห่งอยู่ในภาวะฉุกเฉินเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ขณะที่หน่วยงานป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน ระบุว่า ภัยแล้งจะคงอยู่ยาวนานขึ้นและรุนแรงขึ้น เนื่องจากปรากฏการณ์เอลนีโญ ซึ่งขัดขวางการก่อตัวของเมฆฝน

แม่น้ำอเมซอนถึงกับแห้ง ภัยแล้งครั้งประวัติการณ์ถล่มบราซิล

แม่น้ำอเมซอนถึงกับแห้ง ภัยแล้งครั้งประวัติการณ์ถล่มบราซิล

จากข้อมูลวิเคราะห์โดย มหาวิทยาลัย Amazonas State University เผยว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้ความแห้งแล้งรุนแรงขึ้นโดยทำให้เกิดขึ้นบ่อยขึ้น ยาวนานขึ้น และรุนแรงขึ้น โดยปกติเดือนตุลาคมจะเป็นช่วงเริ่มต้นของฤดูฝน อย่างไรก็ตาม อุณหภูมิน้ำในมหาสมุทรแอตแลนติกตอนเหนือที่อุ่นขึ้นได้ขัดขวางการไหลของเมฆฝน อุณหภูมิโลกที่ร้อนขึ้นยังเร่งให้เกิดการระเหย ซึ่งช่วยลดปริมาณน้ำผิวดิน และทำให้ดินและพืชแห้งแห้ง

นอกจากผืนป่าอเมซอนกำลังประสบภัยแล้งขั้นรุนแรงแล้ว ความแห้งแล้งยังทำให้เกิดไฟป่าปะทุกว่า 2,700 จุด ทั่วผืนป่า ซี่งทำให้เกิดหมอกควันพิษปกคลุมหลายเมืองในบราซิล

“เป็นเรื่องเจ็บปวดมากทั้งทางร่างกายและจิตใจที่ต้องตื่นขึ้นมาพร้อมกับควันปกคลุมเมือง เผชิญกับอุณหภูมิที่ร้อนจัดเกิน 40 องศาเซลเซียส และติดตามข่าวว่าน้ำในแม่น้ำกำลังจะหายไป” Mônica Vasconcelos นักวิจัยด้านการรับรู้สภาพภูมิอากาศ จากมหาวิทยาลัย Amazonas State University กล่าว

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ที่มาภาพ: Reuters

ข้อมูลอ้างอิง: VOA / AP

related