svasdssvasds

เปิดร่าง พ.ร.บ.อากาศสะอาดฯ หลังครม.ไฟเขียว คนไทยจะได้ประโยชน์อะไรบ้าง?

เปิดร่าง พ.ร.บ.อากาศสะอาดฯ หลังครม.ไฟเขียว คนไทยจะได้ประโยชน์อะไรบ้าง?

พัชรวาท ย้ำ! การเข้าถึงอากาศสะอาดคือสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนชาวไทยที่พึงได้รับ หลังครม.ลงมติ ไฟเขียวให้ ร่าง พ.ร.บ.อากาศสะอาด ชูสาระสำคัญ 6 ด้าน คนไทยจะได้ประโยชน์ะไรบ้าง?

ครม. ไฟเขียว รับร่าง พ.ร.บ. อากาศสะอาด

น.ส.เกณิกา อุ่นจิตร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติรับร่างหลักการ พ.ร.บ.บริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. ... แล้ว และรับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสำคัญของกฎหมายลำดับรอง ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 31 ต.ค. 66 มติ ครม. ได้เห็นชอบตามที่นายกฯ เสนอว่า รัฐบาลตระหนักและให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะปัญหาฝุ่นควัน PM 2.5 ที่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกปี อันเนื่องมาจากการเผาไหม้ การจราจรบนท้องถนน หรือฝุ่นจากโรงงานอุตสาหกรรมทั้งไทยและเทศก็ตาม

เปิดร่าง พ.ร.บ.อากาศสะอาดฯ หลังครม.ไฟเขียว คนไทยจะได้ประโยชน์อะไรบ้าง?

พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี จึงได้รับมอบหมายโดยตรงให้จัดการดัน ร่าง พ.ร.บ.อากาศสะอาดต่อครม. เป็นการเร่งด่วน

วันที่ 27 ก.ย. 2566 พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หารือกับกับคณะทำงานท่านอื่น ๆ โฟกัสไปที่เรื่อง การจัดการระบบ Big Data เพื่อบริหารการจัดการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 เพื่อให้หลายภาคส่วนสามารถทำงานประสานเชื่อมโยงกันได้อย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นไปที่จุดกำเนิดของฝุ่น PM 2.5 อาทิ ภาคเกษตรกรรม ภาคคมนาคม เพื่อวางเป้าหมายในการจัดการปัญหาฝุ่น และเตรียมแนวทางการป้องกันการลักลอบเผาในพื้นที่ป่า

“อากาศสะอาดเป็นสิทธิพึงมีที่คนไทยทุกคนต้องได้สูดอากาศที่บริสุทธิ์ตามสิทธิขั้นพื้นฐาน กระทรวงทรัพยากรธรรชาติฯ จะทำให้คนไทยมีอากาศที่ดี เพื่อสุขภาพที่ดีของทุกคน” พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ เผยหลังครม. ลงมติ ไฟเขียว ร่าง พ.ร.บ. อากาศสะอาด

สาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.อากาศสะอาด

  1. กำหนดตั้งคณะกรรมการเพื่อการจัดการอากาศสะอาดเพื่อขับเคลื่อนใน 3 ด้านได้แก่ การขับเคลื่อนเชิงนโยบาย เชิงวิชาการ และการบริหารจัดการเชิงพื้นที่
    1. นายกฯ นั่งหัวเรือ เป็นคณะกรรมการในการขับเคลื่อนนโยบาย
    2. รมว.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานกรรมการในการขับเคลื่อนเชิงวิชาการ
    3. ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานกรรมการในการบริหารจัดการเชิงพื้นที่

2. ระบบการบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาดของประเทศ กำหนดให้คณะกรรมการบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด ดำเนินการพัฒนาระบบการบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาดของประเทศ ประกอบไปด้วยมาตรฐานคุณภาพอากาศสะอาด ระบบเฝ้าระวังเพื่อคุณภาพอากาศสะอาด ระบบฐานข้อมูลคุณภาพอากาศแห่งชาติ กรอบแนวทางการพัฒนาระบบบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด และแผนปฏิบัติการการพัฒนาคุณภาพอากาศ

3. มาตรการการลดและควบคุมมลพิษทางอากาศจากแหล่งกำเนิด จำแนกได้ 4 ประเภท แหล่งกำเนิดประเภทสถานที่ถาวร แหล่งกำเนิดประเภทเผาในที่โล่ง แหล่งกำเนิดประเภทยานพาหนะ และแหล่งกำเนิดประเภทมลพิษข้ามแดน

4. เขตเฝ้าระวังและเขตประสบมลพิษทางอากาศ โดยกำหนดการประกาศเขตพื้นที่ในกรณีที่มีสถานการณ์พิเศษเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศ

5. เครื่องมือและมาตรการทางเศรษฐศาสตร์เพื่ออากาศสะอาด ดังนี้ ภาษีอากรสำหรับอากาศสะอาด ค่าธรรมเนียมการจัดการมลพิษทางอากาศ การกำหนดและโอนสิทธิในการระบายมลพิษทางอากาศ การประกันความเสี่ยง และมาตรการอุดหนุน สนับสนุน หรือส่งเสริมบุคคลหรือกิจกรรมสำหรับอากาศสะอาด

6. ความรับผิดทางแพ่งและบทกำหนดโทษ

เปิดร่าง พ.ร.บ.อากาศสะอาดฯ หลังครม.ไฟเขียว คนไทยจะได้ประโยชน์อะไรบ้าง?

เปิดร่าง พ.ร.บ.อากาศสะอาดฯ หลังครม.ไฟเขียว คนไทยจะได้ประโยชน์อะไรบ้าง?

พ.ร.บ.นี้มีประโยชน์ต่อประชาชนอย่างไร?

  • อากาศสะอาดคือสิทธิขั้นพื้นฐานที่ประชาชนพึงได้รับ

อากาศสะอาดจะกลายเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน ที่รัฐต้องให้การรับร้อง ปกป้อง และปฏิบัติทุกวิถีทางเพื่อให้ประชาชนได้มีอากาศสะอาดหายใจ ตามสิทธิขั้นพื้นฐานในฐานะพลเมือง

  • กระจายข้อมูลเพื่อเผยแพร่ความรู้เรื่องอากาศแก่ประชาชน

ข้อนี้จะเห็นได้ว่า ทางกทม. ได้นำร่องไปบ้างแล้ว ในเรื่องการสร้างช่องทางให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลด้านอากาศ อากาศแต่ละวันดีหรือแย่อย่างไร นอกจากนี้ ยังสามารถร้องเรียนได้หากวันใดที่มีอากาศย่ำแย่ พื้นที่ของภาครัฐในเรื่องนี้ จะถูกถ่างออกให้ประชาชนสามารถเข้าไปตรวจสอบร้องเรียนได้

  • ประชาชนได้รับแนวทางการสร้างสุขภาพที่ดี

รัฐกำหนดแนวทางเรื่องการจัดการอากาศ เพื่อการันตีว่าประชาชนจะได้รับสิ่งแวดล้อมที่ดี มีสุขภาพที่ดี และไม่เจ็บป่วยจากโรคที่เกิดจากอากาศย่ำแย่

  • ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการอากาศที่หายใจ

ประโยชน์อีกข้อคือ ภาคประชาชนจะได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการอากาศสะของของภาครัฐ ใน 3 ระดับด้วยกันคือ ระดับนโยบาย การกำกับดูแล และภาคปฏิบัติ เพื่อให้ประชาชนได้ร่วมตรวจสอบและปกป้องสิทธิในการเข้าถึงอากาศสะอาด

  • เพิ่มอำนาจทางกฎหมาย

สาระข้อสุดท้ายและเป็นข้อที่สำคัญไม่แพ้ข้ออื่น ๆ คือ การให้อำนาจรัฐในการแจกจ่ายหน้าที่ ให้กับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อบังคับใช้กฎหมายอากาศสะอาดให้จริงจังยิ่งขึ้น หมดข้ออ้างเรื่องอำนาจการตัดสินใจ

 

ที่มา: techsauce

เนื้อหาที่น่าสนใจ

related