svasdssvasds

โลกเดือด! ดันการใช้ไฟฟ้าพุ่ง จับตาพ.ค.นี้ การใช้ไฟพีค ทุบสถิติอีกครั้ง?

โลกเดือด! ดันการใช้ไฟฟ้าพุ่ง จับตาพ.ค.นี้ การใช้ไฟพีค ทุบสถิติอีกครั้ง?

โลกร้อน! ส่งผลให้อุณหภูมิในช่วงเดือนมี.ค.-พ.ค. ของทุกปีพุ่งสูงขึ้น รวมถึงการที่เศรษฐกิจฟื้นตัว จับตาเดือนพ.ค. 2567 การใช้ไฟฟ้าสูงสุด (พีค) ในปีนี้อาจจะทะลุสถิติปีที่ผ่านมา

SHORT CUT

  • โลกร้อน! ส่งผลให้อุณหภูมิในช่วงเดือนมี.ค.-พ.ค. ของทุกปีพุ่งสูงขึ้น
  • จับตาเดือนพ.ค. 2567 การใช้ไฟฟ้าสูงสุด (พีค)
  • เมื่อวันที่ 6 เม.ย. 2567 ที่ผ่านมา ยอดใช้ไฟพีคถึง 34,656.4 เมกะวัตต์ ในเวลา 20.54 น.

โลกร้อน! ส่งผลให้อุณหภูมิในช่วงเดือนมี.ค.-พ.ค. ของทุกปีพุ่งสูงขึ้น รวมถึงการที่เศรษฐกิจฟื้นตัว จับตาเดือนพ.ค. 2567 การใช้ไฟฟ้าสูงสุด (พีค) ในปีนี้อาจจะทะลุสถิติปีที่ผ่านมา

โลกของเราร้อนขึ้นทุกวัน ส่งผลกระทบต่อการใช้ไฟฟ้าพุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง การใช้พลังงานในประเทศไทยก็เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการใช้ไฟฟ้าทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคครัวเรือน โดยปีที่ผ่านมา เมื่อเศรษฐกิจเริ่มขยายตัวดีขึ้น นักท่องเที่ยวกลับเข้ามาในประเทศไทย อุณหภูมิที่สูงขึ้น ยอดการใช้ไฟพีคได้ทำลายสถิติในวันที่ 6 พ.ค. 2566 เวลา 21.41 น. ที่ 34,826.5 เมกะวัตต์

อย่างไรก็ตามแม้อัตราการเรียกเก็บค่าไฟฟ้าที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ตั้งแต่ม.ค.-เม.ย. 2567 จะเรียกเก็บที่ 4.18 บาทต่อหน่วย ลดลงจากช่วงปลายปี 2566 ที่ผ่านมาที่เรียกเก็บ 4.45 บาทต่อหน่วย แต่บิลอัตราการจ่ายค่าไฟฟ้าโดยเฉพาะเดือนเม.ย. 2567 บางบ้านอาจจะสูงกว่าช่วงปลายปีที่ผ่านมา เพราะยิ่งใช้ไฟฟ้าฟ้าต่อหน่วยสูงขึ้น ก็จะยิ่งต้องจ่ายค่าไฟสูงขึ้นตามไปด้วย

ทั้งนี้สาเหตุมาจากการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (พีค) โดยเฉพาะในช่วงวันหยุดยาวที่ผ่านมาที่มาจากอุณหภูมิที่สูงขึ้น บวกกับการใช้ไฟฟ้าในบ้านสูงขึ้นตามไปด้วย ส่งผลให้การใช้ไฟพีคของ 3 การไฟฟ้า ประกอบด้วย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.), การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.)

“เมื่อวันที่ 6 เม.ย. 2567 ที่ผ่านมา ยอดใช้ไฟพีคถึง 34,656.4 เมกะวัตต์ ในเวลา 20.54 น. ใกล้ทำลายสถิติพีคประเทศเมื่อวันที่ 6 พ.ค. 2566 เวลา 21.41 น. ที่ 34,826.5 เมกะวัตต์ แล้ว”

โดย “กรุงเทพธุรกิจ” รายงานจากกระทรวงพลังงานว่า สาเหตุของการใช้ไฟฟ้าพีคในช่วงกลางคืนมาจาก

1. อุณหภูมิ ที่ร้อนสะสมจึงมีการใช้ไฟฟ้ามากขึ้น ทั้งการเปิดแอร์ หรือพัดลมระบายความร้อน

2. การติดตั้งโซลาร์เซลล์ เพิ่มขึ้น โดยช่วงกลางวันจะไม่ได้ใช้ไฟฟ้าของการไฟฟ้า แต่เมื่อพลังงานจากแสงอาทิตย์หมดลงในช่วงเวลากลางคืนจึงหันกลับมาใช้ไฟฟ้าของ 3 การไฟฟ้า เป็นต้น

3. การชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ในช่วงเวลากลางคืนที่เริ่มมียอดการใช้เพิ่มมากขึ้น

"จากสถิติการใช้ไฟฟ้าของไทยแบบเรียลไทม์ในระบบของสำนักงาน กกพ. ระหว่างวันที่ 6-8 เม.ย. 2567 พบว่า ยอดการใช้ไฟฟ้าในช่วง 3 วันดังกล่าวสูงเกิน 34,656 เมกะวัตต์ ในวันที่ 6 เม.ย. 2567 เวลา 20.54 น. ดังนั้น หากเทียบยอดพีคปีที่ผ่านมาคือช่วงเดือนพ.ค. 2566 ที่เคยสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 34,827 เมกะวัตต์ จึงมีความเป็นไปได้ว่าพีคปีนี้อาจจะทำงายสถิติพีคปีที่ผ่านมาก็ได้" 

นายวีรพัฒน์  เกียรติเฟื่องฟู ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน กล่าวว่า คาดการณ์ว่าการใช้ไฟพีคปี 2567 จะพุ่งสูงสุดเกิน 35,000 เมกะวัตต์ได้ ทั้งนี้ ตามที่ กรมอุตุนิยมวิทยา ได้คาดการณ์ว่าในวันที่ 9-11 เม.ย. 2567 นี้จะเกิดพายุฤดูร้อนขึ้นหลายพื้นที่ในประเทศไทย ซึ่งอาจเป็นปัจจัยให้ยอดการใช้ไฟฟ้าปรับลดลง แต่ก็ต้องจับตาอุณหภูมิในช่วงเดือนพ.ค. 2567 นี้อีกครั้งว่าสถิติการใช้ไฟพีคจะสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาหรือไม่ 

รายงานข่าว ระบุว่า เมื่อย้อนดูสถิติยอดการใช้ไฟฟ้าตั้งแต่เดือนม.ค.-เม.ย. 2567 การใช้ไฟฟ้ามีแนวโน้มปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง โดย

  • เดือน ม.ค. 2567  มียอดพีคไฟฟ้าเกิดขึ้นในวันที่ 11 ม.ค. 2567 เวลา 18.52 น. อยู่ที่ 29,051.3 เมกะวัตต์
  • เดือน ก.พ. 2567  มียอดพีคไฟฟ้าเกิดขึ้นในวันที่ 22 ก.พ. 2567 เวลา 19.29 น. ยอดใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 30,989.3 เมกะวัตต์
  • เดือน มี.ค. 2567  มียอดพีคไฟฟ้าเกิดขึ้นในวันที่  7  มี.ค. 2567 เวลา 19.47 น. ยอดใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 32,704 เมกะวัตต์
  • เดือน เม.ย. 2567  มียอดพีคไฟฟ้าเกิดขึ้นในวันที่ 6 เม.ย. 2567 เวลา 21.54 น. ยอดพีคไฟฟ้าอยู่ที่ 34,656.4 เมกะวัตต์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related